Banner blog website.png
เผยแพร่เมื่อ: 2023-05-29

มาตรา 31 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

“มาตรา 31 หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 31” คืออะไร? 


“มาตรา 31” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 31 “ คือ หนึ่งในมาตราของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ 
ซึ่งบัญญัติไว้ว่า “ ถ้าเหตุที่ทำให้เป็นคนไร้ความสามารถได้สิ้นสุดไปแล้ว และเมื่อบุคคลผู้นั้นเองหรือบุคคลใด ๆ ดังกล่าวมาในมาตรา ๒๘ ร้องขอต่อศาลก็ให้ศาลสั่งเพิกถอนคำสั่งที่ให้เป็นคนไร้ความสามารถนั้น
              คำสั่งของศาลตามมาตรานี้ ให้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา “
มาตรา 32 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
“มาตรา 32 หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 32” คืออะไร? 
“มาตรา 32” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 32 “ คือ หนึ่งในมาตราของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ 
ซึ่งบัญญัติไว้ว่า “ บุคคลใดมีกายพิการหรือมีจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ หรือประพฤติสุรุ่ยสุร่ายเสเพลเป็นอาจิณ หรือติดสุรายาเมา หรือมีเหตุอื่นใดทำนองเดียวกันนั้น จนไม่สามารถจะจัดทำการงานโดยตนเองได้ หรือจัดกิจการไปในทางที่อาจจะเสื่อมเสียแก่ทรัพย์สินของตนเองหรือครอบครัว เมื่อบุคคลตามที่ระบุไว้ในมาตรา ๒๘ ร้องขอต่อศาล ศาลจะสั่งให้บุคคลนั้นเป็นคนเสมือนไร้ความสามารถก็ได้
              บุคคลซึ่งศาลได้สั่งให้เป็นคนเสมือนไร้ความสามารถตามวรรคหนึ่ง ต้องจัดให้อยู่ในความพิทักษ์ การแต่งตั้งผู้พิทักษ์ ให้เป็นไปตามบทบัญญัติบรรพ ๕ แห่งประมวลกฎหมายนี้
              ให้นำบทบัญญัติว่าด้วยการสิ้นสุดของความเป็นผู้ปกครองในบรรพ ๕ แห่งประมวลกฎหมายนี้ มาใช้บังคับแก่การสิ้นสุดของการเป็นผู้พิทักษ์โดยอนุโลม
              คำสั่งของศาลตามมาตรานี้ ให้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา “

 


3 ตัวอย่างจริงของการใช้” มาตรา 32” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 32 ” ในประเทศไทย 


1. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3184/2550
โจทก์ฟ้องเรียกค่าเสียหายจากจำเลยฐานกระทำละเมิดต่อโจทก์โดยมี ท. บิดาโจทก์เป็นผู้ฟ้องและดำเนินคดีแทนในฐานะผู้แทนโดยชอบธรรม แต่ข้อเท็จจริงปรากฏว่าโจทก์เป็นบุคคลที่บรรลุนิติภาวะแล้วในขณะฟ้อง โจทก์จึงไม่ใช่ผู้เยาว์ที่ต้องตกอยู่ใต้อำนาจปกครองของบิดามารดาตาม ป.พ.พ. มาตรา 1566 วรรคหนึ่ง โจทก์ย่อมสามารถทำการใด ๆ ได้โดยไม่ต้องได้รับความยินยอมของผู้แทนโดยชอบธรรมตาม ป.พ.พ. มาตรา 21 แต่ขณะฟ้องโจทก์เป็นคนพิการทุพพลภาพพูดและเดินไม่ได้ ไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้เลย ท. บิดาโจทก์ ชอบที่จะไปดำเนินการร้องขอต่อศาลขอให้โจทก์เป็นคนไร้ความสามารถหรือเสมือนไร้ความสามารถและตั้งผู้อนุบาลหรือผู้พิทักษ์แล้วแต่กรณีก่อน ตราบใดที่ยังไม่มีคำสั่งศาลให้โจทก์เป็นคนไร้ความสามารถหรือเสมือนไร้ความสามารถก็ต้องถือว่าโจทก์เป็นบุคคลที่มีความสามารถทำการใด ๆ ได้ด้วยตนเองตามกฎหมาย ซึ่งรวมทั้งการฟ้องและดำเนินคดีต่อศาล การที่ ท. บิดาโจทก์ลงลายมือชื่อในใบแต่งทนายความให้ฟ้องคดีแทนโจทก์ โดยยังไม่มีคำสั่งศาลให้ ท. เป็นผู้อนุบาลหรือผู้พิทักษ์ของโจทก์ จึงเป็นความบกพร่องในเรื่องความสามารถตามนัยแห่ง ป.วิ.พ. มาตรา 56 กรณีจึงต้องทำการแก้ไขข้อบกพร่องเสียก่อน
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 21, ม. 28, ม. 32, ม. 1566
ป.วิ.พ. ม. 56


2. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8229/2540
เมื่อถึงวันนัดฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ผู้ร้องและผู้คัดค้านไม่ไปศาล ศาลชั้นต้นจึงงดอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ซึ่งพิพากษาให้ผู้คัดค้านเป็นคนเสมือนไร้ความสามารถและให้อยู่ในความพิทักษ์ของผู้ร้อง และถือว่าผู้ร้องและผู้คัดค้านทราบคำพิพากษาศาลอุทธรณ์แล้ว ต่อมาผู้คัดค้านโดยทนายผู้คัดค้านยื่นฎีกาพร้อมกับคำร้องขอให้ไต่สวนและมีคำสั่งว่าผู้คัดค้านถึงแก่กรรมไปแล้ว และศาลชั้นต้นมีคำสั่งรับฎีกาแล้ว ดังนี้ เมื่อปรากฏข้อเท็จจริงว่า ผู้คัดค้านถึงแก่กรรมก่อนที่ศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์และคดีเป็นเรื่องเฉพาะตัวของผู้คัดค้านจะรับมรดกความกันไม่ได้เช่นนี้ คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ที่พิพากษาให้ผู้คัดค้านเป็นคนเสมือนไร้ความสามารถและอยู่ในความพิทักษ์ของผู้ร้อง จึงไม่ชอบ ศาลฎีกาพิพากษายกคำพิพากษาศาลอุทธรณ์และให้ยกคำร้องขอของผู้ร้องไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นด้วย
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 32
ป.วิ.พ. ม. 42, ม. 44, ม. 55, ม. 131, ม. 132, ม. 144, ม. 145


3. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8229/2540
เมื่อ ถึง วันนัด ฟัง คำพิพากษา ศาลอุทธรณ์ ผู้ร้อง และ ผู้คัดค้าน ไม่ไป ศาล ศาลชั้นต้น จึง งด อ่าน คำพิพากษา ศาลอุทธรณ์ ซึ่ง พิพากษา ให้ ผู้คัดค้าน เป็น คนเสมือนไร้ความสามารถ และ ให้ อยู่ ใน ความ พิทักษ์ ของ ผู้ร้อง และ ถือว่า ผู้ร้อง และ ผู้คัดค้าน ทราบ คำพิพากษา ศาลอุทธรณ์ แล้ว ต่อมา ผู้คัดค้าน โดย นาย ผู้คัดค้าน ยื่นฎีกา พร้อม กับ คำร้องขอ ให้ ไต่สวน และ มี คำสั่ง ว่า ผู้คัดค้าน ถึงแก่กรรม ไป แล้ว และ ศาลชั้นต้น มี คำสั่ง รับ ฎีกา แล้ว ดังนี้ เมื่อ ปรากฎ แล้ว ดังนี้ เมื่อ ปรากฎ ข้อเท็จจริง ว่า ผู้คัดค้าน ถึงแก่กรรม ก่อน ที่ ศาลชั้นต้น อ่าน คำพิพากษา ศาลอุทธรณ์ และ คดี เป็น เรื่อง เฉพาะตัว ของ ผู้คัดค้าน จะ รับมรดก ความ กัน ไม่ได้ เช่นนี้ คำพิพากษา ศาลอุทธรณ์ พิพากษา ให้ ผู้คัดค้าน เป็น คนเสมือนไร้ความสามารถ และ อยู่ ใน ความ พิทักษ์ ของ ผู้ร้อง จึง ไม่ชอบ ศาลฎีกา พิพากษายก คำพิพากษา ศาลอุทธรณ์ และ ให้ยก คำร้องขอ ของ ผู้ร้อง ไป ตาม คำพิพากษา ศาลชั้นต้น ด้วย
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 32
ป.วิ.พ. ม. 42, ม. 44, ม. 55, ม. 131, ม. 132, ม. 144, ม. 145
 

ข้อจำกัดความรับผิดชอบ: ข้อมูลเหล่านี้อาจไม่ใช่เวอร์ชันล่าสุด รัฐบาลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอาจมีข้อมูลที่เป็นปัจจุบันหรือแม่นยำกว่า เราไม่รับประกันหรือรับประกันเกี่ยวกับความถูกต้อง ความสมบูรณ์ หรือความเพียงพอของข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้หรือข้อมูลที่เชื่อมโยงกับเว็บไซต์ของรัฐ โปรดตรวจสอบแหล่งที่มาอย่างเป็นทางการ
ข้อมูลอ้างอิงจากเว็บไซต์ : www.krisdika.go.th, deka.supremecourt.or.th
แนะนำโดย Legardy
cta
ปรึกษาทนายได้ตลอด 24 ชม.
เพียงกดปุ่ม ปรึกษาได้ทันที