Banner blog website.png
เผยแพร่เมื่อ: 2023-05-30

มาตรา 305 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

“มาตรา 305 หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 305” คืออะไร? 


“มาตรา 305” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 305 “ คือ หนึ่งในมาตราของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ 
ซึ่งบัญญัติไว้ว่า “  เมื่อโอนสิทธิเรียกร้องไป สิทธิจำนอง จำนำ หรือหลักประกันทางธุรกิจที่มีอยู่เกี่ยวพันกับสิทธิเรียกร้องนั้นก็ดี สิทธิอันเกิดขึ้นแต่การค้ำประกันที่ให้ไว้เพื่อสิทธิเรียกร้องนั้นก็ดี ย่อมตกไปได้แก่ผู้รับโอนด้วย๑
              อนึ่งผู้รับโอนจะใช้บุริมสิทธิใด ๆ ที่ตนมีอยู่เกี่ยวด้วยสิทธิเรียกร้องในกรณีบังคับยึดทรัพย์หรือล้มละลายนั้นก็ได้“

 


3 ตัวอย่างจริงของการใช้” มาตรา 305” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 305 ” ในประเทศไทย


1. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10762/2557
ตาม พ.ร.ก.บริษัทบริหารสินทรัพย์ พ.ศ.2541 มาตรา 6 บัญญัติว่า ในการโอนสินทรัพย์ของสถาบันการเงินไปให้บริษัทบริหารสินทรัพย์ ถ้าเป็นสินทรัพย์ที่มีหลักประกันอย่างอื่นที่มิใช่สิทธิจำนอง สิทธิจำนำ หรือสิทธิอันเกิดขึ้นแต่การค้ำประกัน ให้หลักประกันนั้นตกแก่บริษัทบริหารสินทรัพย์ด้วย ซึ่งแม้บทมาตราดังกล่าวมิได้บัญญัติถึงสิทธิจำนองให้ตกแก่ผู้สวมสิทธิด้วย แต่ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ได้บัญญัติถึงสิทธิจำนองดังกล่าวไว้เป็นการเฉพาะแล้ว กรณีจึงต้องบังคับตาม ป.พ.พ. มาตรา 305 วรรคหนึ่ง ซึ่งบัญญัติว่า "เมื่อโอนสิทธิเรียกร้องไป สิทธิจำนองหรือจำนำที่มีอยู่เกี่ยวพันกับสิทธิเรียกร้องนั้นก็ดี สิทธิอันเกิดขึ้นแต่การค้ำประกันที่ให้ไว้เพื่อสิทธิเรียกร้องนั้นก็ดี ย่อมตกไปได้แก่ผู้รับโอนด้วย" ดังนั้น สิทธิจำนองคดีนี้ย่อมตกแก่ผู้สวมสิทธิซึ่งเป็นผู้รับโอนสิทธิเรียกร้องในหนี้กู้ยืมเงินอันเป็นหนี้ประธานคดีนี้ด้วย
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 305 วรรคหนึ่ง
พ.ร.ก.บริษัทบริหารสินทรัพย์ พ.ศ.2541 ม. 6


2. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3210/2552
ข้อเท็จจริงที่ปรากฏจากสารบัญจดทะเบียนที่ดินได้ความว่า จำเลยที่ 2 นำที่ดินไปจดทะเบียนและเพิ่มเงินจำนองไว้แก่โจทก์หลายครั้ง คือ จำนองเป็นประกันลำดับแรกและจำนองเป็นประกันลำดับสอง ซึ่งหมายถึง มีการจดทะเบียนจำนองเป็นประกันหนี้ในมูลหนี้ต่างรายกัน รวม 2 ราย ส่วนรายละเอียดของการโอนสิทธิจำนองในหนี้สินรายใดย่อมต้องปรากฏอยู่ในหลักฐานการโอนสิทธิเรียกร้องระหว่างโจทก์กับบริษัท ธ. สัญญาจำนองเพื่อประกันหนี้รายใดย่อมถือว่าหนี้รายนั้นเป็นหนี้ประธาน สัญญาจำนองย่อมถือเป็นอุปกรณ์ของหนี้ประธาน ดังนั้น การโอนสิทธิรับจำนองหนี้รายหนึ่งรายใดไปให้แก่บุคคลหนึ่งบุคคลใด ย่อมหมายถึงมีการตกลงโอนหนี้ประธานไปยังบุคคลคนนั้นแล้ว ได้ความว่า ก่อนฟ้องโจทก์โอนหนี้ของจำเลยบางส่วนไปให้แก่บริษัท ธ. และโอนสิทธิการรับจำนองลำดับที่หนึ่งไปด้วย ส่วนสิทธิจำนองคดีนี้เป็นสิทธิจำนองลำดับสอง ซึ่งศาลชั้นต้นวินิจฉัยแล้วว่า โจทก์มิได้โอนสิทธิเรียกร้องตามฟ้องไปให้แก่บริษัท ธ. ดังนั้น สิทธิจำนองลำดังสองซึ่งจำนองเป็นประกันหนี้หรือสิทธิเรียกร้องตามฟ้องย่อมไม่อาจโอนไปยังบริษัท ธ. โจทก์จึงมีสิทธิบังคับจำนองแก่ที่ดินดังกล่าวได้

ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 305, ม. 712
พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 ม. 7 (6)


3. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9212/2538
แม้ผู้คัดค้านที่1จดทะเบียนจำนองที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างไว้แก่ธนาคารก.ก่อนมีการขอให้ลูกหนี้ล้มละลายแต่เมื่อผู้คัดค้านที่1ได้ไถ่ถอนจำนองโดยชำระหนี้ให้แก่ธนาคารก.ผู้รับจำนองเดิมถูกต้องครบถ้วนแล้วบุริมสิทธิจำนองของธนาคารก.ที่มีอยู่เหนือที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างย่อมระงับสิ้นไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา744(4)การที่ผู้คัดค้านที่1ได้จดทะเบียนจำนองที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างไว้แก่ผู้คัดค้านที่2ในวันเดียวกันกับที่ไถ่ถอนจำนองดังกล่าวย่อมถือว่าเป็นการจำนองรายใหม่หาใช่เป็นการโอนสิทธิจำนองหรือรับช่วงสิทธิจากการจำนองรายเดิมแต่อย่างใดไม่ดังนั้นแม้การที่ผู้คัดค้านที่2ได้รับจำนองที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างโดยสุจริตและมีค่าตอบแทนเพียงใดก็ตามแต่เมื่อการโอนที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างระหว่างลูกหนี้กับผู้คัดค้านที่1กระทำโดยไม่สุจริตและไม่มีค่าตอบแทนภายในระยะเวลาสามปีก่อนขอให้ลูกหนี้ล้มละลายซึ่งศาลเพิกถอนได้แล้วและการจำนองดังกล่าวได้กระทำภายหลังจากที่มีการขอให้ลูกหนี้ล้มละลายผู้คัดค้านที่2จึงไม่ได้รับความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ.2483มาตรา116 ตราบใดที่ศาลยังมิได้มีคำสั่งหรือคำพิพากษาให้เพิกถอนการโอนก็ยังถือว่าเป็นการโอนที่ชอบอยู่กรณีถือไม่ได้ว่าเป็นการผิดนัดนับแต่วันยื่นคำร้องอันเป็นเหตุให้ผู้คัดค้านที่1ต้องรับผิดเรื่องดอกเบี้ยผู้ร้องคงมีสิทธิเรียกดอกเบี้ยนับแต่วันที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้เพิกถอนการโอน
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 224, ม. 226, ม. 305, ม. 744 (4)
พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 ม. 114, ม. 116
 

ข้อจำกัดความรับผิดชอบ: ข้อมูลเหล่านี้อาจไม่ใช่เวอร์ชันล่าสุด รัฐบาลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอาจมีข้อมูลที่เป็นปัจจุบันหรือแม่นยำกว่า เราไม่รับประกันหรือรับประกันเกี่ยวกับความถูกต้อง ความสมบูรณ์ หรือความเพียงพอของข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้หรือข้อมูลที่เชื่อมโยงกับเว็บไซต์ของรัฐ โปรดตรวจสอบแหล่งที่มาอย่างเป็นทางการ
ข้อมูลอ้างอิงจากเว็บไซต์ : www.krisdika.go.th, deka.supremecourt.or.th
แนะนำโดย Legardy
cta
ปรึกษาทนายได้ตลอด 24 ชม.
เพียงกดปุ่ม ปรึกษาได้ทันที