Banner blog website.png
เผยแพร่เมื่อ: 2023-05-30

มาตรา 310 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

“มาตรา 310 หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 310” คืออะไร? 


“มาตรา 310” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 310 “ คือ หนึ่งในมาตราของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ 
ซึ่งบัญญัติไว้ว่า “ ในมูลหนี้อันพึงต้องชำระตามเขาสั่งนั้น ลูกหนี้มีสิทธิที่จะสอบสวนถึงตัวผู้ทรงตราสาร หรือสอบสวนความถูกต้องแท้จริงแห่งลายมือชื่อหรือดวงตราของผู้ทรงได้ แต่ก็หามีความผูกพันที่จะต้องทำถึงเพียงนั้นไม่ แต่ถ้าลูกหนี้ทำการโดยทุจริตหรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงไซร้ การชำระหนี้นั้นก็ไม่เป็นอันสมบูรณ์ “

 


2 ตัวอย่างจริงของการใช้” มาตรา 310” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 310 ” ในประเทศไทย


1. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1602/2542
ศาลชั้นต้นได้ออกคำบังคับให้จำเลยปฏิบัติตามคำบังคับใน 30 วัน เจ้าพนักงานศาลได้ส่งคำบังคับให้จำเลยโดยวิธีปิดคำบังคับเมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม 2540 จำเลยจึงมีเวลาที่จะปฏิบัติตามคำบังคับเป็นเวลา 45 วัน นับแต่วันที่มีการปิดคำบังคับ ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่อนุญาตให้คืนเงินให้จำเลยในวันที่ 9 มิถุนายน 2540 ยังไม่พ้นระยะเวลาที่กำหนดให้จำเลยปฏิบัติตามคำบังคับ อีกทั้งศาลชั้นต้นยังมิได้ออกหมายบังคับคดี คดีจึงไม่อยู่ในอำนาจของเจ้าพนักงานบังคับคดีดังนั้น ศาลชั้นต้นจึงมีอำนาจสั่งเกี่ยวกับคำขออายัดเงินของโจทก์ได้ และก่อนที่ศาลชั้นต้นจะมีคำสั่งดังกล่าวศาลชั้นต้นได้ฟังคำแถลงของโจทก์เกี่ยวกับพฤติการณ์ของจำเลยที่แสดงว่าจะหลีกเลี่ยงไม่ชำระหนี้ตามคำพิพากษาด้วยการที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่คืนเงินของจำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษาเป็นการคุ้มครองประโยชน์ของโจทก์ผู้ขอเพื่อความสะดวกในการที่จะบังคับตามคำพิพากษา จึงเป็นดุลพินิจ ที่ชอบและถูกต้องตามกฎหมายแล้ว
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 229, ม. 271, ม. 276, ม. 310, ม. 311


2. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 214/2491
เช่าที่ดินจากเจ้าของเดิมแต่ไม่มีหนังสือสัญญาเช่าต่อกัน ผู้เช่าได้ปกครองที่ดินโดยสุจริต ได้ปลูกต้นกล้วยและผลไม้ล้มลุกไว้ในที่ดิน ผู้รับโอนที่ดินนั้นมาโดยคำพิพากษา ได้ทำลายต้นผลไม้ที่ผู้เช่าปลูกไว้ดังนี้ นับว่าเป็นการกระทำละเมิดตาม ป.พ.พ.ม.420 ผู้เช่ามีอำนาจฟ้องเรียกค่าเสียหายได้.
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 100, ม. 420, ม. 537, ม. 310, ม. 1314, ม. 1336.
มาตรา 311 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
“มาตรา 311 หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 311” คืออะไร? 
“มาตรา 311” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 311 “ คือ หนึ่งในมาตราของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ 
ซึ่งบัญญัติไว้ว่า “  บทบัญญัติแห่งมาตราก่อนนี้ ท่านให้ใช้บังคับตลอดถึงกรณีที่มีกำหนดตัวเจ้าหนี้ระบุไว้ในตราสาร ซึ่งมีข้อความจดไว้ด้วยว่าให้ชำระหนี้แก่ผู้ทรงตราสาร“
1 ตัวอย่างจริงของการใช้” มาตรา 311” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 311 ” ในประเทศไทย
1. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1602/2542
ศาลชั้นต้นได้ออกคำบังคับให้จำเลยปฏิบัติตามคำบังคับใน 30 วัน เจ้าพนักงานศาลได้ส่งคำบังคับให้จำเลยโดยวิธีปิดคำบังคับเมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม 2540 จำเลยจึงมีเวลาที่จะปฏิบัติตามคำบังคับเป็นเวลา 45 วัน นับแต่วันที่มีการปิดคำบังคับ ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่อนุญาตให้คืนเงินให้จำเลยในวันที่ 9 มิถุนายน 2540 ยังไม่พ้นระยะเวลาที่กำหนดให้จำเลยปฏิบัติตามคำบังคับ อีกทั้งศาลชั้นต้นยังมิได้ออกหมายบังคับคดี คดีจึงไม่อยู่ในอำนาจของเจ้าพนักงานบังคับคดีดังนั้น ศาลชั้นต้นจึงมีอำนาจสั่งเกี่ยวกับคำขออายัดเงินของโจทก์ได้ และก่อนที่ศาลชั้นต้นจะมีคำสั่งดังกล่าวศาลชั้นต้นได้ฟังคำแถลงของโจทก์เกี่ยวกับพฤติการณ์ของจำเลยที่แสดงว่าจะหลีกเลี่ยงไม่ชำระหนี้ตามคำพิพากษาด้วยการที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่คืนเงินของจำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษาเป็นการคุ้มครองประโยชน์ของโจทก์ผู้ขอเพื่อความสะดวกในการที่จะบังคับตามคำพิพากษา จึงเป็นดุลพินิจ ที่ชอบและถูกต้องตามกฎหมายแล้ว
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 229, ม. 271, ม. 276, ม. 310, ม. 311
 

ข้อจำกัดความรับผิดชอบ: ข้อมูลเหล่านี้อาจไม่ใช่เวอร์ชันล่าสุด รัฐบาลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอาจมีข้อมูลที่เป็นปัจจุบันหรือแม่นยำกว่า เราไม่รับประกันหรือรับประกันเกี่ยวกับความถูกต้อง ความสมบูรณ์ หรือความเพียงพอของข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้หรือข้อมูลที่เชื่อมโยงกับเว็บไซต์ของรัฐ โปรดตรวจสอบแหล่งที่มาอย่างเป็นทางการ
ข้อมูลอ้างอิงจากเว็บไซต์ : www.krisdika.go.th, deka.supremecourt.or.th
แนะนำโดย Legardy
cta
ปรึกษาทนายได้ตลอด 24 ชม.
เพียงกดปุ่ม ปรึกษาได้ทันที