“มาตรา 302 หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 302” คืออะไร?
“มาตรา 302” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 302 “ คือ หนึ่งในมาตราของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
ซึ่งบัญญัติไว้ว่า “ ถ้าการชำระหนี้เป็นการอันจะแบ่งกันชำระมิได้ และมีบุคคลหลายคนเป็นเจ้าหนี้ ถ้าบุคคลเหล่านั้นมิได้เป็นเจ้าหนี้ร่วมกันไซร้ ท่านว่าลูกหนี้ได้แต่จะชำระหนี้ให้ได้ประโยชน์แก่บุคคลเหล่านั้นทั้งหมดด้วยกัน และเจ้าหนี้แต่ละคนจะเรียกชำระหนี้ได้ก็แต่เพื่อได้ประโยชน์ด้วยกันหมดทุกคนเท่านั้น อนึ่งเจ้าหนี้แต่ละคนจะเรียกให้ลูกหนี้วางทรัพย์ที่เป็นหนี้นั้นไว้เพื่อประโยชน์แห่งเจ้าหนี้หมดทุกคนด้วยกันก็ได้ หรือถ้าทรัพย์นั้นไม่ควรแก่การจะวางไว้ก็ให้ส่งแก่ผู้พิทักษ์ทรัพย์ซึ่งศาลจะได้ตั้งแต่งขึ้น
นอกจากนี้ ข้อความจริงใดที่เท้าถึงเจ้าหนี้คนหนึ่งเท่านั้นหาเป็นไปเพื่อคุณหรือโทษแก่เจ้าหนี้คนอื่น ๆ ด้วยไม่ “
3 ตัวอย่างจริงของการใช้” มาตรา 302” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 302 ” ในประเทศไทย
1. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6251/2541
ตามสัญญากู้ฉบับพิพาทที่โจทก์นำมาฟ้องได้ระบุวงเงินให้กู้ของโจทก์และของผู้ให้กู้อื่นแก่จำเลยที่ 1 ไว้คนละ จำนวนในวงเงินไม่เท่ากันและเป็นไปตามลำดับ โจทก์และ ผู้ให้กู้อื่นมีส่วนในหนี้นั้นแยกกัน จึงไม่เป็นเจ้าหนี้ร่วมกัน ทั้งตามสัญญาก็มิได้กำหนดว่าการฟ้องคดีโจทก์จะต้องได้รับ ความยินยอมหรือเห็นชอบจากผู้ให้กู้ด้วยกันเสียก่อนจึงจะฟ้องคดีได้ ตามบทบัญญัติของกฎหมายในเรื่องเจ้าหนี้หลายคนก็มิได้ระบุว่าผู้ให้กู้คนใดคนหนึ่งจะต้องได้รับ ความยินยอมหรือเห็นชอบจากผู้ให้กู้คนอื่นก่อนจึงจะฟ้องคดีได้ ดังนั้น โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องคดีนี้ได้โดยไม่ต้อง ได้รับความยินยอมจากผู้ให้กู้รายอื่นก่อน ที่จำเลยทั้งสี่ฎีกาว่า อัตราดอกเบี้ยสูงเกินส่วนที่โจทก์ควรจะได้รับโจทก์วิเคราะห์ขนาดของเงินลงทุนผิดพลาด ทำให้จำเลยทั้งสี่เป็นหนี้หลายร้อยล้านบาทและไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้รับความเสียหายเป็นพิเศษจำเลยทั้งสี่จึงไม่ต้องรับผิดเกินกว่าร้อยละ 13.5 ต่อปี นั้นตามคำให้การของจำเลยทั้งสี่ได้ให้การเกี่ยวกับดอกเบี้ยว่าจำเลยที่ 1 ได้รับเงินตามสัญญากู้ไม่ครบวงเงินกู้ทำให้โครงการขาดทุนหมุนเวียนถือได้ว่าโจทก์เป็นผู้ผิดสัญญาจำเลยจึงไม่ต้องรับผิดในดอกเบี้ยเกินกว่าอัตราร้อยละ 13.5 ต่อปี ในชั้นอุทธรณ์ จำเลยทั้งสี่ก็อุทธรณ์ทำนองเดียวกันนี้ ซึ่งศาลอุทธรณ์ก็วินิจฉัยว่าข้อที่จำเลยทั้งสี่อุทธรณ์ว่าจำเลยทั้งสี่ไม่ต้องรับผิดดอกเบี้ยเกินอัตราร้อยละ 13.5 ต่อปีนั้น จำเลยทั้งสี่มิได้ยกขึ้นว่ากล่าวมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น จึงไม่รับวินิจฉัยให้ ดังนั้น ปัญหาเรื่องดอกเบี้ยซึ่งโจทก์ฟ้องเรียกในอัตราร้อยละ 21 ต่อปีสูงเกินไปหรือไม่จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ อีกทั้งปัญหาเรื่องนี้มิใช่ปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาจึงไม่รับวินิจฉัยให้
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 302
ป.วิ.พ. ม. 55, ม. 249
2. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6251/2541
ตามสัญญากู้ฉบับพิพาทที่โจทก์นำมาฟ้องได้ระบุวงเงินให้กู้ของโจทก์และของผู้ให้กู้อื่นแก่จำเลยที่ 1 ไว้คนละจำนวนในวงเงินไม่เท่ากันและเป็นไปตามลำดับ โจทก์และผู้ให้กู้อื่นมีส่วนในหนี้นั้นแยกกัน จึงไม่เป็นเจ้าหนี้ร่วมกัน ทั้งตามสัญญาก็มิได้กำหนดว่าการฟ้องคดีโจทก์จะต้องได้รับความยินยอมหรือเห็นชอบจากผู้ให้กู้ด้วยกันเสียก่อนจึงจะฟ้องคดีได้ ตามบทบัญญัติของกฎหมายในเรื่องเจ้าหนี้หลายคนก็มิได้ระบุว่าผู้ให้กู้คนใดคนหนึ่งจะต้องได้รับความยินยอมหรือเห็นชอบจากผู้ให้กู้คนอื่นก่อนจึงจะฟ้องคดีได้ ดังนั้น โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องคดีนี้ได้โดยไม่ต้องได้รับความยินยอมจากผู้ให้กู้รายอื่นก่อน
ที่จำเลยทั้งสี่ฎีกาว่า อัตราดอกเบี้ยสูงเกินส่วนที่โจทก์ควรจะได้รับโจทก์วิเคราะห์ขนาดของเงินลงทุนผิดพลาด ทำให้จำเลยทั้งสี่เป็นหนี้หลายร้อยล้านบาทและไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้รับความเสียหายเป็นพิเศษ จำเลยทั้งสี่จึงไม่ต้องรับผิดเกินกว่าร้อยละ 13.5 ต่อปี นั้น ตามคำให้การของจำเลยทั้งสี่ได้ให้การเกี่ยวกับดอกเบี้ยว่าจำเลยที่ 1 ได้รับเงินตามสัญญากู้ไม่ครบวงเงินกู้ทำให้โครงการขาดทุนหมุนเวียนถือได้ว่าโจทก์เป็นผู้ผิดสัญญา จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดในดอกเบี้ยเกินกว่าอัตราร้อยละ13.5 ต่อปี ในชั้นอุทธรณ์ จำเลยทั้งสี่ก็อุทธรณ์ทำนองเดียวกันนี้ ซึ่งศาลอุทธรณ์ก็วินิจฉัยว่าข้อที่จำเลยทั้งสี่อุทธรณ์ว่าจำเลยทั้งสี่ไม่ต้องรับผิดดอกเบี้ยเกินอัตราร้อยละ 13.5ต่อปีนั้น จำเลยทั้งสี่มิได้ยกขึ้นว่ากล่าวมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น จึงไม่รับวินิจฉัยให้ดังนั้น ปัญหาเรื่องดอกเบี้ยซึ่งโจทก์ฟ้องเรียกในอัตราร้อยละ 21 ต่อปีสูงเกินไปหรือไม่จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ อีกทั้งปัญหาเรื่องนี้มิใช่ปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาจึงไม่รับวินิจฉัยให้
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 302
ป.วิ.พ. ม. 55, ม. 249
3. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5836/2537
แม้ศาลชั้นต้นจะชี้สองสถานกำหนดประเด็นข้อพิพาทว่า โจทก์มีอำนาจฟ้องหรือไม่ ซึ่งหมายรวมถึงเรื่องหนังสือมอบอำนาจปิดอากรแสตมป์ครบถ้วนหรือไม่ด้วย แต่เมื่อศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาโดยมิได้หยิบยกปัญหาเรื่องหนังสือมอบอำนาจปิดอากรแสตมป์ครบถ้วนหรือไม่ขึ้นวินิจฉัย และจำเลยก็มิได้อุทธรณ์โต้แย้งในปัญหาดังกล่าวการที่จำเลยฎีกาปัญหานี้จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 249 วรรคหนึ่ง แม้ปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องเป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แต่เมื่อศาลฎีกาเห็นไม่สมควรที่จะยกขึ้นวินิจฉัยให้ย่อมไม่ยกขึ้นวินิจฉัยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(5) ได้ โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของรวมคนหนึ่งในที่ดินพิพาทฟ้องขับไล่จำเลยเป็นการใช้สิทธิอันเกิดแต่กรรมสิทธิ์เพื่อต่อสู้กับจำเลยซึ่งเป็นบุคคลภายนอกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1359ส่วนกรณีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 302 นั้นหมายความว่าเมื่อโจทก์ได้ทรัพย์สินคืนมาแล้วต้องเป็นของเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมร่วมกัน โจทก์จะอ้างเอาเป็นของตนแต่ผู้เดียวไม่ได้เท่านั้นโจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลย จำเลยอุทธรณ์แต่เพียงว่า โจทก์ไม่เสียหาย อุทธรณ์ของจำเลยมิได้คัดค้านคำพิพากษาศาลชั้นต้นว่า ศาลชั้นต้นกำหนดค่าเสียหายไม่ชอบอย่างไร และที่ถูกต้องเป็นอย่างไร เป็นอุทธรณ์ที่ไม่ชัดแจ้งต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 225 วรรคหนึ่งจึงชอบที่ศาลอุทธรณ์จะวินิจฉัยว่าไม่เป็นประเด็นที่จะวินิจฉัย
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 302, ม. 1359
ป.วิ.พ. ม. 142 (5), ม. 225, ม. 249