Banner blog website.png
เผยแพร่เมื่อ: 2023-05-30

มาตรา 379 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

“มาตรา 379 หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 379” คืออะไร? 


“มาตรา 379” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 379 “ คือ หนึ่งในมาตราของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ 
ซึ่งบัญญัติไว้ว่า “ ถ้าลูกหนี้สัญญาแก่เจ้าหนี้ว่าจะใช้เงินจำนวนหนึ่งเป็นเบี้ยปรับเมื่อตนไม่ชำระหนี้ก็ดี หรือไม่ชำระหนี้ให้ถูกต้องสมควรก็ดี เมื่อลูกหนี้ผิดนัดก็ให้ริบเบี้ยปรับ ถ้าการชำระหนี้อันจะพึงทำนั้นได้แก่งดเว้นการอันใดอันหนึ่ง หากทำการอันนั้นฝ่าฝืนมูลหนี้เมื่อใด ก็ให้ริบเบี้ยปรับเมื่อนั้น “

 


3 ตัวอย่างจริงของการใช้” มาตรา 379” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 379 ” ในประเทศไทย


1. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2431/2565
ข้อเท็จจริงตามคำเบิกความของ จ. ว่า จำเลยที่ 4 ปลอมลายมือชื่อตน ทำรายงานการประชุมเท็จ และนำห้องชุด 20 ห้องของจำเลยที่ 5 ไปจดทะเบียนจำนองกับโจทก์ตามฟ้อง และ จ. มาฟ้องจำเลยที่ 4 เป็นคดีอาญาและคดีแพ่งดังกล่าว แต่ไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่าคดีดังกล่าวมีคำพิพากษาถึงที่สุดแล้วหรือไม่ ผลแห่งคดีเป็นเช่นไร ทั้งการกระทำของจำเลยที่ 4 ดังกล่าวนั้น ก็เป็นเรื่องการดำเนินการภายในของจำเลยที่ 5 ไม่มีผลผูกพันโจทก์ โดยโจทก์เป็นบุคคลภายนอกผู้รับจำนองห้องชุด 20 ห้อง ไม่ปรากฏว่าโจทก์ไม่สุจริตอย่างไร ข้ออ้างของจำเลยที่ 5 ดังกล่าวจึงใช้ยันโจทก์ไม่ได้ โจทก์มิอาจทราบได้ว่าจำเลยที่ 4 ไม่มีอำนาจกระทำการแทนจำเลยที่ 5 ดังที่จำเลยที่ 5 ฎีกา ประกอบกับโจทก์ได้มีหนังสือบอกกล่าวบังคับจำนองไปยังจำเลยที่ 5 โดยชอบแล้ว ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยที่ 5 ร่วมรับผิดชำระเงินแก่โจทก์ตามหนังสือสัญญาจำนองเพิ่มหลักทรัพย์เป็นประกันโดยไม่เพิ่มวงเงิน รวม 20 ห้องชุด และตามสัญญาค้ำประกัน ตามที่โจทก์อุทธรณ์และศาลอุทธรณ์วินิจฉัยไว้ มานั้น ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วย
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 379, ม. 383, ม. 705, ม. 733


2. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5065/2563
ตามคำขอใช้สิทธิ์และเงื่อนไขสำหรับรถยนต์ใหม่คันแรกตามนโยบายรัฐบาลมีข้อตกลงให้โจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยจากจำเลยได้เฉพาะในกรณีที่จำเลยผิดนัดไม่นำเงินที่ได้รับไปส่งคืนให้แก่โจทก์ภายในระยะเวลาที่โจทก์แจ้งเท่านั้น มิได้ให้สิทธิโจทก์ที่จะคิดดอกเบี้ยก่อนผิดนัด แต่อย่างใด การตกลงในเรื่องดอกเบี้ยไว้เช่นนี้ แม้จะชอบด้วย ป.พ.พ. มาตรา 224 วรรคหนึ่ง ก็ตาม แต่การคิดดอกเบี้ยเนื่องจากการไม่ชำระหนี้ดังกล่าวก็ต้องถือว่าเป็นข้อตกลงกำหนดเบี้ยปรับอย่างหนึ่งตาม ป.พ.พ. มาตรา 379 ศาลจึงมีอำนาจที่จะปรับลดเบี้ยปรับที่สูงเกินส่วนลงได้เป็นจำนวนพอสมควรตาม ป.พ.พ. มาตรา 383 วรรคหนึ่ง สำหรับคดีนี้เมื่อพิเคราะห์ถึงสภาวะเศรษฐกิจและทิศทางของอัตราดอกเบี้ยในปัจจุบันแล้ว การกำหนดให้จำเลยรับผิดชำระดอกเบี้ยผิดนัดในอัตราร้อยละ 15 ต่อปี จนกว่าจะชำระหนี้ให้แก่โจทก์เสร็จสิ้นนั้น ถือว่าเป็นการคิดดอกเบี้ยที่สูงเกินส่วน ประกอบกับเมื่อพิจารณาถึงข้อเท็จจริงที่ว่าการที่จำเลยเข้าไปทำสัญญาเช่าซื้อและขอรับเงินคืนจากโจทก์นั้นเป็นผลมาจากนโยบายของรัฐบาลในสมัยนั้น ที่ต้องการจะช่วยเหลือผู้ประกอบการธุรกิจรถยนต์ให้สามารถขายรถยนต์ได้มากขึ้น อีกทั้งเพื่อช่วยเหลือประชาชนที่มีรายได้น้อยได้เข้าถึงยานพาหนะซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญในการดำรงชีวิตในปัจจุบัน การที่ศาลล่างทั้งสองกำหนดให้จำเลยรับผิดชำระดอกเบี้ยผิดนัดในอัตราร้อนละ 10 ต่อปี นับแต่วันถัดจากวันฟ้องมานั้น นับว่าเหมาะสมกับพฤติการณ์แห่งคดีและชอบแล้ว ไม่มีเหตุที่ศาลฎีกาจะแก้ไขเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างอื่น
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 379, ม. 383


3. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4923/2563
ตามคำขอใช้สิทธิและเงื่อนไขสำหรับรถยนต์ใหม่คันแรกที่กำหนดว่า กรณีผู้ขอใช้สิทธิมิได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขสละสิทธิการโอนรถยนต์ใหม่คันแรกภายใน 5 ปี ให้ครบถ้วนจะต้องนำเงินที่ได้รับไปส่งคืน โดยยินยอมชำระดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 15 ต่อปี นั้น เป็นกรณีที่โจทก์เรียกดอกเบี้ยจากจำเลยหลังจากผิดนัดชำระหนี้ ดอกเบี้ยดังกล่าวจึงเป็นค่าเสียหายที่คู่สัญญากำหนดไว้ล่วงหน้าถือเป็นเบี้ยปรับ หากสูงเกินส่วนศาลจะลดลงเป็นจำนวนพอสมควรก็ได้ ที่ศาลล่างทั้งสองวินิจฉัยว่าเป็นเบี้ยปรับและใช้ดุลพินิจปรับลดเป็นอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปีนั้น เหมาะสมแล้ว
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 379, ม. 383 วรรคหนึ่ง
 

ข้อจำกัดความรับผิดชอบ: ข้อมูลเหล่านี้อาจไม่ใช่เวอร์ชันล่าสุด รัฐบาลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอาจมีข้อมูลที่เป็นปัจจุบันหรือแม่นยำกว่า เราไม่รับประกันหรือรับประกันเกี่ยวกับความถูกต้อง ความสมบูรณ์ หรือความเพียงพอของข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้หรือข้อมูลที่เชื่อมโยงกับเว็บไซต์ของรัฐ โปรดตรวจสอบแหล่งที่มาอย่างเป็นทางการ
ข้อมูลอ้างอิงจากเว็บไซต์ : www.krisdika.go.th, deka.supremecourt.or.th
แนะนำโดย Legardy
cta
ปรึกษาทนายได้ตลอด 24 ชม.
เพียงกดปุ่ม ปรึกษาได้ทันที