Banner blog website.png
เผยแพร่เมื่อ: 2023-05-30

มาตรา 306 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

“มาตรา 306 หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 306” คืออะไร? 


“มาตรา 306” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 306 “ คือ หนึ่งในมาตราของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ 
ซึ่งบัญญัติไว้ว่า “ การโอนหนี้อันจะพึงต้องชำระแก่เจ้าหนี้คนหนึ่งโดยเฉพาะเจาะจงนั้น ถ้าไม่ทำเป็นหนังสือ ท่านว่าไม่สมบูรณ์ อนึ่งการโอนหนี้นั้นท่านว่าจะยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้ลูกหนี้หรือบุคคลภายนอกได้แต่เมื่อได้บอกกล่าวการโอนไปยังลูกหนี้หรือลูกหนี้จะได้ยินยอมด้วยในการโอนนั้น คำบอกกล่าวหรือความยินยอมเช่นว่านี้ท่านว่าต้องทำเป็นหนังสือ
              ถ้าลูกหนี้ทำให้พอแก่ใจผู้โอนด้วยการใช้เงิน หรือด้วยประการอื่นเสียแต่ก่อนได้รับบอกกล่าว หรือก่อนได้ตกลงให้โอนไซร้ ลูกหนี้นั้นก็เป็นอันหลุดพ้นจากหนี้ “

 


3 ตัวอย่างจริงของการใช้” มาตรา 306” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 306 ” ในประเทศไทย


1. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6271/2561
แม้โจทก์ทำหนังสือโอนสิทธิเรียกร้องที่มีต่อจำเลยให้แก่ธนาคาร แต่ก็มิใช่เป็นการโอนสิทธิเรียกร้องกันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ที่ผู้โอนประสงค์จะโอนสิทธิเรียกร้องให้แก่ผู้รับโอนเป็นการเด็ดขาดโดยผู้รับโอนเข้าเป็นเจ้าหนี้คนใหม่แทนที่ผู้โอนซึ่งหมดสิทธิเรียกร้องต่อไปแล้ว หากแต่เป็นกรณีที่โจทก์นำหนี้ค่าจ้างมาขอสินเชื่อจากธนาคาร ซึ่งเมื่อธนาคารเรียกเก็บเงินค่าจ้างจากจำเลยได้แล้ว ธนาคารจะหักหนี้ของตนไว้ ส่วนเงินที่เหลือจะคืนให้แก่โจทก์ แม้บันทึกข้อตกลงโอนสิทธิเรียกร้องจะใช้ข้อความว่าโจทก์โอนสิทธิเรียกร้องในการรับเงินจากลูกหนี้ของโจทก์ให้แก่ธนาคาร แต่ตามเจตนาของคู่กรณีหาใช่เป็นการโอนสิทธิเรียกร้องกันไม่ เนื่องจากธนาคารผู้รับโอนไม่มีสิทธิได้รับเงินทั้งหมด คงมีสิทธิได้รับชำระหนี้ของตนตามส่วนที่ตกลงกันไว้เท่านั้น ส่วนที่เหลือต้องคืนให้แก่โจทก์ กรณีจึงเป็นเพียงโจทก์มอบอำนาจให้ธนาคารรับเงินแทนโจทก์เท่านั้น
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 306


2. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3988/2561
คดีนี้ โจทก์และจำเลยที่ 1 ทำสัญญาโอนสิทธิเรียกร้องในการรับเงินค่าว่าจ้างตามใบแจ้งหนี้ที่จำเลยที่ 1 มีต่อจำเลยที่ 5 แก่โจทก์ โดยมีจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 เป็นผู้ค้ำประกันจำเลยที่ 1 ตามสัญญาโอนสิทธิเรียกร้องระบุว่า จำเลยที่ 1 ตกลงให้โจทก์เป็นผู้เรียกเก็บหนี้จากลูกหนี้ของจำเลยที่ 1 คือจำเลยที่ 5 หากลูกหนี้ไม่ชำระหนี้แก่โจทก์ผู้รับโอนภายในกำหนด สัญญานี้เป็นอันยกเลิกโดยปริยายทันที เมื่อปรากฏว่าถึงกำหนดชำระงานที่จำเลยที่ 1 ทำให้แก่จำเลยที่ 5 ชำรุดบกพร่อง ต้องแก้ไขความชำรุดบกพร่อง จำเลยที่ 5 จึงไม่ได้ชำระเงินในวันที่ครบกำหนดตามใบวางบิล จึงถือว่าสัญญาโอนสิทธิเรียกร้องระหว่างโจทก์และจำเลยที่ 1 จึงถูกยกเลิกไป โจทก์จึงไม่มีสิทธิที่จะบังคับตามสิทธิเรียกร้องแก่จำเลยที่ 5 และเมื่อภายหลังจำเลยที่ 1 แก้ไขความชำรุดบกพร่องของงานแล้ว จำเลยที่ 5 ชำระเงินแก่จำเลยที่ 1 จึงไม่เป็นการทำละเมิดต่อโจทก์ ทั้งการที่สัญญาโอนสิทธิเรียกร้องเลิกกันโดยปริยายดังกล่าว มิได้เกิดจากการผิดสัญญาของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันจำเลยที่ 1 ตามสัญญาโอนสิทธิเรียกร้อง จึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ด้วย
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 303, ม. 306, ม. 420


3. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5099/2560
จำเลยที่ 1 โอนสิทธิเรียกร้องที่จำเลยที่ 1 มีสิทธิได้รับค่าจ้างจากแขวงการทางหนองคายที่ 2 (บึงกาฬ) ให้แก่โจทก์มีสิทธิได้รับเงินค่าจ้างดังกล่าวแทนจำเลยที่ 1 ซึ่งค่าจ้างที่แขวงการทางดังกล่าวจะชำระให้โจทก์แทนจำเลยที่ 1 นั้น จำเลยที่ 1 ก็ต้องปฏิบัติตามสัญญาจ้างเสร็จสิ้นแล้ว ซึ่งไม่ปรากฏชัดว่า จำเลยที่ 1 มีสิทธิที่จะได้รับเงินค่าจ้างตามสัญญาจากแขวงการทางหนองคายที่ 2 เมื่อใด ทั้งแขวงการทางดังกล่าวก็ไม่เคยส่งเงินค่าจ้างดังกล่าวมาให้แก่โจทก์ แต่แขวงการทางหนองคายที่ 2 ส่งเงินจำนวน 2,403,558.82 บาท ไปยังศาลจังหวัดหนองคายตามคำสั่งอายัดเนื่องมาจากจำเลยที่ 1 ถูกเจ้าหนี้รายอื่นฟ้องคดี จนถึงอายัดเงินดังกล่าวชั่วคราว การที่จำเลยที่ 1 โอนสิทธิเรียกร้องจากบุคคลภายนอกให้โจทก์แทนการชำระหนี้ เมื่อค่าจ้างงานที่โอนชำระหนี้ให้แก่โจทก์ ถูกเจ้าหนี้อื่นอายัดไว้ชั่วคราว จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นลูกหนี้จะต้องรับผิดเพื่อการรอนสิทธิทำนองเดียวกับผู้ขาย ตาม ป.พ.พ. มาตรา 322 และจำเลยที่ 1 ยังต้องรับผิดในการรอนสิทธิตามมาตรา 475 ทั้งจำเลยที่ 1 ก็พิสูจน์ไม่ได้ว่ากรณีดังกล่าวเป็นความผิดของโจทก์ตามมาตรา 482 (1) แต่เนื่องจากจำเลยที่ 1 ถูกเจ้าหนี้รายอื่นฟ้องคดี เมื่อโจทก์ยังมิได้รับชำระหนี้จากการโอนสิทธิเรียกร้องดังกล่าว จำเลยที่ 1 จึงต้องรับผิดชำระหนี้ให้แก่โจทก์ ส่วนจำเลยที่ 2 เป็นผู้ค้ำประกันและผู้จำนองซึ่งต้องรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมจึงต้องร่วมรับผิดชำระหนี้ให้แก่โจทก์
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 306, ม. 321, ม. 322, ม. 475, ม. 482 (1)
 

ข้อจำกัดความรับผิดชอบ: ข้อมูลเหล่านี้อาจไม่ใช่เวอร์ชันล่าสุด รัฐบาลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอาจมีข้อมูลที่เป็นปัจจุบันหรือแม่นยำกว่า เราไม่รับประกันหรือรับประกันเกี่ยวกับความถูกต้อง ความสมบูรณ์ หรือความเพียงพอของข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้หรือข้อมูลที่เชื่อมโยงกับเว็บไซต์ของรัฐ โปรดตรวจสอบแหล่งที่มาอย่างเป็นทางการ
ข้อมูลอ้างอิงจากเว็บไซต์ : www.krisdika.go.th, deka.supremecourt.or.th
แนะนำโดย Legardy
cta
ปรึกษาทนายได้ตลอด 24 ชม.
เพียงกดปุ่ม ปรึกษาได้ทันที