Banner blog website.png
เผยแพร่เมื่อ: 2023-05-30

มาตรา 343 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

“มาตรา 343 หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 343” คืออะไร? 


“มาตรา 343” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 343 “ คือ หนึ่งในมาตราของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ 
ซึ่งบัญญัติไว้ว่า “ การหักกลบลบหนี้นั้น ถึงแม้ว่าสถานที่ซึ่งจะต้องชำระหนี้ทั้งสองจะต่างกัน ก็หักกันได้ แต่ฝ่ายผู้ขอหักหนี้จะต้องใช้ค่าเสียหายให้แก่อีกฝ่ายหนึ่ง เพื่อความเสียหายอย่างหนึ่งอย่างใดอันเกิดแต่การนั้น “
มาตรา 344 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
“มาตรา 344 หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 344” คืออะไร? 
“มาตรา 344” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 344 “ คือ หนึ่งในมาตราของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ 
ซึ่งบัญญัติไว้ว่า “ สิทธิเรียกร้องใดยังมีข้อต่อสู้อยู่ สิทธิเรียกร้องนั้นท่านว่าหาอาจจะเอามาหักกลบลบหนี้ได้ไม่ อนึ่ง อายุความย่อมไม่ตัดรอนการหักกลบลบหนี้ แม้สิทธิเรียกร้องขาดอายุความแล้ว แต่ว่าในเวลาที่อาจจะหักกลบลบกับสิทธิเรียกร้องฝ่ายอื่นได้นั้น สิทธิยังไม่ขาด “

 


3 ตัวอย่างจริงของการใช้” มาตรา 344” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 344 ” ในประเทศไทย


1. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12164/2558
ข้อเท็จจริงฟังได้ว่าเมื่อวันที่ 18 สิงหาคม 2543 จำเลยยื่นคำขอรับชำระหนี้ในการฟื้นฟูกิจการของบริษัท พ. (เจ้าหนี้รายที่ 131) จำนวน 5,067,601,483.97 บาท ผู้ทำแผนของบริษัท พ. โต้แย้งคำขอรับชำระหนี้ดังกล่าว ต่อมาจำเลยขอถอนคำขอรับชำระหนี้บางส่วนคงเหลือหนี้ที่ขอรับชำระหนี้ในการฟื้นฟูกิจการของบริษัท พ. จำนวน 1,589,191,974.13 บาท ต่อมาวันที่ 5 และ 30 กันยายน 2544 ผู้บริหารแผนของจำเลยมีหนังสือถึงบริษัท พ. เพื่อขอหักกลบลบหนี้ตามคำขอรับชำระหนี้ของบริษัท พ. เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีคำสั่งยกคำร้อง จำเลยอุทธรณ์ต่อศาลฎีกา ศาลฎีกาวินิจฉัยว่าสิทธิเรียกร้องของจำเลยในหนี้ดังกล่าวยังมีข้อต่อสู้อยู่เนื่องจากบริษัท พ. โต้แย้งคำขอรับชำระหนี้ของจำเลยและยังอยู่ในระหว่างการดำเนินการตามขั้นตอนของ พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 จึงไม่อาจจะเอามาหักกลบลบหนี้ได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 344 ต่อมาเมื่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีคำสั่งให้จำเลยได้รับชำระหนี้ในการฟื้นฟูกิจการของบริษัท พ. ในมูลหนี้ค่าก่อสร้างค้างจ่ายและเงินทดรองจ่ายค้างจ่าย การคืนเงินค้ำประกันและมัดจำต่าง ๆ เงินชดเชยความเสียหายตามสัญญารับจ้างช่วงลงวันที่ 1 ตุลาคม 2552 เป็นเงินทั้งสิ้น 1,389,191,974.13 บาท พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ของต้นเงิน 1,388,831,921.18 บาท นับแต่วันถัดจากวันที่ศาลมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้เป็นต้นไปจนกว่าชำระเสร็จ หนี้ของจำเลยจึงไม่มีข้อต่อสู้แล้ว ดังนั้น เมื่อผู้บริหารแผนของจำเลยมีหนังสือลงวันที่ 16 มีนาคม 2547 ถึงผู้บริหารแผนของบริษัท พ. เพื่อขอหักกลบลบหนี้อีกครั้ง การแสดงเจตนาดังกล่าวจึงมีผลย้อนหลังขึ้นไปจนถึงเวลาซึ่งหนี้ทั้งสองฝ่ายจะอาจหักกลบลบกันได้เป็นครั้งแรก ซึ่งคือ วันที่ 5 และ 30 กันยายน 2544 อันเป็นเวลาก่อนที่ศาลฎีกามีคำพิพากษากลับคำสั่งศาลล้มละลายกลางเมื่อวันที่ 2 สิงหาคม 2545 เป็นเห็นชอบด้วยแผนฟื้นฟูกิจการของบริษัท พ. ทั้งสิทธิเรียกร้องของจำเลยและบริษัท พ. ต่างเกิดก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการของบริษัท พ. (วันที่ 12 มิถุนายน 2543) ผู้บริหารแผนของจำเลยจึงชอบที่จะใช้สิทธิหักกลบลบหนี้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 90/33 ได้ ดังนั้น มูลหนี้ของบริษัท พ. จึงหมดสิ้นไปตั้งแต่วันที่แจ้งหักกลบลบหนี้ครั้งแรก เมื่อบริษัท พ. ได้รับชำระหนี้ในการฟื้นฟูกิจการของจำเลยโดยการหักกลบลบหนี้ไปแล้ว บริษัท พ. จึงไม่มีสิทธิเรียกร้องตามมูลหนี้ดังกล่าวที่จะทำสัญญาซื้อขายในวันที่ 31 ตุลาคม 2548 และโอนสิทธิเรียกร้องนั้นให้แก่โจทก์ต่อไป การที่จำเลยใช้สิทธิหักกลบลบหนี้ในการชำระหนี้ตามแผนฟื้นฟูกิจการให้แก่บริษัท พ. จึงชอบแล้ว
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 344
พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 ม. 90/33


2. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7001/2557
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยคืนเงินค่าสินค้าที่โจทก์ชำระไป เนื่องจากจำเลยไม่ส่งมอบสินค้าให้แก่โจทก์ตามสัญญา จำเลยอ้างว่าโจทก์มีหนี้ค่าเสียหายที่ต้องรับผิดต่อจำเลย จากการไม่ชำระค่าสินค้าและรับมอบสินค้าทั้งหมดภายในกำหนด แต่โจทก์ปฏิเสธความรับผิด เช่นนี้ถือว่าหนี้ค่าเสียหายหรือสิทธิเรียกร้องดังกล่าวยังมีข้อต่อสู้อยู่ จำเลยมิได้ฟ้องแย้งเพื่อให้ได้ข้อยุติว่า โจทก์จะต้องรับผิดต่อจำเลยหรือไม่ เพียงใด จำเลยจึงนำหนี้ค่าเสียหายหรือสิทธิเรียกร้องดังกล่าว ซึ่งจำเลยอ้างเพียงฝ่ายเดียวมาหักกลบลบหนี้กับเงินค่าสินค้าของโจทก์ไม่ได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 344
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 344
ป.วิ.พ. ม. 177 วรรคสาม


3. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 20953/2556
คดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยทั้งสามรับผิดเฉพาะค่าเสียหายจากการปฏิบัติหน้าที่บกพร่องในการตรวจรับมอบงานงวดที่ 1 ถึงที่ 4 ส่วนคดีที่ศาลจังหวัดนครสวรรค์พิพากษาให้บริษัท พ. รับผิดต่อโจทก์ในคดีนี้ไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้รับชำระหนี้ดังกล่าวแล้วหรือไม่ อย่างไร การที่ศาลแรงงานภาค 6 ให้นำค่าเสียหายที่ศาลจังหวัดนครสวรรค์พิพากษาให้บริษัท พ. รับผิดต่อโจทก์มาหักกับค่าเสียหายที่จำเลยทั้งสามต้องรับผิดในคดีนี้จึงไม่ชอบ แต่การที่ศาลจังหวัดนครสวรรค์พิพากษาให้บริษัท พ. รับผิดต่อโจทก์ เนื่องจากการก่อสร้างผิดแบบแปลนเป็นมูลกรณีสืบเนื่องมาจากจำเลยทั้งสามปฏิบัติหน้าที่บกพร่องในการตรวจรับมอบงานเป็นเหตุให้โจทก์เสียหาย ดังนั้นหากโจทก์ได้รับชดใช้ค่าเสียหายจากบริษัท พ. แล้วเพียงใดก็ย่อมทำให้ความรับผิดที่จำเลยทั้งสามต้องรับผิดต่อโจทก์ในคดีนี้ลดลงตามไปด้วย
คดีของศาลแรงงานกลางมีประเด็นข้อพิพาทว่าจำเลย (โจทก์คดีนี้) มีสิทธิหักเงินที่จำเลยอ้างว่าโจทก์ (จำเลยที่ 1 คดีนี้) ก่อให้เกิดความเสียหายเนื่องจากโจทก์ปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการตรวจรับงานจ้างบกพร่องจากเงินบำเหน็จที่จำเลยจะต้องจ่ายให้โจทก์เมื่อโจทก์เกษียณอายุหรือไม่ แล้ววินิจฉัยว่าจำเลยหักเงินบำเหน็จได้ แต่ค่าเสียหายที่จำเลยนำมาหักจากเงินบำเหน็จของโจทก์ซึ่งเป็นการหักกลบลบหนี้เป็นหนี้ที่จำเลยยังไม่ได้ฟ้องบริษัท พ. ให้รับผิดตามสัญญาจ้าง เป็นหนี้ที่ยังมีข้อโต้แย้งและจำนวนเงินยังไม่แน่นอน จำเลยจึงไม่มีสิทธิหักเงินบำเหน็จของโจทก์ไว้ ศาลฎีกาพิพากษายืน คดีดังกล่าวศาลไม่ได้วินิจฉัยว่าจำเลยที่ 1 ปฏิบัติหน้าที่บกพร่องต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายจากการก่อสร้างไม่ถูกแบบให้โจทก์ โจทก์จึงฟ้องให้จำเลยที่ 1 ชดใช้ค่าเสียหายจากการก่อสร้างไม่ถูกแบบเนื่องจากจำเลยที่ 1 ปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการตรวจรับงานจ้างบกพร่องได้
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 344
ป.วิ.พ. ม. 148
พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 ม. 31
 

ข้อจำกัดความรับผิดชอบ: ข้อมูลเหล่านี้อาจไม่ใช่เวอร์ชันล่าสุด รัฐบาลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอาจมีข้อมูลที่เป็นปัจจุบันหรือแม่นยำกว่า เราไม่รับประกันหรือรับประกันเกี่ยวกับความถูกต้อง ความสมบูรณ์ หรือความเพียงพอของข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้หรือข้อมูลที่เชื่อมโยงกับเว็บไซต์ของรัฐ โปรดตรวจสอบแหล่งที่มาอย่างเป็นทางการ
ข้อมูลอ้างอิงจากเว็บไซต์ : www.krisdika.go.th, deka.supremecourt.or.th
แนะนำโดย Legardy
cta
ปรึกษาทนายได้ตลอด 24 ชม.
เพียงกดปุ่ม ปรึกษาได้ทันที