Banner blog website.png
เผยแพร่เมื่อ: 2023-05-29

มาตรา 35 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

“มาตรา 35 หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 35” คืออะไร? 


“มาตรา 35” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 35 “ คือ หนึ่งในมาตราของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ 
ซึ่งบัญญัติไว้ว่า “ ในกรณีที่ผู้พิทักษ์ไม่ยินยอมให้คนเสมือนไร้ความสามารถกระทำการอย่างหนึ่งอย่างใดตามมาตรา ๓๔ โดยปราศจากเหตุผลอันสมควร เมื่อคนเสมือนไร้ความสามารถร้องขอ ศาลจะมีคำสั่งอนุญาตให้กระทำการนั้นโดยไม่ต้องรับความยินยอมจากผู้พิทักษ์ก็ได้ ถ้าการนั้นจะเป็นคุณประโยชน์แก่คนเสมือนไร้ความสามารถ “

 


3 ตัวอย่างจริงของการใช้” มาตรา 35” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 35 ” ในประเทศไทย


1. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4045/2528
คดีก่อนผู้พิทักษ์เป็นโจทก์ฟ้องคดีแทนผู้เสมือนไร้ความสามารถขอแบ่งมรดกของผู้เสมือนไร้ความสามารถ ศาลฎีกาพิพากษายกฟ้องโดยว่าโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องแทนผู้เสมือนไร้ความสามารถเพราะเป็นเพียง ผู้พิทักษ์มีอำนาจหน้าที่เพียงแต่ให้ความยินยอมหรือไม่แก่ ผู้เสมือนไร้ความสามารถเท่านั้น ผู้เสมือนไร้ความสามารถคือโจทก์ในคดีนี้จึงมาเป็นโจทก์ฟ้องคดีเองโดยได้รับความยินยอมจากผู้พิทักษ์ ดังนี้ ฟ้องโจทก์ย่อมไม่เป็นฟ้องซ้ำกับคดีก่อน และศาลอุทธรณ์ในคดีนี้ ไม่จำต้องพิพากษาคดีตามศาลอุทธรณ์ในคดีก่อน เพราะคำพิพากษา ศาลอุทธรณ์ในคดีก่อนย่อมสิ้นผลโดยคำพิพากษาศาลฎีกาในคดีก่อน ดังนั้นศาลอุทธรณ์คดีนี้จึงย่อมพิพากษากลับกับคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ในคดีก่อนได้
ทรัพย์มรดกของบิดาโจทก์จำเลยเป็นทรัพย์มรดกที่ยังไม่ได้แบ่งปัน และต่างได้ร่วมกันปกครองทรัพย์มรดกดังกล่าวตลอดมาจนมารดาโจทก์ จำเลยร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกและศาลแพ่งได้มีคำสั่งตั้งมารดาโจทก์ จำเลยเป็นผู้จัดการมรดก ต้องถือว่าทรัพย์มรดกอยู่ในระหว่างจัดการตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1736 อายุความจึงสะดุดหยุดลง ตั้งแต่นั้นมา โจทก์มาฟ้องขอแบ่งมรดกเมื่อเกิน 10 ปี นับแต่เจ้ามรดก ถึงแก่ความตาย คดีโจทก์จึงยังไม่ขาดอายุความ

ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 35 (4), ม. 181, ม. 1736, ม. 1754
ป.วิ.พ. ม. 55, ม. 145, ม. 148


2. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4045/2528
คดีก่อนผู้พิทักษ์เป็นโจทก์ฟ้องคดีแทนผู้เสมือนไร้ความสามารถขอแบ่งมรดกของผู้เสมือนไร้ความสามารถ ศาลฎีกาพิพากษายกฟ้อง โดยว่าโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องแทนผู้เสมือนไร้ความสามารถเพราะเป็นเพียงผู้พิทักษ์ มีอำนาจหน้าที่เพียงแต่ให้ความยินยอมหรือไม่แก่ ผู้เสมือนไร้ความสามารถเท่านั้น ผู้เสมือนไร้ความสามารถคือ โจทก์ในคดีนี้จึงมาเป็นโจทก์ฟ้องคดีเองโดยได้รับความยินยอมจากผู้พิทักษ์ ดังนี้ ฟ้องโจทก์ย่อมไม่เป็นฟ้องซ้ำกับคดีก่อน และศาลอุทธรณ์ในคดีนี้ ไม่จำต้องพิพากษาคดีตามศาลอุทธรณ์ในคดีก่อน เพราะคำพิพากษา ศาลอุทธรณ์ในคดีก่อนย่อมสิ้นผลโดยคำพิพากษาศาลฎีกาในคดีก่อน ดังนั้นศาลอุทธรณ์คดีนี้จึงย่อมพิพากษากลับกับคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ในคดีก่อนได้
ทรัพย์มรดกของบิดาโจทก์จำเลยเป็นทรัพย์มรดกที่ยังไม่ได้แบ่งปัน และต่างได้ร่วมกันปกครองทรัพย์มรดกดังกล่าวตลอดมาจนมารดาโจทก์ จำเลยร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกและศาลแพ่งได้มีคำสั่งตั้งมารดาโจทก์ จำเลยเป็นผู้จัดการมรดก ต้องถือว่าทรัพย์มรดกอยู่ในระหว่างจัดการ ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1736 อายุความจึงสะดุดหยุดลง ตั้งแต่นั้นมา โจทก์มาฟ้องขอแบ่งมรดกเมื่อเกิน 10 ปี นับแต่เจ้ามรดก ถึงแก่ความตาย คดีโจทก์จึงยังไม่ขาดอายุความ
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 35 (4), ม. 181, ม. 1736, ม. 1754
ป.วิ.พ. ม. 55, ม. 145, ม. 148


3. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 177/2528
พินัยกรรมทำขึ้นในขณะเจ้ามรดกมีสติดี สามารถแสดงเจตนาทำพินัยกรรมได้ แม้จะเป็นบุคคลผู้เสมือนไร้ความสามารถก็เพียงไม่สามารถจัดการงานบางประการของตนเองได้เท่านั้น การทำพินัยกรรมเป็นกิจการเฉพาะตัวที่จะต้องแสดงเจตนาด้วยตนเองและผู้พิทักษ์ก็ได้ให้ความยินยอมแล้ว พินัยกรรมจึงสมบูรณ์ตามกฎหมาย
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 34, ม. 35, ม. 1646
 

ข้อจำกัดความรับผิดชอบ: ข้อมูลเหล่านี้อาจไม่ใช่เวอร์ชันล่าสุด รัฐบาลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอาจมีข้อมูลที่เป็นปัจจุบันหรือแม่นยำกว่า เราไม่รับประกันหรือรับประกันเกี่ยวกับความถูกต้อง ความสมบูรณ์ หรือความเพียงพอของข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้หรือข้อมูลที่เชื่อมโยงกับเว็บไซต์ของรัฐ โปรดตรวจสอบแหล่งที่มาอย่างเป็นทางการ
ข้อมูลอ้างอิงจากเว็บไซต์ : www.krisdika.go.th, deka.supremecourt.or.th
แนะนำโดย Legardy
cta
ปรึกษาทนายได้ตลอด 24 ชม.
เพียงกดปุ่ม ปรึกษาได้ทันที