Banner blog website.png
เผยแพร่เมื่อ: 2023-05-30

มาตรา 348 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

“มาตรา 348 หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 348” คืออะไร? 


“มาตรา 348” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 348 “ คือ หนึ่งในมาตราของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ 
ซึ่งบัญญัติไว้ว่า “ ถ้าคู่กรณีต่างฝ่ายต่างมีสิทธิเรียกร้องหลายรายอันควรแก่การที่จะใช้หักกลบลบหนี้ได้ไซร้ ฝ่ายผู้ที่ขอหักหนี้จะระบุก็ได้ว่าพึงเอาสิทธิเรียกร้องรายใดบ้างเข้าหักกลบลบกัน ถ้าการหักกลบลบหนี้ได้แสดงโดยมิได้ระบุเช่นนั้นก็ดี หรือถ้าระบุ แต่อีกฝ่ายหนึ่งท้วงขัดข้องโดยไม่ชักช้าก็ดี ท่านให้นำบทบัญญัติแห่งมาตรา ๓๒๘ วรรค ๒ มาใช้บังคับโดยอนุโลม
              ถ้าฝ่ายที่ขอหักกลบลบหนี้ยังเป็นหนี้ค่าดอกเบี้ยและค่าฤชาธรรมเนียมแก่อีกฝ่ายหนึ่งอยู่ นอกจากการชำระหนี้อันเป็นประธานนั้นด้วยไซร้ ท่านให้นำบทบัญญัติแห่งมาตรา ๓๒๙ มาใช้บังคับโดยอนุโลม “

 


3 ตัวอย่างจริงของการใช้” มาตรา 348” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 348 ” ในประเทศไทย


1. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 986/2541
โจทก์ได้ระบุไว้ในบัญชีระบุพยานโจทก์ว่า ณ. เป็นผู้เชี่ยวชาญศาลและต่อมาได้ขอส่งรายงานของณ.ตามคำแถลงของณ.โดยจำเลยที่ 3 มิได้คัดค้านว่า ณ.มิใช่เป็นผู้เชี่ยวชาญศาล จึงต้องถือว่า ณ. ได้ลงชื่อเป็นผู้เชี่ยวชาญไว้ในทะเบียนผู้เชี่ยวชาญของศาลแล้ว เมื่อศาลชั้นต้นได้มีหมายเรียก ณ.ย่อมถือโดยปริยายว่า ณ.เป็นผู้เชี่ยวชาญที่ศาลแต่งตั้งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 99 แล้ว ศาลไม่จำเป็นต้องมีคำสั่งแต่งตั้ง ณ. เป็นผู้เชี่ยวชาญซ้ำซ้อนอีก และการแต่งตั้งผู้เชี่ยวชาญดังกล่าวอยู่ในดุลพินิจของศาลที่จะแต่งตั้งได้โดยไม่จำเป็นต้องเรียกคู่ความมาตกลงให้กำหนดตัวผู้เชี่ยวชาญตามมาตรา 129(1) ณ.เป็นผู้เชี่ยวชาญที่ศาลแต่งตั้ง จึงมีสิทธิแสดงความเห็นเป็นหนังสือเมื่อเป็นที่พอใจของศาลและไม่มีคู่ความฝ่ายใดเรียกร้องให้ ณ.มาศาลเพื่ออธิบายด้วยวาจาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 130 ความเห็นเป็นหนังสือของณ.ย่อมรับฟังได้ จำเลยที่ 3 รับจ้างจำเลยที่ 1 เป็นผู้ควบคุมดูแลการขุดเจาะลงเสาเข็มของจำเลยที่ 2 ซึ่งรับจ้างจำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 3 ตกลงทำสัญญากับจำเลยที่ 1 ว่า จะควบคุมให้มีวิธีการก่อสร้างที่ปลอดภัยและไม่มีมลภาวะแก่บริเวณก่อสร้างหรือบริเวณข้างเคียง เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 2 ได้ขุดเจาะลงเสาเข็มเป็นเหตุให้ทาวน์เฮาส์ของโจทก์เสียหายโดยนอกเหนือการควบคุมของจำเลยที่ 3 แม้จำเลยที่ 3 จะควบคุมการก่อสร้างให้ถูกต้องตามแบบแปลนที่ได้รับอนุญาตตลอดจนควบคุมการใช้เครื่องมือเครื่องจักรให้ถูกต้องตรงตามมาตรฐานที่ใช้กันทั่วไปก็ตามแต่ความเสียหายของทาวน์เฮาส์ของโจทก์เกิดจากการขุดเจาะลงเสาเข็มที่จำเลยที่ 2 กระทำ โดยจำเลยที่ 3ควบคุม ย่อมแสดงว่ามาตรฐานทั่วไปที่จำเลยที่ 3 อ้างใช้ในการขุดเจาะลงเสาเข็มนั้น ไม่สามารถนำมาใช้ขุดเจาะลงเสาเข็มเพื่อสร้างตึกสูง 42 ชั้น และห้องใต้ดิน 2 ชั้น ได้ซึ่งจำเลยที่ 3 ในฐานะผู้ควบคุมต้องใช้ความระมัดระวังในส่วนนี้แต่จำเลยที่ 3 ยังควบคุมให้ขุดเจาะลงเสาเข็มโดยจำเลยที่ 3 ไม่ได้ควบคุมให้มีวิธีการก่อสร้างที่ปลอดภัยถือได้ว่าจำเลยที่ 3 กระทำโดยประมาทเลินเล่อแล้ว โดยโจทก์ไม่จำต้องนำสืบว่าจำเลยที่ 3 ละเลยต่อหน้าที่ในการควบคุมหรือไม่ จำเลยที่ 3 ย่อมต้องรับผิดร่วมกับจำเลยที่ 1 และที่ 2 ด้วย จำเลยได้กระทำละเมิดต่อโจทก์ เป็นเหตุให้ห้องครัวของโจทก์เสียหายตั้งแต่ปลายปี พ.ศ. 2534 และโจทก์รู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าเสียหายในเวลาเดียวกันซึ่งนับถึงวันฟ้องพ้นกำหนดปีหนึ่งแล้ว แต่เมื่อจำเลยที่ 2 ยังคงดำเนินการขุดเจาะลงเสาเข็มซึ่งเป็นมูลเหตุของการทำละเมิดต่อไปจนถึงความเสียหายอันเกิดจากการกระทำละเมิดของจำเลยที่ 2 นั้น ย่อมจะต้องเกิดเพิ่มขึ้นอีกในทรัพย์อันเดียวกันตรงส่วนที่ได้รับความเสียหายเดิมจากการกระทำละเมิดของจำเลยที่ 2 ในช่วงแรก และส่วนที่เสียหายใหม่จากการกระทำละเมิดในช่วงหลังความเสียหายดังกล่าวนี้ย่อมไม่อาจแยกแยะได้ว่า ช่วงเวลาใดจำเลยที่ 2 ทำละเมิดต่อโจทก์ เสียหายเป็นจำนวนมากน้อยเพียงใด เมื่อความเสียหายดังกล่าวเกี่ยวพันสืบเนื่องกันตลอดเวลาที่จำเลยที่ 2 ยังคงขุดเจาะลงเสาเข็มอยู่ เมื่อนับอายุความหนึ่งปีนับแต่วันสุดท้ายที่จำเลยที่ 2 ยังทำละเมิดอยู่คือวันที่ 21 มีนาคม 2535 เป็นวันที่โจทก์รู้ถึงการละเมิด ซึ่งยังไม่พ้นกำหนดอายุความหนึ่งปีนับแต่โจทก์ได้ฟ้องคดี คดีโจทก์จึงยังไม่ขาดอายุความ ปัญหาว่า จำเลยที่ 3 มีสิทธิขอหักเงินส่วนที่จำเลยที่ 1และที่ 2 ได้ตกลงชดใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์หลังจากศาลชั้นต้นได้มีคำพิพากษาแล้วหรือไม่เป็นปัญหาข้อเท็จจริงและเป็นข้อกฎหมายที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาโดยชอบในศาลชั้นต้นจึงต้องห้ามฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249แต่ปัญหาว่าจำเลยที่ 3 จะมีสิทธิหักหนี้ดังกล่าวได้หรือไม่เป็นเรื่องขอหักกันในชั้นบังคับคดีต่อไป
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 329, ม. 348, ม. 428, ม. 448
ป.วิ.พ. ม. 87, ม. 88, ม. 99, ม. 129 (1), ม. 130, ม. 249, ม. 276


2. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 986/2541
โจทก์ได้ระบุไว้ในบัญชีระบุพยานโจทก์ว่า ณ.เป็นผู้เชี่ยวชาญศาลและต่อมาได้ขอส่งรายงานของ ณ.ตามคำแถลงของ ณ.โดยจำเลยที่ 3 มิได้คัดค้านว่า ณ.มิใช่เป็นผู้เชี่ยวชาญศาล จึงต้องถือว่า ณ.ได้ลงชื่อเป็นผู้เชี่ยวชาญไว้ในทะเบียนผู้เชี่ยวชาญของศาลแล้ว เมื่อศาลชั้นต้นได้มีหมายเรียก ณ. ย่อมถือโดยปริยายว่า ณ.เป็นผู้เชี่ยวชาญที่ศาลแต่งตั้งตาม ป.วิ.พ. มาตรา 99 แล้ว ศาลไม่จำเป็นต้องมีคำสั่งแต่งตั้ง ณ.เป็นผู้เชี่ยวชาญซ้ำซ้อนอีก และการแต่งตั้งผู้เชี่ยวชาญดังกล่าวอยู่ในดุลพินิจของศาลที่จะแต่งตั้งได้โดยไม่จำเป็นต้องเรียกคู่ความมาตกลงให้กำหนดตัวผู้เชี่ยวชาญตามมาตรา 129 (1)
ณ.เป็นผู้เชี่ยวชาญที่ศาลแต่งตั้ง จึงมีสิทธิแสดงความเห็นเป็นหนังสือเมื่อเป็นที่พอใจของศาลและไม่มีคู่ความฝ่ายใดเรียกร้องให้ ณ.มาศาลเพื่ออธิบายด้วยวาจาตาม ป.วิ.พ.มาตรา 130 ความเห็นเป็นหนังสือของ ณ.ย่อมรับฟังได้
จำเลยที่ 3 รับจ้างจำเลยที่ 1 เป็นผู้ควบคุมดูแลการขุดเจาะลงเสาเข็มของจำเลยที่ 2 ซึ่งรับจ้างจำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 3 ตกลงทำสัญญากับจำเลยที่ 1 ว่า จะควบคุมให้มีวิธีการก่อสร้างที่ปลอดภัยและไม่มีมลภาวะแก่บริเวณก่อสร้างหรือบริเวณข้างเคียง เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 2 ได้ขุดเจาะลงเสาเข็มเป็นเหตุให้ทาวน์เฮาส์ของโจทก์เสียหายโดยนอกเหนือการควบคุมของจำเลยที่ 3แม้จำเลยที่ 3 จะควบคุมการก่อสร้างให้ถูกต้องตามแบบแปลนที่ได้รับอนุญาตตลอดจนควบคุมการใช้เครื่องมือเครื่องจักรให้ถูกต้องตรงตามมาตรฐานที่ใช้กันทั่วไปก็ตามแต่ความเสียหายของทาวน์เฮาส์ของโจทก์เกิดจากการขุดเจาะลงเสาเข็มที่จำเลยที่ 2กระทำ โดยจำเลยที่ 3 ควบคุม ย่อมแสดงว่ามาตรฐานทั่วไปที่จำเลยที่ 3 อ้างใช้ในการขุดเจาะลงเสาเข็มนั้น ไม่สามารถนำมาใช้ขุดเจาะลงเสาเข็มเพื่อสร้างตึกสูง42 ชั้น และห้องใต้ดิน 2 ชั้น ได้ ซึ่งจำเลยที่ 3 ในฐานะผู้ควบคุมต้องใช้ความระมัดระวังในส่วนนี้ แต่จำเลยที่ 3 ยังควบคุมให้ขุดเจาะลงเสาเข็มโดยจำเลยที่ 3ไม่ได้ควบคุมให้มีวิธีการก่อสร้างที่ปลอดภัย ถือได้ว่าจำเลยที่ 3 กระทำโดยประมาทเลินเล่อแล้ว โดยโจทก์ไม่จำต้องนำสืบว่าจำเลยที่ 3 ละเลยต่อหน้าที่ในการควบคุมหรือไม่ จำเลยที่ 3 ย่อมต้องรับผิดร่วมกับจำเลยที่ 1 และที่ 2 ด้วย
จำเลยได้กระทำละเมิดต่อโจทก์ เป็นเหตุให้ห้องครัวของโจทก์เสียหายตั้งแต่ปลายปี พ.ศ.2534 และโจทก์รู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าเสียหายในเวลาเดียวกัน ซึ่งนับถึงวันฟ้องพ้นกำหนดปีหนึ่งแล้ว แต่เมื่อจำเลยที่ 2 ยังคงดำเนินการขุดเจาะลงเสาเข็มซึ่งเป็นมูลเหตุของการทำละเมิดต่อไปจนถึงความเสียหายอันเกิดจากการกระทำละเมิดของจำเลยที่ 2 นั้น ย่อมจะต้องเกิดเพิ่มขึ้นอีกในทรัพย์อันเดียวกันตรงส่วนที่ได้รับความเสียหายเดิมจากการกระทำละเมิดของจำเลยที่ 2 ในช่วงแรก และส่วนที่เสียหายใหม่จากการกระทำละเมิดในช่วงหลังความเสียหายดังกล่าวนี้ย่อมไม่อาจแยกแยะได้ว่า ช่วงเวลาใดจำเลยที่ 2 ทำละเมิดต่อโจทก์ เสียหายเป็นจำนวนมากน้อยเพียงใด เมื่อความเสียหายดังกล่าวเกี่ยวพันสืบเนื่องกันตลอดเวลาที่จำเลยที่ 2 ยังคงขุดเจาะลงเสาเข็มอยู่ เมื่อนับอายุความหนึ่งปีนับแต่วันสุดท้ายที่จำเลยที่ 2 ยังทำละเมิดอยู่คือวันที่ 21 มีนาคม 2535 เป็นวันที่โจทก์รู้ถึงการละเมิด ซึ่งยังไม่พ้นกำหนดอายุความหนึ่งปีนับแต่โจทก์ได้ฟ้องคดีคดีโจทก์จึงยังไม่ขาดอายุความ
ปัญหาว่า จำเลยที่ 3 มีสิทธิขอหักเงินส่วนที่จำเลยที่ 1 และที่ 2ได้ตกลงชดใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์หลังจากศาลชั้นต้นได้มีคำพิพากษาแล้วหรือไม่เป็นปัญหาข้อเท็จจริงและเป็นข้อกฎหมายที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาโดยชอบในศาลชั้นต้นจึงต้องห้ามฎีกาตาม ป.วิ.พ.มาตรา 249 แต่ปัญหาว่าจำเลยที่ 3 จะมีสิทธิหักหนี้ดังกล่าวได้หรือไม่เป็นเรื่องขอหักกันในชั้นบังคับคดีต่อไป
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 329, ม. 348, ม. 428, ม. 448
ป.วิ.พ. ม. 87, ม. 88, ม. 99, ม. 129 (1), ม. 130, ม. 249, ม. 276


3. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2480/2517
หนี้ที่โจทก์ฟ้องเกิดจากการที่จำเลยซื้อข้าวโพดและโจทก์ได้มอบข้าวโพดให้จำเลยไปแล้ว กรณีเช่นนี้ไม่มีกฎหมายบังคับว่าต้องมีหนังสือมาแสดง โจทก์จึงนำพยานบุคคลมาสืบเพิ่มเติมได้ไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94
โจทก์เป็นผู้ประกอบกสิกรรมเรียกร้องเอาค่าข้าวโพดอันเป็น ผลิตผลแห่งกสิกรรมจึงมีอายุความ 5 ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 165 วรรคท้าย (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 807-808/2510)
จำเลยชำระค่าเช่าซื้องวดรถแทรกเตอร์แทนโจทก์โดยในขณะนั้นหนี้ค่าข้าวโพดของโจทก์ที่มีต่อจำเลยยังไม่ขาดอายุความ ถ้าโจทก์จะนำหนี้ค่าข้าวโพดมาหักกลบลบกับหนี้ค่าเช่าซื้องวดรถแทรกเตอร์ซึ่งจำเลยมีต่อโจทก์ย่อมทำได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 344 และเมื่อโจทก์ขอหักกลบลบหนี้ ก็ต้องหักกลบลบหนี้กับหนี้ค่าข้าวโพดที่เก่าที่สุด ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 348
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 165, ม. 328, ม. 341, ม. 344, ม. 348, ม. 456
ป.วิ.พ. ม. 94
 

ข้อจำกัดความรับผิดชอบ: ข้อมูลเหล่านี้อาจไม่ใช่เวอร์ชันล่าสุด รัฐบาลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอาจมีข้อมูลที่เป็นปัจจุบันหรือแม่นยำกว่า เราไม่รับประกันหรือรับประกันเกี่ยวกับความถูกต้อง ความสมบูรณ์ หรือความเพียงพอของข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้หรือข้อมูลที่เชื่อมโยงกับเว็บไซต์ของรัฐ โปรดตรวจสอบแหล่งที่มาอย่างเป็นทางการ
ข้อมูลอ้างอิงจากเว็บไซต์ : www.krisdika.go.th, deka.supremecourt.or.th
แนะนำโดย Legardy
cta
ปรึกษาทนายได้ตลอด 24 ชม.
เพียงกดปุ่ม ปรึกษาได้ทันที