Banner blog website.png
เผยแพร่เมื่อ: 2023-05-30

มาตรา 333 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

“มาตรา 333 หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 333” คืออะไร? 


“มาตรา 333” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 333 “ คือ หนึ่งในมาตราของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ 
ซึ่งบัญญัติไว้ว่า “ การวางทรัพย์นั้นต้องวาง ณ สำนักงานวางทรัพย์ประจำตำบลที่จะต้องชำระหนี้ ถ้าไม่มีบทบัญญัติแห่งกฎหมาย หรือกฎข้อบังคับเฉพาะการในเรื่องสำนักงานวางทรัพย์ เมื่อบุคคลผู้ชำระหนี้ร้องขอ ศาลจะต้องกำหนดสำนักงานวางทรัพย์ และตั้งแต่งผู้พิทักษ์ทรัพย์ที่วางนั้นขึ้น ผู้วางต้องบอกกล่าวให้เจ้าหนี้ทราบที่ได้วางทรัพย์นั้นโดยพลัน “

 


3 ตัวอย่างจริงของการใช้” มาตรา 333” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 333 ” ในประเทศไทย


1. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7024/2544
การวางเงินของจำเลยต่อศาลชั้นต้นเพื่อบรรเทาผลร้ายและจำเลยประสงค์ให้ศาลใช้เป็นดุลพินิจในการลงโทษจำเลยสถานเบา ซึ่งศาลชั้นต้นได้นำเรื่องดังกล่าวมาเป็นเหตุบรรเทาโทษให้จำเลย ทั้งการวางเงินเพื่อให้ผู้เสียหายมารับไปย่อมแสดงอยู่ในตัวแล้วว่า จำเลยจะไม่ถอนเงินดังกล่าวกลับไป หากผู้เสียหายยังประสงค์จะรับเงินนั้น การที่ครั้งแรก ผู้เสียหายยังไม่ยอมรับเงินเนื่องจากเห็นว่าเป็นจำนวนที่น้อยเกินไป มิใช่ผู้เสียหายไม่ประสงค์จะเรียกค่าเสียหายหรือไม่ประสงค์รับเงินที่จำเลยนำมาวางศาลเสียทีเดียว จำเลยไปขอรับเงินคืนภายหลังศาลชั้นต้นมีคำพิพากษา ศาลชั้นต้นจึงมีอำนาจเรียกผู้เสียหายมาสอบถาม เมื่อผู้เสียหายแถลงว่าประสงค์จะรับเงินจำเลยจึงไม่อาจถอนเงินจำนวนดังกล่าวได้
จำเลยเป็นผู้ขอวางเงินชดใช้ค่าเสียหายต่อศาลชั้นต้นโดยประสงค์ให้ศาลใช้เป็นดุลพินิจในการวางโทษจำเลยสถานเบา การวางเงินเพื่อชดใช้ค่าเสียหายต่อศาล จึงเป็นเรื่องที่เกี่ยวพันโดยตรงกับคดี ศาลชั้นต้นย่อมมีอำนาจที่จะสั่งเกี่ยวกับเงินจำนวนดังกล่าวได้ ไม่ต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 331, ม. 333, ม. 334, ม. 335
ป.วิ.อ. ม. 15, ม. 40, ม. 192
ป.วิ.พ. ม. 135, ม. 136


2. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3930/2541
คำฟ้องของโจทก์ได้บรรยายข้อเท็จจริงเกี่ยวกับที่จำเลย ปฏิบัติผิดสัญญาเช่าว่า นับแต่โจทก์ได้รับโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่เช่าตลอดจนสิทธิและหน้าที่ตามสัญญาเช่าแล้วจำเลยได้ผิดนัดไม่ชำระค่าเช่าให้แก่โจทก์ตั้งแต่เดือนกรกฎาคม2533 เป็นต้นมา อันหมายความว่า จำเลยผิดนัดไม่ชำระค่าเช่านับจากเดือนกรกฎาคม 2533 ตลอดมาจนถึงวันฟ้อง ในระหว่างเวลา ดังกล่าวแม้ทางพิจารณาจะได้ความว่าจำเลยมิได้นำเงินค่าเช่า ไปวางที่สำนักงานวางทรัพย์ตั้งแต่เดือนมีนาคม 2534 เป็นต้นมา ก็ต้องถือว่ายังอยู่ในข้อกล่าวหาของโจทก์อยู่นั่นเองส่วนรายละเอียดเกี่ยวกับวันผิดนัดจริงหากยังอยู่ในระหว่างเวลาที่โจทก์กล่าวในคำฟ้องแล้วย่อมถือไม่ได้ว่า เป็นเรื่องนอกฟ้อง จำเลยนำค่าเช่าไปชำระให้โจทก์ แต่โจทก์ไม่ยอมรับถือว่าจำเลยได้ขอปฏิบัติการชำระหนี้โดยชอบแล้ว โจทก์จะปฏิเสธไม่ยอมรับชำระหนี้หาได้ไม่ กรณีนี้ยังถือไม่ได้ว่าจำเลย ตกเป็นผู้ผิดนัด ดังนั้น การที่โจทก์ใช้สิทธิฟ้องขับไล่ และเรียกค่าเสียหายจากจำเลยเป็นคดีนี้ ถือได้ว่าโจทก์ใช้สิทธิ โดยไม่สุจริตตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 5 โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง ในคดีแพ่ง ปัญหาเรื่องการใช้สิทธิโดยไม่สุจริตเป็นปัญหาเรื่องอำนาจฟ้อง ซึ่งเป็นข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาย่อมยกขึ้นวินิจฉัยได้
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 5, ม. 204, ม. 315, ม. 324, ม. 330, ม. 333
ป.วิ.พ. ม. 55, ม. 84, ม. 142 (5), ม. 172, ม. 246, ม. 247


3. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3930/2541
คำฟ้องของโจทก์ได้บรรยายข้อเท็จจริงเกี่ยวกับที่จำเลยปฏิบัติผิดสัญญาเช่าว่า นับแต่โจทก์ได้รับโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่เช่าตลอดจนสิทธิและหน้าที่ตามสัญญาเช่าแล้ว จำเลยได้ผิดนัดไม่ชำระค่าเช่าให้แก่โจทก์ตั้งแต่เดือนกรกฎาคม2533 เป็นต้นมา อันหมายความว่า จำเลยผิดนัดไม่ชำระค่าเช่านับจากเดือนกรกฎาคม2533 ตลอดมาจนถึงวันฟ้อง ในระหว่างเวลาดังกล่าวแม้ทางพิจารณาจะได้ความว่าจำเลยมิได้นำเงินค่าเช่าไปวางที่สำนักงานวางทรัพย์ตั้งแต่เดือนมีนาคม 2534เป็นต้นมา ก็ต้องถือว่ายังอยู่ในข้อกล่าวหาของโจทก์อยู่นั่นเอง ส่วนรายละเอียดเกี่ยวกับวันผิดนัดจริงหากยังอยู่ในระหว่างเวลาที่โจทก์กล่าวในคำฟ้องแล้วย่อมถือไม่ได้ว่าเป็นเรื่องนอกฟ้อง
จำเลยนำค่าเช่าไปชำระให้โจทก์ แต่โจทก์ไม่ยอมรับ ถือว่าจำเลยได้ขอปฏิบัติการชำระหนี้โดยชอบแล้ว โจทก์จะปฏิเสธไม่ยอมรับชำระหนี้หาได้ไม่ กรณีนี้ยังถือไม่ได้ว่าจำเลยตกเป็นผู้ผิดนัด ดังนั้น การที่โจทก์ใช้สิทธิฟ้องขับไล่และเรียกค่าเสียหายจากจำเลยเป็นคดีนี้ ถือได้ว่าโจทก์ใช้สิทธิโดยไม่สุจริตตาม ป.พ.พ.มาตรา 5 โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
ในคดีแพ่ง ปัญหาเรื่องการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต เป็นปัญหาเรื่องอำนาจฟ้อง ซึ่งเป็นข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาย่อมยกขึ้นวินิจฉัยได้
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 5, ม. 204, ม. 315, ม. 324, ม. 330, ม. 333
ป.วิ.พ. ม. 55, ม. 84, ม. 142 (5), ม. 172, ม. 246, ม. 247
 

ข้อจำกัดความรับผิดชอบ: ข้อมูลเหล่านี้อาจไม่ใช่เวอร์ชันล่าสุด รัฐบาลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอาจมีข้อมูลที่เป็นปัจจุบันหรือแม่นยำกว่า เราไม่รับประกันหรือรับประกันเกี่ยวกับความถูกต้อง ความสมบูรณ์ หรือความเพียงพอของข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้หรือข้อมูลที่เชื่อมโยงกับเว็บไซต์ของรัฐ โปรดตรวจสอบแหล่งที่มาอย่างเป็นทางการ
ข้อมูลอ้างอิงจากเว็บไซต์ : www.krisdika.go.th, deka.supremecourt.or.th
แนะนำโดย Legardy
cta
ปรึกษาทนายได้ตลอด 24 ชม.
เพียงกดปุ่ม ปรึกษาได้ทันที