Banner blog website.png
เผยแพร่เมื่อ: 2023-05-30

มาตรา 393 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

“มาตรา 393 หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 393” คืออะไร? 


“มาตรา 393” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 393 “ คือ หนึ่งในมาตราของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ 
ซึ่งบัญญัติไว้ว่า “ ถ้ามิได้กำหนดระยะเวลาไว้ให้ใช้สิทธิเลิกสัญญา คู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งจะกำหนดระยะเวลาพอสมควร แล้วบอกกล่าวให้ฝ่ายที่มีสิทธิเลิกสัญญานั้นแถลงให้ทราบภายในระยะเวลานั้นก็ได้ ว่าจะเลิกสัญญาหรือหาไม่ ถ้ามิได้รับคำบอกกล่าวเลิกสัญญาภายในระยะเวลานั้น สิทธิเลิกสัญญาก็เป็นอันระงับสิ้นไป “

 


3 ตัวอย่างจริงของการใช้” มาตรา 393” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 393 ” ในประเทศไทย


1. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6473/2551
จำเลยไม่สามารถโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดพิพาทให้โจทก์ได้ตามกำหนดเวลาในสัญญา และไม่ได้ก่อสร้างสาธารณูปโภคต่างๆ ให้ตรงตามสัญญา จำเลยจึงเป็นฝ่ายผิดสัญญา ซึ่งโจทก์มีสิทธิบอกเลิกสัญญาได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 388 ดังนั้น เมื่อสิทธิเลิกสัญญาเมื่อเกิดขึ้นมีอยู่แล้วย่อมใช้ได้โดยฝ่ายที่มีสิทธิเลิกนั้นแสดงเจตนาแก่อีกฝ่ายหนึ่ง การแสดงเจตนาจะทำอย่างไร และมีผลขึ้นเมื่อใดต้องไปตามหลักนิติกรรมและการแสดงเจตนาตาม ป.พ.พ. มาตรา 149, 150 และมาตรา 168 เมื่อโจทก์เบิกความว่า สิ้นปี 2541 จำเลยก่อสร้างไม่เสร็จตามสัญญา โจทก์ได้ทวงถามให้จำเลยชำระเงินคืน แต่พนักงานของจำเลยอ้างว่าต้องปรึกษาคณะกรรมการก่อนแล้วเพิกเฉยไม่ชำระเงินคืนให้แก่โจทก์ ซึ่ง ว. เบิกความตอบทนายโจทก์ถามค้านยอมรับว่า หลังครบกำหนดในปี 2541 โจทก์เคยไปขอเงินคืน แต่จำเลยไม่ได้คืนเงินให้โจทก์ แสดงว่าเมื่อจำเลยผิดนัดไม่โอนกรรมสิทธิ์อาคารชุดพิพาทให้แก่โจทก์ โจทก์ก็ได้ใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาโดยได้แสดงเจตนาทวงถามเงินคืนให้จำเลยทราบ จึงถือว่าชอบตามบทบัญญัติดังกล่าวข้างต้น ทั้งโจทก์ได้บอกเลิกสัญญาก่อนที่จำเลยจะมีหนังสือแจ้งให้โจทก์ไปจดทะเบียนรับโอนกรรมสิทธิ์ จึงเป็นการบอกเลิกสัญญาโดยชอบแล้ว มิพักต้องบอกกล่าวตาม ป.พ.พ. มาตรา 393 ทั้งไม่อาจรับฟังได้ว่าโจทก์ไม่ติดใจถือเอาเงื่อนเวลาการส่งมอบห้องชุดเป็นสำคัญ
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 388, ม. 393, ม. 503


2. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 108/2547
จำเลยรับจ้างโจทก์ก่อสร้างอาคาร เมื่อจำเลยส่งมอบงานงวดที่ 6 ล่าช้า โจทก์แจ้งสงวนสิทธิขอปรับตามสัญญาว่าจ้างก่อสร้าง จำเลยไม่ยินยอม คู่สัญญาจึงทำข้อพิพาทเสนอให้อนุญาโตตุลาการพิจารณา โดยอนุญาโตตุลาการมีคำชี้ขาดให้ขยายเวลาปฏิบัติตามสัญญาออกไปอีก 120 วัน นับแต่วันที่สัญญาสิ้นสุด จำเลยมิได้ทำงานงวดที่ 7 ถึงที่ 10 โจทก์จึงมีหนังสือบอกเลิกสัญญาโดยขอคิดค่าปรับจากจำเลยในช่วงเวลาที่ผิดสัญญา แต่แม้ตามสัญญาจะมีการกำหนดให้คิดเบี้ยปรับไว้ แต่เบี้ยปรับดังกล่าวก็เป็นการกำหนดค่าเสียหายไว้ล่วงหน้าอาจจะสูงหรือต่ำกว่าค่าเสียหายแท้จริงก็ได้ ซึ่งต้องปรับด้วย ป.พ.พ. มาตรา 383 วรรคแรก ที่ให้ศาลพิจารณาลดเบี้ยปรับที่สูงเกินส่วนลงเป็นจำนวนที่พอสมควรตามบทบัญญัติดังกล่าวได้ เมื่อศาลอุทธรณ์เห็นว่าโจทก์ใช้สิทธิไม่เหมาะสมโดยมิได้บอกเลิกสัญญาแก่จำเลยในเวลาอันสมควร การที่ศาลอุทธรณ์กำหนดให้เอาวันหลังจากอนุญาโตตุลาการมีคำวินิจฉัยและจำเลยทำหนังสือข้อตกลงขยายระยะเวลาปฏิบัติงานตามสัญญา 1 เดือนเศษ โดยการขยายระยะเวลาดังกล่าวไม่มีผลให้ปฏิบัติได้จริง เพราะมีคำวินิจฉัยเมื่อพ้นกำหนดเวลานั้นแล้ว คงมีผลเพียงเพื่อลดวันที่จำเลยจะต้องชำระค่าปรับและจำเลยไม่อาจดำเนินการตามสัญญาต่อไปได้อีก เป็นวันเลิกสัญญา เป็นการใช้ดุลพินิจที่ถูกต้องเป็นธรรมแล้ว
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ พ.ศ.2530 ม. 24
ป.พ.พ. ม. 368, ม. 383, ม. 393


3. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1405/2539
โจทก์กับจำเลยทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินซึ่งได้กำหนดเวลาชำระหนี้ไว้ตามวันแห่งปฏิทินและเป็นสัญญาต่างตอบแทนโดยจำเลยที่1พร้อมชำระหนี้และรับชำระหนี้แต่โจทก์มิได้ชำระหนี้และรับชำระหนี้ตามกำหนดโจทก์ย่อมตกเป็นผู้ผิดนัดโดยมิพักต้องเตือนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา204วรรคสองแม้สัญญาจะซื้อจะขายมีข้อสัญญาให้จำเลยบอกเลิกสัญญาได้แต่จำเลยก็ให้โอกาสชำระหนี้และรับชำระหนี้ถึงสองครั้งโดยให้โจทก์เป็นผู้กำหนดวันนัดภายใน7วันนับแต่วันที่ได้รับหนังสือบอกกล่าวแล้วครั้งแรกโจทก์อ้างเหตุขัดข้องเรื่องเนื้อที่น้อยกว่าเนื้อที่ตามโฉนดที่ดินและหมุดหลักเขตไม่แน่นอนครั้งหลังโจทก์รับทราบและพ้นเวลาที่จำเลยกำหนดแล้วโจทก์ยังเพิกเฉยกรณีเช่นนี้จำเลยย่อมหลุดพ้นจากข้อผูกพันที่ให้โอกาสโจทก์ชำระหนี้และรับชำระหนี้และสิทธิในการเลิกสัญญาโดยข้อสัญญายังคงมีอยู่หาได้ระงับสิ้นไปไม่เมื่อจำเลยได้บอกเลิกสัญญาต่อโจทก์โดยชอบแล้วจำเลยย่อมสิ้นความผูกพันที่จะต้องโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทและมีสิทธิไม่คืนเงินมัดจำที่โจทก์ชำระแล้วทั้งหมดดังนั้นการที่จำเลยไม่โอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ตามฟ้องย่อมถือไม่ได้ว่าจำเลยทั้งสามเป็นฝ่ายผิดสัญญาและเมื่อโจทก์ยังไม่อยู่ในฐานะที่จะรับชำระหนี้หรือชำระหนี้ตอบแทนฝ่ายจำเลยทั้งสามได้ย่อมถือว่าโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญา
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 204, ม. 369, ม. 386, ม. 387, ม. 393
 

ข้อจำกัดความรับผิดชอบ: ข้อมูลเหล่านี้อาจไม่ใช่เวอร์ชันล่าสุด รัฐบาลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอาจมีข้อมูลที่เป็นปัจจุบันหรือแม่นยำกว่า เราไม่รับประกันหรือรับประกันเกี่ยวกับความถูกต้อง ความสมบูรณ์ หรือความเพียงพอของข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้หรือข้อมูลที่เชื่อมโยงกับเว็บไซต์ของรัฐ โปรดตรวจสอบแหล่งที่มาอย่างเป็นทางการ
ข้อมูลอ้างอิงจากเว็บไซต์ : www.krisdika.go.th, deka.supremecourt.or.th
แนะนำโดย Legardy
cta
ปรึกษาทนายได้ตลอด 24 ชม.
เพียงกดปุ่ม ปรึกษาได้ทันที