Banner blog website.png
เผยแพร่เมื่อ: 2023-05-30

มาตรา 346 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

“มาตรา 346 หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 346” คืออะไร? 


“มาตรา 346” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 346 “ คือ หนึ่งในมาตราของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ 
ซึ่งบัญญัติไว้ว่า “ สิทธิเรียกร้องรายใดตามกฎหมายศาลจะสั่งยึดมิได้ สิทธิเรียกร้องรายนั้นหาอาจจะเอาไปหักกลบลบหนี้ได้ไม่ “

 


3 ตัวอย่างจริงของการใช้” มาตรา 346” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 346 ” ในประเทศไทย


1. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5954/2550
โจทก์เคยเป็นสมาชิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ต่อมาโจทก์ลาออกจากการเป็นสมาชิกกองทุนโดยไม่ได้ลาออกจากงานกองทุนได้จ่ายเงินสะสมและผลประโยชน์ของเงินสะสมให้โจทก์แล้ว และได้จ่ายเงินสมทบและผลประโยชน์ของเงินสมทบจำนวน 531,702.57 บาท ให้แก่จำเลยไว้จึงเป็นกรณีที่โจทก์ลาออกจากกองทุนโดยไม่ได้ลาออกจากงานตามข้อบังคับกองทุนฯ ข้อ 37 วรรคหนึ่ง (7) เงินสมทบและผลประโยชน์ของเงินสมทบดังกล่าวจึงเป็นเงินที่จำเลยต้องเก็บรักษาไว้แทนผู้จัดการกองทุนเพื่อจ่ายให้แก่โจทก์เมื่อพ้นจากตำแหน่งในการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย และโจทก์มีสิทธิได้รับเงินสมทบ ดังนั้น เมื่อโจทก์ลาออกจากงานด้วยความยินดีของทั้งสองฝ่าย โจทก์จึงมีสิทธิจะได้รับเงินสมทบ เงินดังกล่าวจึงยังมีสภาพเป็นเงินสมทบและผลประโยชน์ของเงินสมทบจากกองทุน มิได้กลับมาเป็นของจำเลยแต่อย่างใด สิทธิเรียกร้องเงินดังกล่าวไม่อาจโอนกันได้ตาม พ.ร.บ.กองทุนสำรองเลี้ยงชีพฯ มาตรา 23, 24 และไม่อาจนำไปหักกลบลบหนี้ได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 346
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 346
พ.ร.บ.กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ พ.ศ.2530 ม. 23, ม. 24


2. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3765/2545
จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้จัดการกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ได้จ่ายเงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพแก่ธนาคารจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 1 ได้นำเข้าบัญชีเงินฝากออมทรัพย์ของโจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 1 เงินจำนวนดังกล่าวทั้งหมดแม้จะอยู่ในบัญชีเงินฝากของโจทก์ซึ่งถือว่าเป็นทรัพย์สินของโจทก์แล้ว แต่ก็ยังจำแนกได้ว่าเงินจำนวนใดเป็นเงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพอยู่ มิได้ปะปนกับเงินอื่นของโจทก์จนไม่อาจแยกออกได้หรือได้ใช้สอยแปรเปลี่ยนไปเป็นทรัพย์สินอื่นแล้ว ดังนั้น การที่จำเลยที่ 1 หักเงินจำนวน 47,647.22บาท ซึ่งเป็นส่วนของเงินสมทบและผลประโยชน์ของเงินสมทบอันเป็นส่วนหนึ่งของเงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพของโจทก์จากบัญชีเงินฝากของโจทก์เพื่อชำระหนี้จำเลยที่ 1จึงขัดต่อเจตนารมณ์ของพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ พ.ศ. 2530 มาตรา 23,24 และยังเป็นการขัดต่อประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 346 จำเลยที่ 1จึงต้องคืนเงินที่หักไว้แก่โจทก์
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 346
พ.ร.บ.กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ พ.ศ.2530 ม. 23, ม. 24


3. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3765/2545
พระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพฯ มาตรา 23 และ 24 มีเจตนารมณ์ให้สมาชิกของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพได้รับเงินจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพทั้งหมดคราวเดียวโดยเร็วอย่างช้าไม่เกิน 30 วัน เพื่อนำไปเลี้ยงดูชีวิตตนเองและครอบครัว โดยไม่ถูกโอนหรือถูกบังคับคดีหรือถูกบังคับชำระหนี้ การที่จำเลยที่ 2 จ่ายเงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพแก่จำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 1 นำเข้าบัญชีเงินฝากออมทรัพย์ของโจทก์ ซึ่งแม้เงินดังกล่าวจะถือว่าเป็นทรัพย์สินของโจทก์แล้ว แต่ก็ยังจำแนกได้ว่าเงินจำนวนใดเป็นเงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพอยู่มิได้ปะปนกับเงินอื่นของโจทก์ จนไม่อาจแยกออกได้หรือได้ใช้สอยแปรเปลี่ยนเป็นทรัพย์สินอื่นแล้ว ดังนั้น การที่จำเลยที่ 1 หักเงินสมทบและผลประโยชน์ของเงินสมทบอันเป็นส่วนหนึ่งของเงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพออกจากบัญชีเงินฝากออมทรัพย์ของโจทก์เพื่อชำระหนี้จำเลยที่ 1 จึงเป็นการขัดต่อเจตนารมณ์ของบทบัญญัติดังกล่าว และยังขัดต่อประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 346 ที่กำหนดว่าสิทธิเรียกร้องรายใดตามกฎหมายศาลจะสั่งยึดไม่ได้ สิทธิเรียกร้องนั้นจะนำไปหักกลบลบหนี้ไม่ได้ด้วย จำเลยที่ 1 จึงต้องคืนเงินจำนวนที่หักไว้ให้แก่โจทก์
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 346
พ.ร.บ.กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ พ.ศ.2530 ม. 23, ม. 24
 

ข้อจำกัดความรับผิดชอบ: ข้อมูลเหล่านี้อาจไม่ใช่เวอร์ชันล่าสุด รัฐบาลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอาจมีข้อมูลที่เป็นปัจจุบันหรือแม่นยำกว่า เราไม่รับประกันหรือรับประกันเกี่ยวกับความถูกต้อง ความสมบูรณ์ หรือความเพียงพอของข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้หรือข้อมูลที่เชื่อมโยงกับเว็บไซต์ของรัฐ โปรดตรวจสอบแหล่งที่มาอย่างเป็นทางการ
ข้อมูลอ้างอิงจากเว็บไซต์ : www.krisdika.go.th, deka.supremecourt.or.th
แนะนำโดย Legardy
cta
ปรึกษาทนายได้ตลอด 24 ชม.
เพียงกดปุ่ม ปรึกษาได้ทันที