Banner blog website.png
เผยแพร่เมื่อ: 2023-05-30

มาตรา 304 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

“มาตรา 304 หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 304” คืออะไร? 


“มาตรา 304” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 304 “ คือ หนึ่งในมาตราของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ 
ซึ่งบัญญัติไว้ว่า “ สิทธิเรียกร้องเช่นใด ตามกฎหมายศาลจะสั่งยึดไม่ได้ สิทธิเรียกร้องเช่นนั้น ท่านว่าจะโอนกันหาได้ไม่ “

 


2 ตัวอย่างจริงของการใช้” มาตรา 304” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 304 ” ในประเทศไทย


1. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3793/2535
การที่ส.ซึ่งเป็นข้าราชการสำนักพระราชวังทำหนังสือยินยอมให้กองคลัง สำนักพระราชวัง หักเงินเดือนของตนส่งชดใช้หนี้ให้แก่จำเลยซึ่งเป็นเจ้าหนี้นั้นมีผลเท่ากับ ส. มอบอำนาจให้จำเลยรับเงินเดือนแทนตนเท่านั้น ไม่ใช่เป็นการโอนสิทธิเรียกร้องให้แก่จำเลย เพราะสิทธิที่จะรับเงินเดือนของข้าราชการนั้นโอนกันไม่ได้ เมื่อเป็นเช่นนี้ โจทก์ย่อมจะขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดีอายัดเงินตามหนังสือดังกล่าวไม่ได้ ปัญหาที่ว่า ศาลชั้นต้นควรทำการไต่สวนคำร้องของ โจทก์ที่ขอให้ศาลชั้นต้นมีคำสั่งเพิกถอนคำสั่งของเจ้าพนักงานบังคับคดีและกำหนดวิธีการให้เจ้าพนักงานบังคับคดีออกหมายอายัดเงินจำนวนดังกล่าวหรือไม่นั้น เมื่อตามคำร้อง ของโจทก์ปรากฏข้อเท็จจริงเพียงพอที่ศาลชั้นต้นจะมีคำสั่งได้แล้ว จึงไม่มีเหตุที่จะต้องทำการไต่สวนคำร้องของ โจทก์ก่อนแต่อย่างใด
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 304
ป.วิ.พ. ม. 21 (4), ม. 286 (2), ม. 296, ม. 310


2. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3793/2535
บุคคลภายนอกทำหนังสือยินยอมให้หักเงินเดือนส่งใช้หนี้แก่จำเลย มีผลเท่ากับมอบอำนาจให้จำเลยรับเงินเดือนแทน ไม่ใช่การโอนสิทธิเรียกร้องให้แก่จำเลย เพราะสิทธิรับเงินเดือนของข้าราชการโอนกันไม่ได้ โจทก์จึงขออายัดเงินตามหนังสือยินยอมดังกล่าวไม่ได้.
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 304, ม. 797
ป.วิ.พ. ม. 310
 

ข้อจำกัดความรับผิดชอบ: ข้อมูลเหล่านี้อาจไม่ใช่เวอร์ชันล่าสุด รัฐบาลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอาจมีข้อมูลที่เป็นปัจจุบันหรือแม่นยำกว่า เราไม่รับประกันหรือรับประกันเกี่ยวกับความถูกต้อง ความสมบูรณ์ หรือความเพียงพอของข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้หรือข้อมูลที่เชื่อมโยงกับเว็บไซต์ของรัฐ โปรดตรวจสอบแหล่งที่มาอย่างเป็นทางการ
ข้อมูลอ้างอิงจากเว็บไซต์ : www.krisdika.go.th, deka.supremecourt.or.th
แนะนำโดย Legardy
cta
ปรึกษาทนายได้ตลอด 24 ชม.
เพียงกดปุ่ม ปรึกษาได้ทันที