Banner blog website.png
เผยแพร่เมื่อ: 2023-05-30

มาตรา 309 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

“มาตรา 309 หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 309” คืออะไร? 


“มาตรา 309” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 309 “ คือ หนึ่งในมาตราของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ 
ซึ่งบัญญัติไว้ว่า “ การโอนหนี้อันพึงต้องชำระตามเขาสั่งนั้น ท่านว่าจะยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้ลูกหนี้ หรือบุคคลภายนอกคนอื่นได้แต่เฉพาะเมื่อการโอนนั้นได้สลักหลังไว้ในตราสาร และตัวตราสารนั้นได้ส่งมอบให้แก่ผู้รับโอนไปด้วย “

 


2 ตัวอย่างจริงของการใช้” มาตรา 309” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 309 ” ในประเทศไทย


1. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6634/2538
การที่จะวินิจฉัยว่าคดีโจทก์ขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1003 หรือไม่นั้น จะต้องได้ความว่าได้มีการโอนเช็คพิพาทโดยชอบด้วยกฎหมายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 917 ประกอบด้วยมาตรา 309เสียก่อน กล่าวคือ ได้มีการสลักหลังและส่งมอบเช็คแล้วในกรณีเช็คที่ระบุชื่อผู้รับเงิน หรือได้มีการส่งมอบเช็คแล้วสำหรับกรณีเช็คที่ออกให้แก่ผู้ถือเป็นต้น เช็คพิพาทโจทก์มอบให้แก่ธนาคารเพื่อประกันการชำระหนี้ตามสัญญาขายลดเช็ค มิใช่เพื่อชำระหนี้ เมื่อโจทก์ชำระหนี้ตามสัญญาขายลดเช็คแล้วจึงรับเช็คคืนมา โจทก์จึงมีฐานะเป็นผู้ทรงเช็ค มิใช่อยู่ในฐานะเป็นผู้สลักหลังเช็ค ประเด็นข้อโต้เถียงในคดียังไม่เป็นที่ยุติว่า โจทก์ได้สลักหลังโอนเช็คพิพาทเพื่อชำระหนี้ หรือเพียงแต่มอบเช็คพิพาทให้ธนาคารเพื่อค้ำประกัน ตนเมื่อข้อเท็จจริงในคดียังไม่พอแก่การวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายตามที่จำเลยฎีกา ชอบที่จะต้องฟังข้อเท็จจริงจากพยานหลักฐานที่คู่ความจะนำสืบต่อไป การที่ศาลชั้นต้นด่วนสั่งงดสืบพยานโจทก์และพยานจำเลยแล้วพิพากษาว่าคดีโจทก์ขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1003และศาลอุทธรณ์ฟังว่าคดีโจทก์ต้องด้วยมาตรา 1002ไม่ขาดอายุความนั้น เป็นการวินิจฉัยที่ไม่ชอบ ปัญหาดังกล่าวแม้จะไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เอง และเพื่อให้ได้ข้อเท็จจริงตามประเด็นที่คู่ความโต้เถียงกัน สมควรให้ศาลชั้นต้นสืบพยานโจทก์และพยานจำเลยต่อไป แล้วมีคำพิพากษาใหม่ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 240(3),243(3)(ข) ประกอบด้วยมาตรา 247
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 309, ม. 904, ม. 917, ม. 1002, ม. 1003
ป.วิ.พ. ม. 24, ม. 86, ม. 240, ม. 243 (3) (ข), ม. 247


2. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1947 - 1950/2524
การโอนสิทธิเรียกร้องของผู้ฝากเงินไว้แก่ธนาคารให้แก่บุคคลอื่นในลักษณะการโอนหนี้อันจะพึงต้องชำระแก่เจ้าหนี้โดยเฉพาะเจาะจง จะต้องปฏิบัติตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 306 กล่าวคือ ต้องทำเป็นหนังสือลงลายมือชื่อผู้โอนมิฉะนั้นย่อมไม่สมบูรณ์ หากเป็นในลักษณะการโอนหนี้อันพึงต้องชำระตามเขาสั่งผู้ฝากเงินก็ต้องปฏิบัติด้วยการออกเช็คสั่งให้ธนาคารใช้เงินและส่งมอบเช็คนั้นให้แก่ผู้รับโอนไปเบิกเงินจากธนาคาร การที่ธนาคารหักโอนเงินจากบัญชีเงินฝากกระแสรายวันของผู้ฝากเงินไป โดยผู้ฝากเงินมิได้ออกเช็คสั่งจ่ายให้ธนาคารใช้เงิน หรือทำหนังสือโอนหนี้ให้ถูกต้องตามกฎหมาย ย่อมไม่เป็นเหตุให้สิทธิเรียกร้องของผู้ฝากเงินในหนี้เงินฝากต้องระงับสิ้นไป เพราะตามคำขอเปิดบัญชีเงินฝากกระแสรายวันมีข้อความระบุเงื่อนไขในการสั่งจ่ายและถอนเงินไว้ว่า เมื่อผู้ฝากเงินจะสั่งจ่ายหรือถอนเงิน ให้ใช้เช็คซึ่งธนาคารมอบให้ใช้สำหรับแต่ละบัญชีโดยเฉพาะ จะเขียนสั่งในกระดาษหรือแบบพิมพ์อย่างอื่นไม่ได้เว้นแต่ธนาคารจะตกลงยินยอมด้วย การหักโอนเงินจากบัญชีเงินฝากก็ไม่แตกต่างอะไรกับการถอนเงิน
การสั่งโอนเงินฝากทางโทรศัพท์จะใช้ได้แต่เฉพาะกรณีที่ผู้ฝากคนเดียวมีบัญชีเงินฝากอยู่หลายบัญชีและสั่งโอนเงินฝากจากบัญชีหนึ่งไปเข้าอีกบัญชีหนึ่งซึ่งมิใช่เป็นการโอนสิทธิเรียกร้อง แต่การโอนเงินฝากจากบัญชีของคนหนึ่งไปเข้าบัญชีของอีกคนหนึ่งนั้น เป็นการโอนสิทธิเรียกร้อง จำเป็นจะต้องปฏิบัติตามกฎหมาย ธนาคารจะอ้างประเพณีมาลบล้างกฎหมายไม่ได้ แม้เจ้าของบัญชีเงินฝากกับผู้รับโอนจะมีความสัมพันธ์ในฐานะที่เป็นหุ้นส่วนผู้ถือหุ้นหรือร่วมอยู่ในเครือเดียวกัน แต่จำเลยก็เป็นห้างหุ้นส่วนบริษัทนิติบุคคล ย่อมมีฐานะต่างหากจากผู้เป็นหุ้นส่วนหรือผู้ถือหุ้นทั้งหลายซึ่งรวมเข้ากันเป็นห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทนั้น บัญชีเงินฝากของจำเลยกับของผู้รับโอนจึงมิใช่บัญชีของบุคคลคนเดียวกัน ธนาคารโจทก์จึงหักโอนเงินจากบัญชีเงินฝากกระแสรายวันของจำเลยที่ 1 ที่ 4 และ ที่ 5โดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 224, ม. 306, ม. 309, ม. 672
 

ข้อจำกัดความรับผิดชอบ: ข้อมูลเหล่านี้อาจไม่ใช่เวอร์ชันล่าสุด รัฐบาลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอาจมีข้อมูลที่เป็นปัจจุบันหรือแม่นยำกว่า เราไม่รับประกันหรือรับประกันเกี่ยวกับความถูกต้อง ความสมบูรณ์ หรือความเพียงพอของข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้หรือข้อมูลที่เชื่อมโยงกับเว็บไซต์ของรัฐ โปรดตรวจสอบแหล่งที่มาอย่างเป็นทางการ
ข้อมูลอ้างอิงจากเว็บไซต์ : www.krisdika.go.th, deka.supremecourt.or.th
แนะนำโดย Legardy
cta
ปรึกษาทนายได้ตลอด 24 ชม.
เพียงกดปุ่ม ปรึกษาได้ทันที