Banner blog website.png
เผยแพร่เมื่อ: 2023-05-30

มาตรา 363 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

“มาตรา 363 หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 363” คืออะไร? 


“มาตรา 363” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 363 “ คือ หนึ่งในมาตราของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ 
ซึ่งบัญญัติไว้ว่า “ ในกรณีที่กล่าวมาในมาตราก่อนนี้ เมื่อยังไม่มีใครทำการสำเร็จดังบ่งไว้นั้นอยู่ตราบใด ผู้ให้คำมั่นจะถอนคำมั่นของตนเสียโดยวิธีเดียวกับที่โฆษณานั้นก็ได้ เว้นแต่จะได้แสดงไว้ในโฆษณานั้นว่าจะไม่ถอน
              ถ้าคำมั่นนั้นไม่อาจจะถอนโดยวิธีดังกล่าวมาก่อน จะถอนโดยวิธีอื่นก็ได้ แต่ถ้าเช่นนั้นการถอนจะเป็นอันสมบูรณ์ใช้ได้เพียงเฉพาะต่อบุคคลที่รู้
              ถ้าผู้ให้คำมั่นได้กำหนดระยะเวลาให้ด้วยเพื่อทำการอันบ่งนั้นไซร้ ท่านให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าผู้ให้คำมั่นได้สละสิทธิที่จะถอนคำมั่นนั้นเสียแล้ว “

 


3 ตัวอย่างจริงของการใช้” มาตรา 363” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 363 ” ในประเทศไทย


1. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3761/2533
สัญญาเช่าระบุว่า "เมื่อครบกำหนดสัญญาเช่า 12 ปีนับแต่วันทำสัญญานี้เป็นต้นไป ต้องให้ผู้เช่ามีสิทธิเช่าต่อไปอีก และทำสัญญากับกรมวิสามัญศึกษา กระทรวงศึกษาธิการโดยตรงต่อไป" ข้อสัญญานี้เป็นคำมั่นที่ผูกพันโจทก์ผู้ให้เช่าฝ่ายเดียวที่จะต้องให้จำเลยผู้เช่ามีสิทธิเช่าต่อไปเมื่อปรากฏว่าก่อนสัญญาเช่าครบกำหนด จำเลยแจ้งความประสงค์ที่จะเช่าต่อ กรณีย่อมบังคับกันได้ตามสัญญา โจทก์ต้องให้จำเลยมีสิทธิเช่าต่อไป แม้ข้อเท็จจริงได้ความว่ากรรมสิทธิ์ในตึกพิพาทเป็นของโจทก์ และโจทก์ไม่อาจจัดการให้จำเลยเช่ากับกรมวิสามัญศึกษาโดยตรงได้ โจทก์ก็คงผูกพันตามสัญญาที่จะต้องให้จำเลยมีสิทธิเช่าตึกพิพาทต่อไปตามเงื่อนไขและข้อสัญญาเดิมโดยไม่มีกำหนดเวลาเช่า เมื่อสัญญาเช่าครบกำหนดโจทก์กลับขับไล่จำเลย จึงเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 5, ม. 362, ม. 363, ม. 365, ม. 537
ป.วิ.พ. ม. 55


2. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3761 - 3765/2533
สัญญาเช่าระบุว่า "เมื่อครบกำหนดสัญญาเช่า 12 ปี นับแต่วันทำสัญญานี้เป็นต้นไป ต้องให้ผู้เช่ามีสิทธิเช่าต่อไปอีก และทำสัญญากับกรมวิสามัญศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ โดยตรงต่อไป" ข้อสัญญานี้เป็นคำมั่นที่ผูกพันโจทก์ผู้ให้เช่าฝ่ายเดียวที่จะต้องให้จำเลยผู้เช่ามีสิทธิเช่าต่อไป เมื่อปรากฏว่าก่อนสัญญาเช่าครบกำหนด จำเลยแจ้งความประสงค์ที่จะเช่าต่อ กรณีย่อมบังคับกันได้ตามสัญญา โจทก์ต้องให้จำเลยมีสิทธิเช่าต่อไป แม้ข้อเท็จจริงได้ความว่ากรรมสิทธิในตึกพิพาทเป็นของโจทก์ และโจทก์ไม่อาจจัดการให้จำเลยเช่ากับกรมวิสามัญศึกษาโดยตรงได้ โจทก์ก็คงผูกพันตามสัญญาที่จะต้องให้จำเลยมีสิทธิเช่าตึกพิพาทต่อไปตามเงื่อนไขและข้อสัญญาเดิมโดยไม่มีกำหนดเวลาเช่า เมื่อสัญญาเช่าครบกำหนดโจทก์กลับฟ้องขับไล่จำเลย จึงเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 5, ม. 362, ม. 363, ม. 365, ม. 537
ป.วิ.พ. ม. 45


3. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2302/2522
บริษัทจำเลยวางระเบียบการจ่ายเงินบำเหน็จรางวัลซึ่งเป็นกฎเกณฑ์ การจ่ายเงินบำเหน็จรางวัลแก่พนักงานบริษัทไว้ เพื่อใช้บังคับในกรณีที่การทำงานของพนักงานบริษัทครบเกษียณอายุหรือต้องสิ้นสุดลงอันถือได้ว่าเป็นเงื่อนไขส่วนหนึ่งแห่งสัญญาจ้างเมื่อพนักงานได้กระทำตามเงื่อนไขต่าง ๆดังกำหนดไว้นั้นแล้ว จำเลยย่อมผูกพันที่จะต้องจ่ายเงินบำเหน็จให้แก่พนักงานผู้นั้นตามกฎเกณฑ์ที่ได้กำหนดไว้แม้จำเลยจะมีสิทธิเปลี่ยนแปลงแก้ไขหรือยกเลิกระเบียบดังกล่าวได้ไม่ว่าจะเพียงบางส่วนหรือทั้งหมดทั้งนี้ สุดแต่บริษัทจำเลยจะเห็นสมควรก็ตามแต่ตราบใดที่จำเลยยังมิได้แก้ไข เปลี่ยนแปลงกฎเกณฑ์ดังกล่าวจำเลยก็ต้องผูกพันตามนั้นอยู่ขณะที่จำเลยมีคำสั่งเลิกจ้างโจทก์หากโจทก์มีสิทธิที่จะได้รับเงินบำเหน็จจากจำเลยตามกฎเกณฑ์อยู่อย่างไร จำเลยย่อมผูกพันที่จะต้องจ่ายเงินบำเหน็จนั้นแก่โจทก์
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 362, ม. 363, ม. 369, ม. 521, ม. 575
 

ข้อจำกัดความรับผิดชอบ: ข้อมูลเหล่านี้อาจไม่ใช่เวอร์ชันล่าสุด รัฐบาลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอาจมีข้อมูลที่เป็นปัจจุบันหรือแม่นยำกว่า เราไม่รับประกันหรือรับประกันเกี่ยวกับความถูกต้อง ความสมบูรณ์ หรือความเพียงพอของข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้หรือข้อมูลที่เชื่อมโยงกับเว็บไซต์ของรัฐ โปรดตรวจสอบแหล่งที่มาอย่างเป็นทางการ
ข้อมูลอ้างอิงจากเว็บไซต์ : www.krisdika.go.th, deka.supremecourt.or.th
แนะนำโดย Legardy
cta
ปรึกษาทนายได้ตลอด 24 ชม.
เพียงกดปุ่ม ปรึกษาได้ทันที