Banner blog website.png
เผยแพร่เมื่อ: 2023-05-30

มาตรา 352 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

“มาตรา 352 หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 352” คืออะไร? 


“มาตรา 352” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 352 “ คือ หนึ่งในมาตราของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ 
ซึ่งบัญญัติไว้ว่า “ คู่กรณีในการแปลงหนี้ใหม่อาจโอนสิทธิจำนำหรือจำนองที่ได้ให้ไว้เป็นประกันหนี้เดิมนั้นไปเป็นประกันหนี้รายใหม่ได้ เพียงเท่าที่เป็นประกันวัตถุแห่งหนี้เดิม แต่หลักประกันเช่นว่านี้ ถ้าบุคคลภายนอกเป็นผู้ให้ไว้ไซร้ ท่านว่าจำต้องได้รับความยินยอมของบุคคลภายนอกนั้นด้วยจึงโอนได้ “

 


3 ตัวอย่างจริงของการใช้” มาตรา 352” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 352 ” ในประเทศไทย


1. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1949/2516
ผู้แทนโจทก์ในคดียื่นสำเนาหนังสือมอบอำนาจต่อศาลในขณะยื่นฟ้อง และในวันนัดพิจารณา โจทก์ส่งหนังสือมอบอำนาจของโจทก์ต่อศาล ซึ่งจำเลยได้แถลงรับว่าถูกต้องเป็นความจริง และรับว่าผู้รับมอบได้รับมอบอำนาจจากโจทก์ และมีอำนาจทำหนังสือมอบอำนาจช่วงได้จริง ดังนี้ เป็นการปฏิบัติชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งแล้วผู้รับมอบอำนาจจึงมีอำนาจฟ้องจำเลยได้
การแปลงหนี้ใหม่ย่อมทำให้หนี้เดิมระงับสิ้นไป ส่วนประกันของหนี้เดิมอันเป็นอุปกรณ์ของหนี้เช่นจำนอง ถ้าคู่กรณีในการแปลงหนี้ใหม่มิได้ตกลงเป็นอย่างอื่น ก็ย่อมระงับไปด้วยเช่นเดียวกัน
มาตรา 352 ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มิได้ใช้บังคับเฉพาะกรณีแปลงหนี้ใหม่โดยเปลี่ยนตัวเจ้าหนี้เท่านั้น การโอนสิทธิจำนองของจำเลยเป็นประกันหนี้ที่แปลงใหม่ จึงทำเป็นสัญญาระหว่างโจทก์จำเลยซึ่งเป็นคู่กรณีในการแปลงหนี้ใหม่ก็ใช้ได้ โดยไม่จำต้องจดทะเบียนจำนองซ้ำอีกอย่างจำนองธรรมดาที่เป็นหลักทั่วไป
หนี้เดิมเป็นหนี้เงินกู้เบิกเงินเกินบัญชีหรือบัญชีเดินสะพัดซึ่งคิดดอกเบี้ยทบต้นได้ เมื่อหนี้เดิมระงับไปเพราะการแปลงหนี้ใหม่ การคิดดอกเบี้ยทบต้นเป็นรายเดือนก็ต้องระงับไปตั้งแต่วันทำสัญญาแปลงหนี้ใหม่
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.วิ.พ. ม. 47, ม. 55, ม. 66
ป.พ.พ. ม. 349, ม. 350, ม. 352, ม. 655 วรรคสอง, ม. 744, ม. 714


2. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1949/2516
ผู้แทนโจทก์ในคดียื่นสำเนาหนังสือมอบอำนาจต่อศาลในขณะยื่นฟ้องและในวันนัดพิจารณา โจทก์ส่งหนังสือมอบอำนาจของโจทก์ต่อศาลซึ่งจำเลยได้แถลงรับว่าถูกต้องเป็นความจริง และรับว่าผู้รับมอบได้รับมอบอำนาจจากโจทก์ และมีอำนาจทำหนังสือมอบอำนาจช่วงได้จริงดังนี้ เป็นการปฏิบัติชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งแล้วผู้รับมอบอำนาจจึงมีอำนาจฟ้องจำเลยได้
การแปลงหนี้ใหม่ย่อมทำให้หนี้เดิมระงับสิ้นไป ส่วนประกันของหนี้เดิมอันเป็นอุปกรณ์ของหนี้เช่นจำนอง ถ้าคู่กรณีในการแปลงหนี้ใหม่มิได้ตกลงเป็นอย่างอื่น ก็ย่อมระงับไปด้วยเช่นเดียวกัน
มาตรา 352 ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มิได้ใช้บังคับเฉพาะกรณีแปลงหนี้ใหม่โดยเปลี่ยนตัวเจ้าหนี้เท่านั้น การโอนสิทธิจำนองของจำเลยเป็นประกันหนี้ที่แปลงใหม่ จึงทำเป็นสัญญาระหว่างโจทก์จำเลยซึ่งเป็นคู่กรณีในการแปลงหนี้ใหม่ก็ใช้ได้ โดยไม่จำต้องจดทะเบียนจำนองซ้ำอีกอย่างจำนองธรรมดาที่เป็นหลักทั่วไป
หนี้เดิมเป็นหนี้เงินกู้เบิกเงินเกินบัญชีหรือบัญชีเดินสะพัด ซึ่งคิดดอกเบี้ยทบต้นได้ เมื่อหนี้เดิมระงับไปเพราะการแปลงหนี้ใหม่ การคิดดอกเบี้ยทบต้นเป็นรายเดือนก็ต้องระงับไปตั้งแต่วันทำสัญญาแปลงหนี้ใหม่
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.วิ.พ. ม. 47, ม. 55, ม. 66
ป.พ.พ. ม. 349, ม. 350, ม. 352, ม. 744, ม. 714


3. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1683/2498
เดิมโจทก์ฟ้องบังคับจำนอง ที่สุดโจทก์จำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความโดยจำเลยยอมชำระให้โจทก์ภายใน 6 เดือน ศาลจึงพิพากษาบังคับให้เป็นไปตามสัญญาประนีประนอมยอมความแล้ว จำเลยผิดสัญญาตามยอม โจทก์นำยึดทรัพย์จำเลยได้ไม่พอชำระหนี้ ดังนี้เมื่อในสัญญาประนีประนอมยอมความมิได้กล่าวว่าจะบังคับเอาชำระหนี้ได้แต่เฉพาะทรัพย์สินที่จำนองกันไว้แล้วโจทก์ก็ชอบที่จะบังคับเอาชำระหนี้ตามคำพิพากษาจากทรัพย์ใดๆ ของจำเลยได้
อนึ่งเมื่อจำเลยปล่อยให้มีการบังคับคดีไปตามคำพิพากษาส่วนหนึ่งแล้วจะยกเอาเหตุว่าจำเลยถูกหลอกลวงให้ทำสัญญาประนีประนอมขึ้นในชั้นฎีกาไม่ได้ เหตุดังกล่าวจำเลยชอบที่จะอุทธรณ์คำพิพากษาตามยอมนั้นเสียในชั้นอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 138
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.วิ.พ. ม. 138, ม. 149, ม. 142, ม. 271
ป.พ.พ. ม. 214, ม. 733, ม. 852, ม. 352
 

ข้อจำกัดความรับผิดชอบ: ข้อมูลเหล่านี้อาจไม่ใช่เวอร์ชันล่าสุด รัฐบาลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอาจมีข้อมูลที่เป็นปัจจุบันหรือแม่นยำกว่า เราไม่รับประกันหรือรับประกันเกี่ยวกับความถูกต้อง ความสมบูรณ์ หรือความเพียงพอของข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้หรือข้อมูลที่เชื่อมโยงกับเว็บไซต์ของรัฐ โปรดตรวจสอบแหล่งที่มาอย่างเป็นทางการ
ข้อมูลอ้างอิงจากเว็บไซต์ : www.krisdika.go.th, deka.supremecourt.or.th
แนะนำโดย Legardy
cta
ปรึกษาทนายได้ตลอด 24 ชม.
เพียงกดปุ่ม ปรึกษาได้ทันที