Banner blog website.png
เผยแพร่เมื่อ: 2023-05-29

มาตรา 30 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

“มาตรา 30 หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 30” คืออะไร? 


“มาตรา 30” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 30 “ คือ หนึ่งในมาตราของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ 
ซึ่งบัญญัติไว้ว่า “ การใด ๆ อันบุคคลวิกลจริตซึ่งศาลยังมิได้สั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถได้กระทำลง การนั้นจะเป็นโมฆียะต่อเมื่อได้กระทำในขณะที่บุคคลนั้นจริตวิกลอยู่ และคู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่งได้รู้แล้วด้วยว่าผู้กระทำเป็นคนวิกลจริต “

 

ค้นหาได้ทุกเรื่อง : "บทความทางกฎหมาย, คำปรึกษาจริงพร้อมคำตอบจากทนายความ, มาตรากฎหมาย" >> คลิก !

 


3 ตัวอย่างจริงของการใช้” มาตรา 30” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 30 ” ในประเทศไทย 


1. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2522/2560
ตามบทบัญญัติแห่ง ป.พ.พ. มาตรา 175 (4) นั้น บุคคลวิกลจริตผู้ทำนิติกรรมอันเป็นโมฆียะตาม ป.พ.พ. มาตรา 30 จะบอกล้างนิติกรรมเสียได้ในขณะที่จริตของบุคคลนั้นไม่วิกลแล้ว เมื่อ ด. ทำนิติกรรมโอนที่ดินพิพาทให้จำเลยถือกรรมสิทธิ์รวมในขณะที่มีสติสัมปชัญญะไม่สมบูรณ์เนื่องจากเป็นคนวิกลจริต จนต่อมาศาลเยาวชนและครอบครัวกลาง (สาขามีนบุรี) มีคำสั่งให้ ด. เป็นคนไร้ความสามารถและให้อยู่ในความอนุบาลของโจทก์ ด. ยังคงเป็นคนวิกลจริต ไม่อาจบอกล้างโมฆียะกรรมได้ ดังนี้ที่จำเลยต่อสู้ว่า ด. บอกล้างนิติกรรมถึงวันฟ้องเกิน 1 ปี แล้ว จึงไม่อาจรับฟังได้ เมื่อต่อมาวันที่ 7 สิงหาคม 2555 ศาลเยาวชนและครอบครัวกลาง (สาขามีนบุรี) มีคำสั่งให้ ด. อยู่ในความอนุบาลของโจทก์ โจทก์ในฐานะผู้อนุบาลย่อมมีสิทธิบอกล้างโมฆียะกรรมดังกล่าว ตาม ป.พ.พ. มาตรา 175 (2) และการที่โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 11 กันยายน 2555 ถือได้ว่าเป็นการที่โจทก์บอกล้างโมฆียะกรรมดังกล่าวภายใน 1 ปี นับแต่วันที่ 7 สิงหาคม 2555 ซึ่งศาลมีคำสั่งตั้งโจทก์เป็นผู้อนุบาล ด. อันเป็นเวลาที่โจทก์อาจให้สัตยาบันได้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 181 แล้ว นิติกรรมที่ ด. โอนที่ดินพิพาทให้จำเลยถือกรรมสิทธิ์รวมโดยเสน่หาย่อมตกเป็นโมฆะมาแต่แรกตาม ป.พ.พ. มาตรา 176 วรรคหนึ่ง สิทธิเรียกร้องให้จำเลยโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินตามคำฟ้องคืนแก่ ด. ของโจทก์จึงไม่ขาดอายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา 176 วรรคสาม
ส่วนที่โจทก์ขอให้บังคับจำเลยจดทะเบียนยกเลิกนิติกรรมโอนที่ดินพิพาทให้จำเลยถือกรรมสิทธิ์รวม หากจำเลยไม่กระทำ ให้ถือเอาตามคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาของจำเลย นั้น เมื่อนิติกรรมดังกล่าวตกเป็นโมฆะแล้ว คู่กรณีย่อมกลับคืนสู่ฐานะเดิม ตาม ป.พ.พ. มาตรา 176 วรรคหนึ่ง จึงต้องเพิกถอนนิติกรรมดังกล่าวเสีย ไม่จำต้องบังคับให้จำเลยไปจดทะเบียนยกเลิกนิติกรรมดังกล่าวตามคำขอท้ายคำฟ้องของโจทก์ในส่วนนี้อีก
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 30, ม. 175 (2), ม. 175 (4), ม. 176 วรรคหนึ่ง, ม. 176 วรรคสาม, ม. 181


2. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2587/2545
การที่ผู้ร้องอ้างเหตุในคำขอให้พิจารณาใหม่ว่า นิติกรรมค้ำประกันของผู้ร้องตกเป็นโมฆียะกรรมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 30 ซึ่งจะตกเป็นโมฆะต่อเมื่อถูกบอกล้างตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 176 วรรคหนึ่ง นั้น เมื่อไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่า ได้มีการบอกล้างข้ออ้างดังกล่าวจึงถือว่ามิได้แสดงเหตุโดยละเอียดชัดแจ้งซึ่งข้อคัดค้านคำตัดสินชี้ขาดของศาลตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 208 วรรคสอง คำขอให้พิจารณาใหม่จึงไม่ชอบด้วยบทบัญญัติดังกล่าว
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 30, ม. 176 วรรคหนึ่ง
ป.วิ.พ. ม. 208 วรรคสอง (เดิม)


3. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2319/2542
ไม่ปรากฏว่าโจทก์มีอาการป่วยทางสมองอย่างชัดแจ้งถึงขนาดเป็นคนวิปลาส ขาดความรำลึก ขาดความรู้สึก และขาดความรับผิดชอบ เนื่องจากโจทก์ยังคงช่วยเหลือตนเองได้ในระดับกิจวัตรประจำวัน มีการตัดสินใจพอใช้ มีสติสัมปชัญญะรู้ได้ในระดับทั่วไป และสามารถพูดจาโต้ตอบได้ อีกทั้งยังปรากฏว่าโจทก์ทำนิติกรรมขายที่ดินพร้อมบ้านพิพาทหลังจากโจทก์ไปทำงานตามปกติประมาณ 1 เดือน ซึ่งโจทก์ระบุว่าเหตุที่ไปทำงานเพื่อที่จะได้วันเวลาราชการโดยไม่ต้องลาป่วยหรือขาดราชการ ซึ่งแสดงให้เห็นอย่างชัดแจ้งว่า โจทก์มีความรำลึก มีความรู้สึก และมีความรับผิดชอบเช่นบุคคลที่มีสติสัมปชัญญะทั่วๆ ไป อาการป่วยของโจทก์จึงไม่ใช่เป็นบุคคลวิกลจริตตามที่บัญญัติไว้ใน ม. 30 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ การจดทะเบียนขายที่ดินพร้อมบ้านพิพาทระหว่างโจทก์จำเลยทั้งสองจึงไม่ตกเป็นโมฆียะตาม ม. 30 ดังกล่าว ดังนั้นนิติกรรมการขายที่ดินพร้อมบ้านพิพาทสมบูรณ์ โจทก์จึงไม่มีสิทธิบอกล้างนิติกรรมดังกล่าวเพื่อเพิกถอนนิติกรรมและไม่มีสิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมขายที่ดินพร้อมบ้านพิพาทได้
หนังสือสัญญาซื้อขายที่ดินดังกล่าวระบุว่า ผู้ขายยอมขายที่ดินแปลงดังกล่าวพร้อมสิ่งปลูกสร้างเป็นเงินราคา 400,000 บาท ผู้ซื้อได้ชำระและผู้ขายได้รับเงินค่าที่ดินรายนี้เสร็จแล้ว เมื่อการซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 456 การที่โจทก์นำพยานบุคคลมาสืบว่า ในวันทำหนังสือสัญญาขายที่ดินดังกล่าวโจทก์ไม่เคยได้รับค่าที่ดินและบ้านพิพาทจำนวน 400,000 บาท จากจำเลยทั้งสอง เป็นการนำสืบเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในหนังสือสัญญาขายที่ดินตามเอกสารหมาย จ.2 ต้องห้ามมิให้ศาลยอมรับฟังตาม ป.วิ.พ. มาตรา 94 ดังนั้นจึงต้องฟังตามหนังสือสัญญาขายที่ดินว่า โจทก์ได้รับชำระราคาที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างที่ขายจากจำเลยทั้งสองเป็นเงิน 400,000 บาท ตามที่ปรากฏในหนังสือสัญญาขายที่ดิน
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 30, ม. 456
ป.วิ.พ. ม. 94
 

ข้อจำกัดความรับผิดชอบ: ข้อมูลเหล่านี้อาจไม่ใช่เวอร์ชันล่าสุด รัฐบาลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอาจมีข้อมูลที่เป็นปัจจุบันหรือแม่นยำกว่า เราไม่รับประกันหรือรับประกันเกี่ยวกับความถูกต้อง ความสมบูรณ์ หรือความเพียงพอของข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้หรือข้อมูลที่เชื่อมโยงกับเว็บไซต์ของรัฐ โปรดตรวจสอบแหล่งที่มาอย่างเป็นทางการ
ข้อมูลอ้างอิงจากเว็บไซต์ : www.krisdika.go.th, deka.supremecourt.or.th
แนะนำโดย Legardy
cta
ปรึกษาทนายได้ตลอด 24 ชม.
เพียงกดปุ่ม ปรึกษาได้ทันที