Banner blog website.png
เผยแพร่เมื่อ: 2023-05-30

มาตรา 338 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

“มาตรา 338 หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 338” คืออะไร? 


“มาตรา 338” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 338 “ คือ หนึ่งในมาตราของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ 
ซึ่งบัญญัติไว้ว่า “ ค่าฤชาธรรมเนียมในการวางทรัพย์หรือขายทอดตลาดนั้น ให้ฝ่ายเจ้าหนี้เป็นผู้ออก เว้นแต่ลูกหนี้จะได้ถอนทรัพย์ที่วาง “

 


2 ตัวอย่างจริงของการใช้” มาตรา 338” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 338 ” ในประเทศไทย


1. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3564/2543
คำว่า ส่งทรัพย์สินที่เช่าตามถ้อยคำในมาตรา 563 ป.พ.พ. มิได้ให้คำจำกัดความไว้ และการส่งคืนทรัพย์สิน ที่เช่าตามมาตราดังกล่าว กฎหมายก็มิได้บัญญัติไว้ให้เกี่ยวเนื่องหรือเกี่ยวข้องกับสัญญาเช่าสิ้นสุดหรือการบอกเลิกสัญญาเช่าและตามความในมาตรา 564 ถึงมาตรา 571 (ความระงับแห่งสัญญาเช่า) ก็ไม่ได้บัญญัติไว้โดยเฉพาะว่า ถ้าได้มีการส่งคืนทรัพย์สินที่เช่าแล้วให้ถือว่าสัญญาเช่าสิ้นสุด ฉะนั้นอายุความ 6 เดือน ตามมาตรา 563 จึงต้องเป็นเรื่องการส่งคืนทรัพย์ที่เช่าเพียงอย่างเดียวโดยไม่ต้องคำนึงถึงสัญญาเช่าสิ้นสุดหรือการบอกเลิกสัญญาเช่า
จำเลยได้ติดต่อขอเช่าและทำสัญญาเช่าอุปกรณ์ป้องกันสายไฟฟ้าแรงสูง (ไลน์การ์ด) จากโจทก์จำนวน 43 ชุด โจทก์ได้ให้พนักงานนำอุปกรณ์ดังกล่าวไปติดตั้งให้จำเลยเป็นที่เรียบร้อย หลังจากนั้นจำเลยก็ได้รับประโยชน์หรือ ถือว่าได้ใช้อุปกรณ์ที่เช่าดังกล่าวตลอดมา ในระหว่างอายุสัญญาเช่าได้เกิดฝนตกหนักทำให้ไฟฟ้าลัดวงจรเป็นเหตุให้เกิดเพลิงไหม้ในบริเวณที่อุปกรณ์ป้องกันสายไฟฟ้าแรงสูง (ไลน์การ์ด) ติดตั้งอยู่ ทำให้อุปกรณ์ดังกล่าวได้รับความเสียหาย 23 ชุด คิดเป็นเงิน 197,780 บาท การที่พนักงานของโจทก์ไปทำการรื้อถอนและเก็บอุปกรณ์ดังกล่าวคืนมานั้นหากไม่มีความชำนาญจะติดตั้งอุปกรณ์ไลน์การ์ดไม่ได้ เพราะไม่มีการดับไฟฟ้าแรงสูง ดังนั้นการที่พนักงานของโจทก์ไป รื้อถอนอุปกรณ์ดังกล่าวและเก็บเอามาทั้งหมดด้วยความยินยอมของจำเลยตั้งแต่วันที่ 30 ตุลาคม 2535 และต่อมาโจทก์เรียกร้องให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหายอุปกรณ์ที่ชำรุดเสียหายบางส่วนจำนวน 23 ชุด พฤติการณ์จึงพอถือได้ว่าได้มีการ ส่งคืนหรือทำให้กลับคืนสู่สภาพเดิมตามความหมายทั่ว ๆ ไปแล้วตั้งแต่วันที่ 30 ตุลาคม 2535 การที่โจทก์นำคดีมาฟ้องเมื่อพ้นกำหนด 6 เดือน คดีโจทก์จึงขาดอายุความซึ่งไม่พักต้องคำนึงถึงว่าผู้ว่าการของโจทก์จะได้รับรู้หรือไม่อย่างไร เพราะมาตรา 563 มิได้บัญญัติถึงการรับรู้ของผู้เสียหายไว้ด้วยดังเช่น มาตรา 448 วรรคหนึ่ง
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 338, ม. 563


2. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 564/2488
ฟ้องกล่าวว่าจำเลยเคยต้องคำพิพากษาปรับ 22 บาท ฐานวิวาททำร้ายร่างกาย จำเลยพ้นโทษไม่เกิน 5 ปี มากระทำผิดในคดีนี้ไม่เข็ดหลาบ แม้จำเลยจะให้การรับสารภาพ ก็เพิ่มโทษตาม ม.72 ไม่ได้ เพราะอาจเป็นคดีลหุโทษก็ได้
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. , ม. 258, ม. 335, , ม. 338 (3)
ป.วิ.อ. ม. 176, ม. 192
 

ข้อจำกัดความรับผิดชอบ: ข้อมูลเหล่านี้อาจไม่ใช่เวอร์ชันล่าสุด รัฐบาลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอาจมีข้อมูลที่เป็นปัจจุบันหรือแม่นยำกว่า เราไม่รับประกันหรือรับประกันเกี่ยวกับความถูกต้อง ความสมบูรณ์ หรือความเพียงพอของข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้หรือข้อมูลที่เชื่อมโยงกับเว็บไซต์ของรัฐ โปรดตรวจสอบแหล่งที่มาอย่างเป็นทางการ
ข้อมูลอ้างอิงจากเว็บไซต์ : www.krisdika.go.th, deka.supremecourt.or.th
แนะนำโดย Legardy
cta
ปรึกษาทนายได้ตลอด 24 ชม.
เพียงกดปุ่ม ปรึกษาได้ทันที