Banner blog website.png
เผยแพร่เมื่อ: 2023-05-30

มาตรา 335 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

“มาตรา 335 หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 335” คืออะไร? 


“มาตรา 335 หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 335 “ คือ หนึ่งในมาตราของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ 
ซึ่งบัญญัติไว้ว่า “ สิทธิถอนทรัพย์นั้น ตามกฎหมายศาลจะสั่งยึดหาได้ไม่ เมื่อได้ฟ้องคดีล้มละลายเกี่ยวกับทรัพย์สินของลูกหนี้แล้ว ท่านห้ามมิให้ใช้สิทธิถอนทรัพย์ในระหว่างพิจารณาคดีล้มละลาย “

 


3 ตัวอย่างจริงของการใช้” มาตรา 335” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 335 ” ในประเทศไทย


1. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7024/2544
การวางเงินของจำเลยต่อศาลชั้นต้นเพื่อบรรเทาผลร้ายและจำเลยประสงค์ให้ศาลใช้เป็นดุลพินิจในการลงโทษจำเลยสถานเบา ซึ่งศาลชั้นต้นได้นำเรื่องดังกล่าวมาเป็นเหตุบรรเทาโทษให้จำเลย ทั้งการวางเงินเพื่อให้ผู้เสียหายมารับไปย่อมแสดงอยู่ในตัวแล้วว่า จำเลยจะไม่ถอนเงินดังกล่าวกลับไป หากผู้เสียหายยังประสงค์จะรับเงินนั้น การที่ครั้งแรก ผู้เสียหายยังไม่ยอมรับเงินเนื่องจากเห็นว่าเป็นจำนวนที่น้อยเกินไป มิใช่ผู้เสียหายไม่ประสงค์จะเรียกค่าเสียหายหรือไม่ประสงค์รับเงินที่จำเลยนำมาวางศาลเสียทีเดียว จำเลยไปขอรับเงินคืนภายหลังศาลชั้นต้นมีคำพิพากษา ศาลชั้นต้นจึงมีอำนาจเรียกผู้เสียหายมาสอบถาม เมื่อผู้เสียหายแถลงว่าประสงค์จะรับเงินจำเลยจึงไม่อาจถอนเงินจำนวนดังกล่าวได้
จำเลยเป็นผู้ขอวางเงินชดใช้ค่าเสียหายต่อศาลชั้นต้นโดยประสงค์ให้ศาลใช้เป็นดุลพินิจในการวางโทษจำเลยสถานเบา การวางเงินเพื่อชดใช้ค่าเสียหายต่อศาล จึงเป็นเรื่องที่เกี่ยวพันโดยตรงกับคดี ศาลชั้นต้นย่อมมีอำนาจที่จะสั่งเกี่ยวกับเงินจำนวนดังกล่าวได้ ไม่ต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 331, ม. 333, ม. 334, ม. 335
ป.วิ.อ. ม. 15, ม. 40, ม. 192
ป.วิ.พ. ม. 135, ม. 136


2. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1713/2543
เมื่อลูกหนี้ขอปฏิบัติการชำระหนี้โดยชอบแล้ว เจ้าหนี้ไม่ยอมรับชำระหนี้เพื่อเป็นการปลดเปลื้องไม่ให้ลูกหนี้ต้องได้รับความเสียหายกฎหมายอนุญาตให้ผู้ชำระหนี้วางทรัพย์อันเป็นวัตถุแห่งหนี้เพื่อประโยชน์แก่เจ้าหนี้ และเมื่อวางทรัพย์แล้วย่อมหลุดพ้นจากหนี้ โดยลูกหนี้ไม่ต้องรับผิดต่อเจ้าหนี้ต่อไปอีกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 334 และ 335 แสดงว่า ลูกหนี้เท่านั้นมีสิทธิถอนทรัพย์ที่วางได้เมื่อจำเลยที่ 2 วางเงินเพื่อชำระหนี้แก่โจทก์ในอีกคดีหนึ่งและไม่ใช้สิทธิถอนทรัพย์เจ้าหนี้ในคดีอื่นจะยึดหรืออายัดเงินที่จำเลยที่ 2 วางเพื่อไปชำระหนี้รายอื่นไม่ได้และเมื่อการอายัดต้องห้ามตามกฎหมาย ถือไม่ได้ว่าเป็นการอายัดเงินแล้วไม่มีการจำหน่าย จึงเรียกค่าธรรมเนียมเจ้าพนักงานบังคับคดีมิได้
คำร้องอ้างว่าการอายัดไม่ชอบและขอให้ถอนการอายัด เป็นคดีมีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 334, ม. 335
ป.วิ.พ. ม. ตาราง 1, ม. ตาราง 5


3. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1713/2543
เมื่อวางทรัพย์แล้ว ป.พ.พ.มาตรา 334 บัญญัติว่า ลูกหนี้มีสิทธิจะถอนทรัพย์ที่วางนั้นได้ และมาตรา 335 บัญญัติว่า สิทธิถอนทรัพย์นั้น ตามกฎหมายศาลจะสั่งยึดหาได้ไม่ จึงเห็นได้ว่า ลูกหนี้เท่านั้นที่มีสิทธิจะถอนทรัพย์ที่วางไว้ได้ดังนั้น เมื่อจำเลยที่ 2 วางเงินไว้เพื่อชำระหนี้แก่โจทก์ในคดีหนึ่ง และไม่ใช้สิทธิถอนทรัพย์ เจ้าหนี้ในคดีอื่นจะยึดหรืออายัดเงินที่จำเลยที่ 2 วางไว้ไปชำระหนี้รายอื่นย่อมไม่อาจทำได้ เมื่อการอายัดเป็นการต้องห้ามตามกฎหมายกรณีนี้จึงถือไม่ได้ว่าเป็นการอายัดเงินแล้วไม่มีการจำหน่ายตามที่บัญญัติไว้ในตาราง 5 ข้อ 4 ท้าย ป.วิ.พ.จึงเรียกค่าธรรมเนียมเจ้าพนักงานบังคับคดีตามข้อนี้จากโจทก์มิได้
คดีมีปัญหาตามคำร้องของจำเลยที่ 2 ว่า การอายัดไม่ชอบ และขอให้ถอนการอายัด จึงเป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 334, ม. 335
ป.วิ.พ. ม. ตาราง 1 ท้าย ป.วิ.พ., ม. ตาราง 5 ท้าย ป.วิ.พ.
 

ข้อจำกัดความรับผิดชอบ: ข้อมูลเหล่านี้อาจไม่ใช่เวอร์ชันล่าสุด รัฐบาลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอาจมีข้อมูลที่เป็นปัจจุบันหรือแม่นยำกว่า เราไม่รับประกันหรือรับประกันเกี่ยวกับความถูกต้อง ความสมบูรณ์ หรือความเพียงพอของข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้หรือข้อมูลที่เชื่อมโยงกับเว็บไซต์ของรัฐ โปรดตรวจสอบแหล่งที่มาอย่างเป็นทางการ
ข้อมูลอ้างอิงจากเว็บไซต์ : www.krisdika.go.th, deka.supremecourt.or.th
แนะนำโดย Legardy
cta
ปรึกษาทนายได้ตลอด 24 ชม.
เพียงกดปุ่ม ปรึกษาได้ทันที