Banner blog website.png
เผยแพร่เมื่อ: 2023-05-30

มาตรา 385 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

“มาตรา 385 หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 385” คืออะไร? 


“มาตรา 385” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 385 “ คือ หนึ่งในมาตราของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ 
ซึ่งบัญญัติไว้ว่า “  ถ้าลูกหนี้โต้แย้งการริบเบี้ยปรับโดยอ้างเหตุว่าตนได้ชำระหนี้แล้วไซร้ ท่านว่าลูกหนี้จะต้องพิสูจน์การชำระหนี้ เว้นแต่การชำระหนี้อันตนจะต้องทำนั้นเป็นการให้งดเว้นการอันใดอันหนึ่ง “

 


1 ตัวอย่างจริงของการใช้” มาตรา 385” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 385 ” ในประเทศไทย


1. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7290/2548
จำเลยไม่นำเงินค่าธรรมเนียมการขายอ้อยและน้ำตาลทรายจำนวน 972,303.26 บาท ซึ่งได้รับคืนจากกรมสรรพากรเพื่อไปชำระให้แก่กองทุนโจทก์ตามระเบียบคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทรายฉบับที่ 4 และที่ 5 ว่าด้วยการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมจากการขายอ้อยและน้ำตาลทราย อันเป็นการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามข้อ 5 (12) ของระเบียบคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทรายว่าด้วยเบี้ยปรับสำหรับโรงงานน้ำตาลทรายที่ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามประกาศ ระเบียบ หรือ พ.ร.บ.อ้อยและน้ำตาลทราย พ.ศ.2527 ฉบับที่ 1 พ.ศ.2528 คณะกรรมการบริหารจึงมีอำนาจสั่งให้จำเลยชำระเบี้ยปรับได้ โดยให้พิจารณาเบี้ยปรับตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในข้อ 7 ซึ่งเบี้ยปรับตามระเบียบดังกล่าวข้อ 3 หมายความว่าเป็นเงินค่าปรับที่คณะกรรมการบริหารกำหนดให้โรงงานซึ่งปฏิบัติฝ่าฝืนระเบียบนี้ชำระให้แก่กองทุนอ้อยและน้ำตาลทราย ดังนี้เบี้ยปรับจึงไม่ใช่ค่าปรับอันเป็นโทษทางอาญา เพราะเบี้ยปรับดังกล่าวเป็นการกำหนดความรับผิดในทางแพ่งสำหรับโรงงานที่ฝ่าฝืนจะนำไปเปรียบกับค่าปรับทางอาญาไม่ได้ นอกจากนี้ เบี้ยปรับกรณีเช่นนี้ไม่ใช่เบี้ยปรับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์เพราะเป็นการกระทำโดยคณะกรรมการบริหารอันมีลักษณะเป็นเบี้ยปรับทางปกครอง มิใช่เบี้ยปรับเพราะเหตุผิดสัญญาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ซึ่งเป็นเรื่องของคู่สัญญาซึ่งเป็นเจ้าหนี้กับลูกหนี้ทำสัญญาไว้ต่อกันว่าลูกหนี้จะใช้เงินจำนวนหนึ่งเป็นเบี้ยปรับเมื่อตนไม่ชำระหนี้หรือไม่ชำระหนี้ให้ถูกต้องตามสมควร ดังบัญญัติไว้ใน ป.พ.พ. มาตรา 379 ถึง 385 และเบี้ยปรับที่คณะกรรมการของโจทก์กำหนดให้จำเลยนำไปชำระถือว่าเป็นหนี้อย่างหนึ่งไม่ว่าโจทก์จะเสียหายจริงหรือไม่ โจทก์ย่อมเรียกเบี้ยปรับได้
ระเบียบคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทรายว่าด้วยเบี้ยปรับสำหรับโรงงานน้ำตาลทรายที่ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามประกาศ ระเบียบหรือ พ.ร.บ.อ้อยและน้ำตาลทราย พ.ศ.2527 ฉบับที่ 1 พ.ศ.2528 ข้อ 6 ข้อ 7 และข้อ 8 ให้คณะกรรมการบริหารพิจารณาและคิดเบี้ยปรับเอาจากโรงงานที่ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามประกาศ ระเบียบหรือ พระราชบัญญัติดังกล่าว คำว่า "พิจารณา" และคำว่า "คิด" มีความหมายให้ใคร่ครวญหรือไตร่ตรองหรือตรวจตราก่อน ดังนั้น จึงเป็นดุลพินิจของคณะกรรมการบริหารที่จะสั่งปรับหรือไม่ปรับก็ได้ ทั้งนี้อยู่ที่ข้อเท็จจริงและพฤติการณ์ของโรงงานที่ทำการฝ่าฝืนระเบียบเป็นเรื่องๆไป
ดอกเบี้ยตาม พ.ร.บ.อ้อยและน้ำตาลทรายไม่กำหนดไว้ว่ามีอัตราสูงสุดเท่าใดใน ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มีเฉพาะกรณีกู้ยืมเงินตามมาตรา 654 เท่านั้นที่ให้คิดดอกเบี้ยได้ไม่เกินร้อยละ 15 ต่อปี กรณีอื่นๆนอกนั้นไม่มีกำหนดอัตราสูงสุดไว้เลย ดังนั้น อัตราดอกเบี้ยสูงสุดตามกฎหมายจึงเป็นอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปีเท่านั้น
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
พ.ร.ฎ.ออกตามความใน ป.รัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีการค้า (ฉบับที่ 183) พ.ศ.2530
พ.ร.บ.อ้อยและน้ำตาลทราย พ.ศ.2527
ป.พ.พ. ม. 379, ม. 380, ม. 381, ม. 382, ม. 383, ม. 384, ม. 385
 

ข้อจำกัดความรับผิดชอบ: ข้อมูลเหล่านี้อาจไม่ใช่เวอร์ชันล่าสุด รัฐบาลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอาจมีข้อมูลที่เป็นปัจจุบันหรือแม่นยำกว่า เราไม่รับประกันหรือรับประกันเกี่ยวกับความถูกต้อง ความสมบูรณ์ หรือความเพียงพอของข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้หรือข้อมูลที่เชื่อมโยงกับเว็บไซต์ของรัฐ โปรดตรวจสอบแหล่งที่มาอย่างเป็นทางการ
ข้อมูลอ้างอิงจากเว็บไซต์ : www.krisdika.go.th, deka.supremecourt.or.th
แนะนำโดย Legardy
cta
ปรึกษาทนายได้ตลอด 24 ชม.
เพียงกดปุ่ม ปรึกษาได้ทันที