Banner blog website.png
เผยแพร่เมื่อ: 2023-05-30

มาตรา 355 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

“มาตรา 355 หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 355” คืออะไร? 


“มาตรา 355” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 355 “ คือ หนึ่งในมาตราของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ 
ซึ่งบัญญัติไว้ว่า “ บุคคลทำคำเสนอไปยังผู้อื่นซึ่งอยู่ห่างกันโดยระยะทาง และมิได้บ่งระยะเวลาให้ทำคำสนอง จะถอนคำเสนอของตนเสียภายในเวลาอันควรคาดหมายว่าจะได้รับคำบอกกล่าวสนองนั้น ท่านว่าหาอาจจะถอนได้ไม่ “

 

ค้นหาได้ทุกเรื่อง : "บทความทางกฎหมาย, คำปรึกษาจริงพร้อมคำตอบจากทนายความ, มาตรากฎหมาย" >> คลิก !

 


3 ตัวอย่างจริงของการใช้” มาตรา 355” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 355 ” ในประเทศไทย


1. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 620/2548
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยชำระหนี้อันเกิดจากการใช้บริการตามสัญญาการใช้บริการวิทยุคมนาคมซึ่งถือว่าเป็นหนี้เหนือบุคคลโจทก์จึงมีสิทธิที่จะเสนอคำฟ้องต่อศาลที่จำเลยมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตศาล หรือต่อศาลที่มูลคดีเกิดขึ้นในเขตศาลก็ได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 4 (1)
จำเลยนำเครื่องวิทยุคมนาคมมาขอใช้บริการวิทยุคมนาคมระบบเซลลูล่าร์จากสำนักงานสาขาหรือตัวแทนของโจทก์ สำนักงานสาขาหรือตัวแทนของโจทก์จะเสนอคำขอ/สัญญาการใชบริการวิทยุคมนาคมดังกล่าวมาให้สำนักงานใหญ่ของโจทก์พิจารณาอนุมัติเมื่ออนุมัติแล้วสำนักงานใหญ่จะเป็นผู้เปิดสัญญาณคลื่นวิทยุคมนาคมที่อยู่ที่สำนักงานใหญ่ จำเลยจึงจะใช้บริการตามคำขอที่ยื่นไว้ได้ ย่อมถือได้ว่าคำขอใช้บริการวิทยุคมนาคมที่จำเลยยื่นต่อสำนักงานสาขาหรือตัวแทนของโจทก์ดังกล่าว เป็นการทำเสนอเพื่อขอใช้บริการวิทยุคมนาคมต่อโจทก์ ส่วนการพิจารณาอนุมัติของสำนักงานใหญ่ถือได้ว่าเป้นการกระทำอันใดอันหนึ่งซึ่งมีผลเป็นการแสดงเจตนาสนองรับคำเสนอของจำเลย แม้จะเป็นการแสดงเจตนาที่กระทำต่อจำเลยซึ่งมิได้อยู่เฉพาะหน้า แต่ก็ถือได้ว่าตามปกติประเพณีการตกลงทำสัญญาการใช้บริการวิทยุคมนาคมระหว่างโจทก์กับจำเลยที่กระทำขึ้นในลักษณะเช่นนี้ ได้เกิดเป็นสัญญาขึ้นเมื่อสำนักงานใหญ่ได้สนองรับคำเสนอโดยการเปิดสัญญาณวิทยุคมนาคมอันมีผลให้จำเลยสามารถใช้บริการได้โดยไม่จำเป็นต้องมีคำบอกกล่าวสนองไปถึงจำเลยผู้เสนอตาม ป.พ.พ. มาตรา 361 วรรคสองอีก เมื่อสัญญาระหว่างโจทก์กับจำเลยได้เกิดขึ้นที่สำนักงานใหญ่ซึ่งตั้งอยู่ในเขตอำนาจของศาลชั้นต้นและโจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยชำระหนี้อันเกิดจากการใช้บริการตามสัญญาการใช้บริการวิทนุคมนาคมดังกล่าว จึงถือได้ว่าศาลชั้นต้นเป็นศาลหนึ่งที่มูลคดีเกิดขึ้นในเขตศาลตาม ป.วิ.พ. มาตรา 4 (1) มีอำนาจที่จะพิจารณาพิพากษาคดีได้
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 355, ม. 361
ป.วิ.พ. ม. 4


2. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7251/2543
การที่โจทก์ยื่นใบสมัครเข้าโครงการเกษียณอายุก่อนกำหนดโดยมีคุณสมบัติไม่ครบถ้วนตามที่จำเลยกำหนด โจทก์ย่อมไม่มีสิทธิได้รับสิทธิประโยชน์ตามโครงการดังกล่าว แต่จำเลยยอมรับใบสมัครของโจทก์ไว้แล้วพิจารณาอนุมัติให้โจทก์ลาออก โดยให้โจทก์ได้รับเฉพาะเงินประกันบำเหน็จและเงินเพิ่มพิเศษเท่านั้นส่วนเงินบำเหน็จพิเศษไม่อนุมัติให้ จ่าย ตามที่โจทก์ขอ และเมื่อโจทก์ขอให้จำเลยพิจารณาคำขอของโจทก์อีกครั้งจำเลยยังคงยืนยันไม่จ่ายเงินส่วนนี้ซึ่งโจทก์ก็มิได้แสดงเจตนาว่าจะไม่ลาออกแต่กลับรับเงินส่วนที่จำเลยอนุมัติให้จ่ายไปเรียบร้อยแล้วโดยมิได้โต้แย้งสงวนสิทธิใด ๆ ไว้ ถือว่าโจทก์ยังคงตกลงลาออกตามเจตนาเดิมที่แสดงไว้ในใบสมัครและสนองรับข้อเสนอดังกล่าวของจำเลย โดย ไม่ ขอรับเงินบำเหน็จพิเศษตามที่ระบุขอไว้ในใบสมัครอีกต่อไป การที่ จำเลยรับใบสมัครที่มีคำขอให้จ่ายเงินบำเหน็จพิเศษแก่โจทก์ เช่นเดียวกับผู้ที่มีคุณสมบัติครบถ้วนเป็นการรับไว้พิจารณาเท่านั้น หาใช่จำเลยยอมรับข้อเสนอของโจทก์และตกลงจ่ายเงินตามที่โจทก์ขอแล้วไม่
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 149, ม. 354, ม. 355, ม. 356, ม. 357, ม. 366


3. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7251/2543
การที่โจทก์ยื่นใบสมัครเข้าโครงการเกษียณอายุก่อนกำหนดโดยมีคุณสมบัติไม่ครบถ้วนตามที่จำเลยกำหนด โจทก์ย่อมไม่มีสิทธิได้รับสิทธิประโยชน์ตามโครงการดังกล่าว แต่จำเลยยอมรับใบสมัครของโจทก์ไว้แล้วพิจารณาอนุมัติให้โจทก์ลาออก โดยให้โจทก์ได้รับเฉพาะเงินประกันบำเหน็จและเงินเพิ่มพิเศษเท่านั้นส่วนเงินบำเหน็จพิเศษไม่อนุมัติให้จ่ายตามที่โจทก์ขอ และเมื่อโจทก์ขอให้จำเลยพิจารณาคำขอของโจทก์อีกครั้ง จำเลยยังคงยืนยันไม่จ่ายเงินส่วนนี้ซึ่งโจทก์ก็มิได้แสดงเจตนาว่าจะไม่ลาออก แต่กลับรับเงินส่วนที่จำเลยอนุมัติให้จ่ายไปเรียบร้อยแล้วโดยมิได้โต้แย้งสงวนสิทธิใด ๆ ไว้ ถือว่าโจทก์ยังคงตกลงลาออกตามเจตนาเดิมที่แสดงไว้ในใบสมัครและสนองรับข้อเสนอดังกล่าวของจำเลย โดยไม่ขอรับเงินบำเหน็จพิเศษตามที่ระบุขอไว้ในใบสมัครอีกต่อไป การที่จำเลยรับใบสมัครที่มีคำขอให้จ่ายเงินบำเหน็จพิเศษแก่โจทก์เช่นเดียวกับผู้ที่มีคุณสมบัติครบถ้วนเป็นการรับไว้พิจารณาเท่านั้น หาใช่จำเลยยอมรับข้อเสนอของโจทก์และตกลงจ่ายเงินตามที่โจทก์ขอแล้วไม่
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 149, ม. 354, ม. 355, ม. 356, ม. 357, ม. 366
 

ข้อจำกัดความรับผิดชอบ: ข้อมูลเหล่านี้อาจไม่ใช่เวอร์ชันล่าสุด รัฐบาลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอาจมีข้อมูลที่เป็นปัจจุบันหรือแม่นยำกว่า เราไม่รับประกันหรือรับประกันเกี่ยวกับความถูกต้อง ความสมบูรณ์ หรือความเพียงพอของข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้หรือข้อมูลที่เชื่อมโยงกับเว็บไซต์ของรัฐ โปรดตรวจสอบแหล่งที่มาอย่างเป็นทางการ
ข้อมูลอ้างอิงจากเว็บไซต์ : www.krisdika.go.th, deka.supremecourt.or.th
แนะนำโดย Legardy
cta
ปรึกษาทนายได้ตลอด 24 ชม.
เพียงกดปุ่ม ปรึกษาได้ทันที