Banner blog website.png
เผยแพร่เมื่อ: 2023-05-30

มาตรา 301 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

“มาตรา 301 หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 301” คืออะไร? 


“มาตรา 301” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 301 “ คือ หนึ่งในมาตราของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ 
ซึ่งบัญญัติไว้ว่า “ ถ้าบุคคลหลายคนเป็นหนี้อันจะแบ่งกันชำระมิได้ ท่านว่าบุคคลเหล่านั้นต้องรับผิดเช่นอย่างลูกหนี้ร่วมกัน “

 


2 ตัวอย่างจริงของการใช้” มาตรา 301” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 301 ” ในประเทศไทย


1. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2416/2561
ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 176 บัญญัติถึงผลการถอนฟ้องว่า โจทก์อาจนำฟ้องมายื่นใหม่ได้ แสดงว่าการถอนฟ้องไม่ได้ทำให้หนี้ระงับ จึงไม่ใช่การปลดหนี้ อันเป็นเรื่องความระงับแห่งหนี้ จำเลยที่ 1 และที่ 2 ต่างคนต่างทำละเมิดก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์สามารถแยกออกจากกันได้ซึ่งต่างคนต่างต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนตามสมควรแก่พฤติการณ์และความร้ายแรงแห่งละเมิดที่ตนกระทำ เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าความเสียหายตามฟ้องเกิดขึ้นจากความประมาทเลินเล่อของจำเลยที่ 2 เท่านั้น มิได้เกี่ยวกับจำเลยที่ 1 การที่โจทก์ถอนฟ้องจำเลยที่ 1 จึงไม่ทำให้จำเลยที่ 2 และที่ 3 หลุดพ้นจากความรับผิดต่อโจทก์
สำหรับจำเลยที่ 3 เป็นนายจ้างของจำเลยที่ 2 ต้องร่วมกันรับผิดกับลูกจ้างในผลแห่งละเมิดซึ่งจำเลยที่ 2 ลูกจ้างได้กระทำไปในทางการที่จ้าง ส่วนจำเลยที่ 4 เป็นผู้รับประกันภัยค้ำจุนต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อความวินาศภัยตามเงื่อนไขที่กำหนดในกรมธรรม์ประกันภัย ความรับผิดของจำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 ที่มีต่อโจทก์ จึงเป็นความรับผิดในหนี้จำนวนเดียวกันอันจะแบ่งกันชำระมิได้ ต้องร่วมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมตาม ป.พ.พ. มาตรา 301 จำเลยที่ 4 ชำระเงินค่าสินไหมทดแทนให้แก่โจทก์ตามวงเงินในกรมธรรม์ประกันภัยแล้วส่วนหนึ่ง จำเลยที่ 2 และที่ 3 จึงได้รับประโยชน์ในส่วนนี้ ไม่ต้องรับผิด ในค่าเสียหายส่วนที่โจทก์ได้รับจากจำเลยที่ 4 ไปแล้วอีก
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 301, ม. 420, ม. 425
ป.วิ.พ. ม. 176


2. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8180/2559
ตามคำพิพากษาของศาลฎีกาที่ 8305/2549 ระบุว่าให้โจทก์รับผิดในมูลหนี้ละเมิดและจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 รับผิดในมูลหนี้สัญญาซื้อขาย แต่ บ. ขอให้โจทก์ร่วมรับผิดในค่าเสียหายจำนวนเดียวกันกับที่ บ. ขอให้จำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ต้องรับผิดต่อ บ. จึงถือเป็นหนี้อันจะแบ่งกันชำระมิได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 301 ซึ่งบัญญัติให้โจทก์ต้องรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมกับจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ด้วย ซึ่งตามคำพิพากษาดังกล่าวระบุไว้ชัดแจ้งแล้วว่า โจทก์ต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายในมูลหนี้ละเมิดแก่ บ. ส่วนจำเลยทั้งสามแต่ละคนต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายในมูลหนี้สัญญาซื้อขายแก่ บ. เพียงแต่ค่าเสียหายที่ บ. เรียกจากโจทก์และจำเลยทั้งสามนั้นเป็นจำนวนเดียวกันถือเป็นหนี้อันจะแบ่งกันชำระมิได้ จึงมีผลให้ความรับผิดของโจทก์กับจำเลยแต่ละคนต่อ บ. เป็นอย่างลูกหนี้ร่วมในค่าเสียหายจำนวนเดียวกัน แต่ไม่ได้ทำให้ความรับผิดของโจทก์ในมูลหนี้ละเมิดต่อ บ. หมดไป โจทก์ยังคงมีความรับผิดต้องชดใช้ค่าเสียหายในมูลหนี้ละเมิดแก่ บ. ตามส่วนของตน การที่โจทก์ชดใช้ค่าเสียหายแก่ บ. เต็มจำนวนที่โจทก์ต้องร่วมรับผิดกับจำเลยทั้งสาม จึงเป็นการชำระหนี้มูลละเมิดของโจทก์ที่มีต่อ บ. ครึ่งหนึ่งและชำระหนี้มูลสัญญาซื้อขายของจำเลยทั้งสามที่มีต่อ บ. ครึ่งหนึ่ง โจทก์จึงเข้ารับช่วงสิทธิของ บ. ที่จะไล่เบี้ยจากจำเลยทั้งสามได้เพียงครึ่งหนึ่งของจำนวนที่โจทก์ชำระไป
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 229, ม. 301


3. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7004/2559
ป.วิ.อ. มาตรา 44/1 ที่บัญญัติให้ผู้เสียหายมีสิทธิยื่นคำร้องต่อศาลที่พิจารณาคดีอาญาขอให้บังคับจำเลยชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ตนนั้น ต้องเป็นค่าสินไหมทดแทนอันเนื่องมาจากการกระทำความผิดของจำเลยโดยตรง เมื่อจำเลยร่วมที่ 2 ถึงที่ 4 เป็นเพียงบุคคลภายนอกที่อาจจะต้องร่วมรับผิดกับจำเลยในส่วนแพ่งเท่านั้น ไม่ใช่เป็นผู้กระทำความผิดคดีนี้ที่จะต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนอันเนื่องมาจากการกระทำความผิดของจำเลยโดยตรง ผู้ร้องจึงไม่อาจขอให้ศาลเรียกจำเลยร่วมที่ 2 ถึงที่ 4 เข้ามาในคดีเพื่อให้ร่วมรับผิดในส่วนแพ่งได้ ผู้ร้องชอบที่จะนำคดีไปฟ้องจำเลยร่วมที่ 2 ถึงที่ 4 เป็นคดีแพ่งใหม่ต่างหากจากคดีนี้
จำเลยที่ 2 ซึ่งขับรถกระบะกับจำเลยที่ 1 ผู้ขับรถโดยสารประจำทางที่ผู้ร้องนั่งโดยสารมาด้วยต่างประมาทด้วยกัน มิใช่เป็นการร่วมกันกระทำละเมิด เมื่อผู้ร้องมิได้มีส่วนทำความผิดด้วยและความเสียหายที่เกิดขึ้นเป็นความเสียหายอันเดียวกัน เป็นหนี้อันจะแบ่งแยกจากกันชำระมิได้ ผู้ทำละเมิดทุกคนต้องร่วมกันรับผิดในความเสียหายที่เกิดขึ้นอย่างลูกหนี้ร่วม ตาม ป.พ.พ. มาตรา 301 ประกอบมาตรา 291 จำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 จึงต้องร่วมกันรับผิดในความเสียหายทั้งหมดต่อผู้ร้อง ศาลจะวินิจฉัยว่าจำเลยที่ 2 ประมาทน้อยกว่าจำเลยที่ 1 และให้จำเลยที่ 2 รับผิดชดใช้ค่าเสียหายน้อยกว่าจำเลยที่ 1 ไม่ได้ ส่วนจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 จะต้องรับผิดในความเสียหายที่เกิดขึ้นมากน้อยเพียงใดเป็นเรื่องระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 ด้วยกันเอง
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 291, ม. 301
ป.วิ.อ. ม. 44/1
3. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7004/2559
ป.วิ.อ. มาตรา 44/1 ที่บัญญัติให้ผู้เสียหายมีสิทธิยื่นคำร้องต่อศาลที่พิจารณาคดีอาญาขอให้บังคับจำเลยชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ตนนั้น ต้องเป็นค่าสินไหมทดแทนอันเนื่องมาจากการกระทำความผิดของจำเลยโดยตรง เมื่อจำเลยร่วมที่ 2 ถึงที่ 4 เป็นเพียงบุคคลภายนอกที่อาจจะต้องร่วมรับผิดกับจำเลยในส่วนแพ่งเท่านั้น ไม่ใช่เป็นผู้กระทำความผิดคดีนี้ที่จะต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนอันเนื่องมาจากการกระทำความผิดของจำเลยโดยตรง ผู้ร้องจึงไม่อาจขอให้ศาลเรียกจำเลยร่วมที่ 2 ถึงที่ 4 เข้ามาในคดีเพื่อให้ร่วมรับผิดในส่วนแพ่งได้ ผู้ร้องชอบที่จะนำคดีไปฟ้องจำเลยร่วมที่ 2 ถึงที่ 4 เป็นคดีแพ่งใหม่ต่างหากจากคดีนี้
จำเลยที่ 2 ซึ่งขับรถกระบะกับจำเลยที่ 1 ผู้ขับรถโดยสารประจำทางที่ผู้ร้องนั่งโดยสารมาด้วยต่างประมาทด้วยกัน มิใช่เป็นการร่วมกันกระทำละเมิด เมื่อผู้ร้องมิได้มีส่วนทำความผิดด้วยและความเสียหายที่เกิดขึ้นเป็นความเสียหายอันเดียวกัน เป็นหนี้อันจะแบ่งแยกจากกันชำระมิได้ ผู้ทำละเมิดทุกคนต้องร่วมกันรับผิดในความเสียหายที่เกิดขึ้นอย่างลูกหนี้ร่วม ตาม ป.พ.พ. มาตรา 301 ประกอบมาตรา 291 จำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 จึงต้องร่วมกันรับผิดในความเสียหายทั้งหมดต่อผู้ร้อง ศาลจะวินิจฉัยว่าจำเลยที่ 2 ประมาทน้อยกว่าจำเลยที่ 1 และให้จำเลยที่ 2 รับผิดชดใช้ค่าเสียหายน้อยกว่าจำเลยที่ 1 ไม่ได้ ส่วนจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 จะต้องรับผิดในความเสียหายที่เกิดขึ้นมากน้อยเพียงใดเป็นเรื่องระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 ด้วยกันเอง
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 291, ม. 301
ป.วิ.อ. ม. 44/1
 

ข้อจำกัดความรับผิดชอบ: ข้อมูลเหล่านี้อาจไม่ใช่เวอร์ชันล่าสุด รัฐบาลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอาจมีข้อมูลที่เป็นปัจจุบันหรือแม่นยำกว่า เราไม่รับประกันหรือรับประกันเกี่ยวกับความถูกต้อง ความสมบูรณ์ หรือความเพียงพอของข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้หรือข้อมูลที่เชื่อมโยงกับเว็บไซต์ของรัฐ โปรดตรวจสอบแหล่งที่มาอย่างเป็นทางการ
ข้อมูลอ้างอิงจากเว็บไซต์ : www.krisdika.go.th, deka.supremecourt.or.th
แนะนำโดย Legardy
cta
ปรึกษาทนายได้ตลอด 24 ชม.
เพียงกดปุ่ม ปรึกษาได้ทันที