Banner blog website.png
เผยแพร่เมื่อ: 2023-05-30

มาตรา 326 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

“มาตรา 326 หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 326” คืออะไร? 


“มาตรา 326” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 326 “ คือ หนึ่งในมาตราของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ 
ซึ่งบัญญัติไว้ว่า “ บุคคลผู้ชำระหนี้ชอบที่จะได้รับใบเสร็จเป็นสำคัญจากผู้รับชำระหนี้นั้น และถ้าหนี้นั้นได้ชำระสิ้นเชิงแล้ว ผู้ชำระหนี้ชอบที่จะได้รับเวนคืนเอกสารอันเป็นหลักฐานแห่งหนี้ หรือให้ขีดฆ่าเอกสารนั้นเสีย ถ้าและเอกสารนั้นสูญหาย บุคคลผู้ชำระหนี้ชอบที่จะให้จดแจ้งความข้อระงับหนี้ลงไว้ในใบเสร็จหรือในเอกสารอีกฉบับหนึ่งต่างหากก็ได้
              ถ้าหนี้นั้นได้ชำระแต่บางส่วนก็ดี หรือถ้าเอกสารนั้นยังให้สิทธิอย่างอื่นใดแก่เจ้าหนี้อยู่ก็ดี ท่านว่าลูกหนี้ชอบแต่ที่จะได้รับใบเสร็จไว้เป็นคู่มือ และให้จดแจ้งการชำระหนี้นั้นลงไว้ในเอกสาร “

 


3 ตัวอย่างจริงของการใช้” มาตรา 326” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 326 ” ในประเทศไทย


1. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13390 - 13391/2558
ป.พ.พ. มาตรา 326 บัญญัติเกี่ยวกับการชำระหนี้ว่า ผู้ชำระหนี้ชอบที่จะได้รับใบเสร็จเป็นสำคัญจากผู้รับชำระหนี้ และเมื่อพิเคราะห์ตามปกติประเพณีในการชำระหนี้ ลูกหนี้ย่อมยึดถือใบเสร็จรับเงินที่ได้รับจากเจ้าหนี้เป็นหลักฐานว่าหนี้นั้นระงับสิ้นไป การกำหนดข้อสัญญาให้ต้องมีใบเสร็จรับเงินเป็นหลักฐานในการชำระเงินจึงสอดคล้องกับความในมาตรา 326 ดังกล่าว และหลักปฏิบัติในการชำระหนี้โดยทั่วไป ประกอบกับมีข้อพิจารณาว่า การชำระค่าเช่าซื้อในคดีนี้คู่สัญญาตกลงให้ชำระด้วยเช็ค จึงต้องเป็นไปตามบทบัญญัติมาตรา 321 วรรคท้าย ที่กำหนดว่าถ้าชำระหนี้ด้วยออกตั๋วเงิน หนี้จะระงับสิ้นไปต่อเมื่อตั๋วเงินนั้นได้ใช้เงินแล้ว ซึ่งตามสัญญาเช่าซื้อ ข้อ 6 มีข้อความต่อไปอีกว่า หากชำระด้วยเช็ค ใบรับเช็คไม่ถือว่าเป็นใบเสร็จรับเงิน ข้อสัญญาโดยรวมจึงมุ่งหมายให้มีการชำระเงินค่าเช่าซื้อแก่โจทก์โดยต้องมีใบเสร็จรับเงินที่โจทก์ออกให้เป็นหลักฐานในการรับชำระ ซึ่งเป็นธรรมต่อคู่สัญญาทั้งสองฝ่ายและชอบด้วยบทบัญญัติว่าด้วยการชำระหนี้แล้ว จึงมิได้เป็นข้อสัญญาอันไม่เป็นธรรมตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม พ.ศ.2540
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 321, ม. 326
พ.ร.บ.ว่าด้วยข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม พ.ศ.2540 ม. 4


2. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13390 - 13391/2558
ป.พ.พ. มาตรา 326 บัญญัติเกี่ยวกับการชำระหนี้ว่า ผู้ชำระหนี้ชอบที่จะได้รับใบเสร็จเป็นสำคัญจากผู้รับชำระหนี้ และเมื่อพิเคราะห์ตามปกติประเพณีในการชำระหนี้ ลูกหนี้ย่อมยึดถือใบเสร็จรับเงินที่ได้รับจากเจ้าหนี้เป็นหลักฐานว่าหนี้นั้นระงับสิ้นไป การกำหนดข้อสัญญาให้ต้องมีใบเสร็จรับเงินเป็นหลักฐานในการชำระเงินจึงสอดคล้องกับความในมาตรา 326 ดังกล่าว และหลักปฏิบัติในการชำระหนี้โดยทั่วไป ประกอบกับมีข้อพิจารณาว่า การชำระค่าเช่าซื้อในคดีนี้คู่สัญญาตกลงให้ชำระด้วยเช็ค จึงต้องเป็นไปตามบทบัญญัติมาตรา 321 วรรคสาม ที่กำหนดว่าถ้าชำระหนี้ด้วยออกตั๋วเงิน หนี้จะระงับสิ้นไปต่อเมื่อตั๋วเงินนั้นได้ใช้เงินแล้ว ซึ่งตามสัญญาเช่าซื้อ ข้อ 6 มีข้อความต่อไปอีกว่า หากชำระด้วยเช็ค ใบรับเช็คไม่ถือว่าเป็นใบเสร็จรับเงิน ข้อสัญญาโดยรวมจึงมุ่งหมายให้มีการชำระเงินค่าเช่าซื้อแก่โจทก์โดยต้องมีใบเสร็จรับเงินที่โจทก์ออกให้เป็นหลักฐานในการรับชำระ ซึ่งเป็นธรรมต่อคู่สัญญาทั้งสองฝ่ายและชอบด้วยบทบัญญัติว่าด้วยการชำระหนี้แล้ว จึงมิได้เป็นข้อสัญญาอันไม่เป็นธรรมตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม พ.ศ.2540
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 321 วรรคสาม, ม. 326
พ.ร.บ.ว่าด้วยข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม พ.ศ.2540 ม. 4


3. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1206/2554
ป.พ.พ. มาตรา 326 มีความหมายแต่เพียงว่า บุคคลผู้ชำระหนี้มีสิทธิเรียกร้องให้ผู้รับชำระหนี้ออกใบเสร็จให้แก่ตนเป็นสำคัญ เพื่อเป็นพยานหลักฐานใช้ยันต่อเจ้าหนี้ว่าตนได้ชำระหนี้แล้ว หากเป็นการชำระหนี้โดยสิ้นเชิงผู้ชำระหนี้ย่อมมีสิทธิเรียกให้เวนคืนเอกสารอันเป็นหลักฐานแห่งหนี้ หรือให้ขีดฆ่าเอกสารนั้นได้ด้วย แต่ไม่ได้หมายความถึงว่าหากไม่มีใบเสร็จเป็นสำคัญ หรือไม่มีการเวนคืนเอกสารอันเป็นหลักฐานแห่งหนี้ หรือไม่มีการขีดฆ่าเอกสารนั้นแล้ว ลูกหนี้จะไม่อาจนำสืบด้วยพยานหลักฐานอย่างอื่นว่ามีการชำระหนี้แล้ว
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยที่ 4 ลงลายมือชื่อสลักหลังเช็คที่ ม. นำมาขายลดไว้แก่โจทก์ แต่จำเลยที่ 4 ให้การปฏิเสธว่าไม่ได้ลงลายมือชื่อสลักหลังเช็คฉบับดังกล่าว ลายมือชื่อที่ปรากฏในเช็คเป็นลายมือชื่อปลอม โจทก์จึงมีภาระการพิสูจน์ให้ศาลเห็นว่าลายมือชื่อที่สลักหลังเช็คเป็นลายมือชื่อของจำเลยที่ 4 ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 84/1 หาใช่เป็นหน้าที่ของจำเลยที่ 4 ที่ต้องนำสืบว่าลายมือชื่อที่สลักหลังเช็คเป็นลายมือชื่อปลอมไม่
โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ให้รับผิดในฐานะทายาทโดยธรรมของ ม. ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ร่วมกันรับผิดชำระหนี้แก่โจทก์ โดยไม่ได้กำหนดให้จำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ต้องรับผิดไม่เกินกว่าทรัพย์มรดกที่ตกทอดแก่ตน ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1601 จึงไม่ถูกต้อง แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นฎีกา แต่เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เอง ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบมาตรา 246 และมาตรา 247
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.วิ.พ. ม. 84/1, ม. 142 (5), ม. 246, ม. 247
ป.พ.พ. ม. 326, ม. 1601
 

ข้อจำกัดความรับผิดชอบ: ข้อมูลเหล่านี้อาจไม่ใช่เวอร์ชันล่าสุด รัฐบาลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอาจมีข้อมูลที่เป็นปัจจุบันหรือแม่นยำกว่า เราไม่รับประกันหรือรับประกันเกี่ยวกับความถูกต้อง ความสมบูรณ์ หรือความเพียงพอของข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้หรือข้อมูลที่เชื่อมโยงกับเว็บไซต์ของรัฐ โปรดตรวจสอบแหล่งที่มาอย่างเป็นทางการ
ข้อมูลอ้างอิงจากเว็บไซต์ : www.krisdika.go.th, deka.supremecourt.or.th
แนะนำโดย Legardy
cta
ปรึกษาทนายได้ตลอด 24 ชม.
เพียงกดปุ่ม ปรึกษาได้ทันที