Banner blog website.png
เผยแพร่เมื่อ: 2023-05-30

มาตรา 316 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

“มาตรา 316 หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 316” คืออะไร? 


“มาตรา 316” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 316 “ คือ หนึ่งในมาตราของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ 
ซึ่งบัญญัติไว้ว่า “ถ้าการชำระหนี้นั้นได้ทำให้แก่ผู้ครองตามปรากฏแห่งสิทธิในมูลหนี้ ท่านว่าการชำระหนี้นั้นจะสมบูรณ์ก็แต่เมื่อบุคคลผู้ชำระหนี้ได้กระทำการโดยสุจริต  “

 


3 ตัวอย่างจริงของการใช้” มาตรา 316” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 316 ” ในประเทศไทย


1. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3235/2516
ที่ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 145(1) บัญญัติว่า คำสั่งเรื่องล้มละลายอาจใช้ยันบุคคลภายนอกได้นั้น ต้องพิจารณาประกอบกับพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 28 ซึ่งบัญญัติให้มีการประกาศโฆษณาคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ในหนังสือราชกิจจานุเบกษา และในหนังสือพิมพ์รายวันอย่างน้อยหนึ่งฉบับ ในมาตรานี้มิได้บัญญัติไว้ด้วยว่า เมื่อได้มีการประกาศโฆษณาดังกล่าวแล้วให้ถือว่าบุคคลภายนอกทุกคนต้องทราบ จึงจะถือว่าบุคคลภายนอกที่ไม่ทราบ ได้ทราบคำสั่งนั้นแล้ว ย่อมไม่เป็นธรรม แต่ตามเจตนารมณ์ของบทบัญญัติมาตรานี้อนุมานได้ว่าประสงค์จะให้การประกาศโฆษณาในหนังสือราชกิจจานุเบกษาเป็นข้อสันนิษฐานเบื้องต้นว่า บุคคลภายนอกทราบคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดที่ได้ประกาศโฆษณานั้นแล้ว ฉะนั้น เมื่อผู้ใดอ้างว่าตนไม่ทราบก็ย่อมนำสืบหักล้างข้อสันนิษฐานนี้ได้
เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ส่งประกาศคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดจำเลยซึ่งเป็นข้าราชการกรมสรรพสามิต กระทรวงการคลัง ไปให้กระทรวงการคลังทราบ โดยระบุว่ามีอาชีพค้าขายหัวหน้ากองกลางผู้ได้รับประกาศนั้นไม่รู้จักจำเลย จึงได้สั่งให้รวมเก็บ และทางปฏิบัติเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้ส่งประกาศเกี่ยวกับลูกหนี้ถูกพิทักษ์ทรัพย์ไปให้กระทรวงการคลังทุกราย ไม่ว่าลูกหนี้นั้นจะเป็นข้าราชการหรือไม่ ในพฤติการณ์ดังกล่าว กรมสรรพสามิตและกระทรวงการคลังอาจนำสืบแสดงว่าตนไม่ทราบคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดนั้นได้
กรมสรรพสามิต กระทรวงการคลัง ได้จ่ายเงินสะสมพร้อมด้วยดอกเบี้ยให้แก่จำเลยซึ่งลาออกจากราชการไป โดยไม่ทราบว่าจำเลยถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดก่อนวันจ่ายเงิน ย่อมต้องถือว่าเป็นการชำระหนี้โดยสุจริต จึงไม่ต้องรับผิดชำระหนี้ดังกล่าวอีกครั้งหนึ่งให้แก่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ (วรรคแรกและวรรคสอง วินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 30/2516)
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 315, ม. 316
ป.วิ.พ. ม. 145 (1)
พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 ม. 22, ม. 28, ม. 119, ม. 121, ม. 173


2. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3235/2516
ที่ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 145(1)บัญญัติว่า คำสั่งเรื่องล้มละลายอาจใช้ยันบุคคลภายนอกได้นั้นต้องพิจารณาประกอบกับพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483มาตรา 28 ซึ่งบัญญัติให้มีการประกาศโฆษณาคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ในหนังสือราชกิจจานุเบกษา และในหนังสือพิมพ์รายวันอย่างน้อยหนึ่งฉบับ ในมาตรานี้มิได้บัญญัติไว้ด้วยว่าเมื่อได้มีการประกาศโฆษณาดังกล่าวแล้วให้ถือว่าบุคคลภายนอกทุกคนต้องทราบ จึงจะถือว่าบุคคลภายนอกที่ไม่ทราบได้ทราบคำสั่งนั้นแล้ว ย่อมไม่เป็นธรรม แต่ตามเจตนารมณ์ของบทบัญญัติมาตรานี้อนุมานได้ว่าประสงค์จะให้การประกาศโฆษณาในหนังสือราชกิจจานุเบกษาเป็นข้อสันนิษฐานเบื้องต้น ว่า บุคคลภายนอกทราบคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดที่ได้ประกาศโฆษณานั้นแล้ว ฉะนั้น เมื่อผู้ใดอ้างว่าตนไม่ทราบก็ย่อมนำสืบหักล้างข้อสันนิษฐานนี้ได้
เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ส่งประกาศคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดจำเลยซึ่งเป็นข้าราชการกรมสรรพสามิต กระทรวงการคลัง ไปให้กระทรวงการคลังทราบ โดยระบุว่ามีอาชีพค้าขายหัวหน้ากองกลางผู้ได้รับประกาศนั้นไม่รู้จักจำเลย จึงได้สั่งให้รวมเก็บ และทางปฏิบัติเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้ส่งประกาศเกี่ยวกับลูกหนี้ถูกพิทักษ์ทรัพย์ไปให้กระทรวงการคลังทุกราย ไม่ว่าลูกหนี้นั้นจะเป็นข้าราชการหรือไม่ในพฤติการณ์ดังกล่าว กรมสรรพสามิตและกระทรวงการคลังอาจนำสืบแสดงว่าตนไม่ทราบคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดนั้นได้
กรมสรรพสามิต กระทรวงการคลัง ได้จ่ายเงินสะสมพร้อมด้วยดอกเบี้ยให้แก่จำเลยซึ่งลาออกจากราชการไป โดยไม่ทราบว่า จำเลยถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดก่อนวันจ่ายเงิน ย่อมต้องถือว่าเป็นการชำระหนี้โดยสุจริต จึงไม่ต้องรับผิดชำระหนี้ดังกล่าวอีกครั้งหนึ่งให้แก่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์
(วรรคแรกและวรรคสอง วินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 30/2516)
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 315, ม. 316
ป.วิ.พ. ม. 145 (1)
พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 ม. 22, ม. 28, ม. 119, ม. 121, ม. 173


3. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 747/2510
บทบัญญัติมาตรา 326 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ว่า"บุคคลผู้ชำระหนี้ชอบที่จะได้รับใบเสร็จเป็นสำคัญจากผู้รับชำระหนี้ ฯลฯ" เป็นบทบัญญัติที่เพียงแต่ให้สิทธิแก่ผู้ชำระหนี้ในอันที่จะเรียกร้องให้ผู้รับชำระหนี้ทำการอย่างใดอย่างหนึ่งตามที่ระบุไว้ให้แก่ตนเท่านั้น มิได้หมายความเลยไปถึงว่า หากไม่มีหลักฐานเช่นที่บัญญัติไว้นั้นแล้ว ผู้ชำระหนี้จะพิสูจน์ถึงการชำระหนี้ไม่ได้
เมื่อการชำระหนี้ไม่มีกฎหมายบังคับให้ต้องมีพยานเอกสารมาแสดง ศาลก็ย่อมรับฟังคำพยานบุคคลที่ผู้ชำระหนี้นำสืบถึงการชำระหนี้นั้นได้ ไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94
เจ้าหนี้ตามคำพิพากษามอบอำนาจให้ภริยารับเงินจากศาลแทนตัวได้ ลูกหนี้ตามคำพิพากษาชำระหนี้นั้นต่อภริยาเจ้าหนี้ซึ่งเป็นผู้รับมอบอำนาจจากเจ้าหนี้ถือว่าเป็นการชำระหนี้แก่บุคคลผู้มีอำนาจรับชำระหนี้แทนผู้เป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษา จึงชอบด้วยบทบัญญัติประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 315
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 315, ม. 316, ม. 326
ป.วิ.พ. ม. 94
 

ข้อจำกัดความรับผิดชอบ: ข้อมูลเหล่านี้อาจไม่ใช่เวอร์ชันล่าสุด รัฐบาลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอาจมีข้อมูลที่เป็นปัจจุบันหรือแม่นยำกว่า เราไม่รับประกันหรือรับประกันเกี่ยวกับความถูกต้อง ความสมบูรณ์ หรือความเพียงพอของข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้หรือข้อมูลที่เชื่อมโยงกับเว็บไซต์ของรัฐ โปรดตรวจสอบแหล่งที่มาอย่างเป็นทางการ
ข้อมูลอ้างอิงจากเว็บไซต์ : www.krisdika.go.th, deka.supremecourt.or.th
แนะนำโดย Legardy
cta
ปรึกษาทนายได้ตลอด 24 ชม.
เพียงกดปุ่ม ปรึกษาได้ทันที