Banner blog website.png
เผยแพร่เมื่อ: 2023-05-30

มาตรา 298 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

“มาตรา 298 หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 298” คืออะไร? 


“มาตรา 298” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 298 “ คือ หนึ่งในมาตราของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ 
ซึ่งบัญญัติไว้ว่า “ ถ้าบุคคลหลายคนมีสิทธิเรียกร้องการชำระหนี้ โดยทำนองซึ่งแต่ละคนอาจจะเรียกให้ชำระหนี้สิ้นเชิงได้ไซร้ แม้ถึงว่าลูกหนี้จำต้องชำระหนี้สิ้นเชิงแต่เพียงครั้งเดียว (กล่าวคือเจ้าหนี้ร่วมกัน) ก็ดี ท่านว่าลูกหนี้จะชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้แต่คนใดคนหนึ่งก็ได้ตามแต่จะเลือก ความข้อนี้ให้ใช้บังคับได้ แม้ทั้งที่เจ้าหนี้คนหนึ่งจะได้ยื่นฟ้องเรียกชำระหนี้ไว้แล้ว “

 


3 ตัวอย่างจริงของการใช้” มาตรา 298” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 298 ” ในประเทศไทย


1. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6040/2545
ตามสัญญาจ้างมีสาระสำคัญว่าสัญญาจ้างฉบับนี้ทำขึ้นระหว่างจำเลยซึ่งต่อไปในสัญญาเรียกว่า "ผู้ว่าจ้าง" ฝ่ายหนึ่ง กับจำเลยร่วมและโจทก์ซึ่งสองบริษัทต่อไปนี้เรียกว่า "ผู้รับจ้าง" อีกฝ่ายหนึ่ง ข้อความในสัญญาดังกล่าวกำหนดให้โจทก์และจำเลยร่วมมีฐานะเป็นอย่างเดียวกันคือ "ผู้รับจ้าง" เพราะงานที่จะกระทำต่อไปคืองานก่อสร้างอาคารที่มิได้แบ่งแยกว่าจะทำการก่อสร้างอาคารส่วนใดอย่างไร มากน้อยแค่ไหน และค่าจ้างที่จำเลยจะชำระก็กำหนดชำระเป็นงวด มิได้กำหนดว่าจะชำระแก่โจทก์และจำเลยร่วมคนละเท่าใดอีกด้วย คงชำระรวมกันไป แม้ในตอนแรกจะแบ่งชำระให้คนละครึ่งของแต่ละงวด ก็เป็นเพียงเพื่อความสะดวกของโจทก์และจำเลยร่วมเท่านั้นหาใช่เป็นการเปลี่ยนแปลงฐานะไปไม่ โจทก์และจำเลยร่วมยังคงมีฐานะเป็นเจ้าหนี้ร่วมในหนี้ค่าจ้าง จำเลยย่อมมีสิทธิที่จะชำระหนี้ให้แก่โจทก์หรือจำเลยร่วมผู้เป็นเจ้าหนี้คนใดก็ได้ตามแต่จะเลือกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 298
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 298


2. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6040/2545
ตามสัญญาจ้างมีสาระสำคัญของข้อความในสัญญากำหนดให้โจทก์และจำเลยร่วมมีฐานะเป็นผู้รับจ้างอย่างเดียวกัน เพราะงานที่จะกระทำต่อไปคืองานก่อสร้างอาคารที่มิได้แบ่งแยกว่าจะทำการก่อสร้างอาคารส่วนใดอย่างไร มากน้อยแค่ไหน และค่าจ้างที่จำเลยจะชำระก็กำหนดชำระเป็นงวด มิได้กำหนดว่าจะชำระแก่โจทก์และจำเลยร่วมคนละเท่าใด คงชำระรวมกันไป แม้ในตอนแรกจะแบ่งชำระให้คนละครึ่งของแต่ละงวดก็เป็นเพียงเพื่อความสะดวกของโจทก์และจำเลยหาใช่เป็นการเปลี่ยนแปลงฐานะไปไม่ โจทก์และจำเลยร่วมยังคงมีฐานะเป็นผู้รับจ้างตามสัญญาจ้างและยังคงมีฐานะเป็นเจ้าหนี้ร่วมในหนี้ค่าจ้าง จำเลยในฐานะลูกหนี้ย่อมมีสิทธิที่จะชำระหนี้ให้แก่โจทก์หรือจำเลยร่วมผู้เป็นเจ้าหนี้คนใดก็ได้ตามแต่จะเลือกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 298 เมื่อจำเลยได้ชำระค่าจ้างงวดที่ 4 และที่ 5 แก่จำเลยร่วมแล้ว การชำระหนี้จึงชอบหาเป็นการผิดสัญญาไม่
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 298, ม. 368


3. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6040/2545
เมื่อสัญญาจ้างมีสาระสำคัญว่า จำเลย "ผู้ว่าจ้าง" ตกลงจ้างโจทก์และจำเลยร่วม"ผู้รับจ้าง" ทำการก่อสร้างอาคารในราคา 10,700,000 บาท ตกลงชำระเงินล่วงหน้าร้อยละ 20 แก่ "ผู้รับจ้าง" เมื่อลงนามในสัญญา ค่าจ้างส่วนที่เหลือแบ่งชำระเป็น 6 งวดถือได้ว่าสัญญาจ้างดังกล่าวกำหนดให้โจทก์และจำเลยร่วมมีฐานะเป็น "ผู้รับจ้าง" ทำการก่อสร้างอาคารโดยมิได้แบ่งแยกว่าจะทำการก่อสร้างอาคารส่วนใดอย่างไร มากน้อยแค่ไหน และค่าจ้างก็กำหนดชำระเป็นงวด มิได้ระบุว่าจะชำระให้แก่โจทก์และจำเลยร่วมคนละเท่าใด คงชำระรวมกันไป แม้จำเลยจะชำระค่าจ้างงวดที่ 1 ถึงที่ 3 ให้โจทก์และจำเลยร่วมคนละครึ่งของค่าจ้างแต่ละงวดก็เป็นเพียงเพื่อความสะดวกแก่โจทก์และจำเลยร่วมเท่านั้น โจทก์และจำเลยร่วมยังคงมีฐานะเป็น "ผู้รับจ้าง" และเจ้าหนี้ร่วมในหนี้ค่าจ้างอยู่เช่นเดิมจำเลยในฐานะลูกหนี้ย่อมมีสิทธิที่จะชำระหนี้ให้แก่โจทก์หรือจำเลยร่วมผู้เป็นเจ้าหนี้คนใดก็ได้ตามแต่จะเลือกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 298 ดังนั้นเมื่อจำเลยชำระค่าจ้างงวดที่ 4 และที่ 5 ให้แก่จำเลยร่วมแล้ว จึงเป็นการชำระหนี้โดยชอบ โจทก์ไม่มีสิทธิฟ้องเรียกค่าจ้างงวดที่ 4 และที่ 5 จากจำเลยอีก
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 298
 

ข้อจำกัดความรับผิดชอบ: ข้อมูลเหล่านี้อาจไม่ใช่เวอร์ชันล่าสุด รัฐบาลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอาจมีข้อมูลที่เป็นปัจจุบันหรือแม่นยำกว่า เราไม่รับประกันหรือรับประกันเกี่ยวกับความถูกต้อง ความสมบูรณ์ หรือความเพียงพอของข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้หรือข้อมูลที่เชื่อมโยงกับเว็บไซต์ของรัฐ โปรดตรวจสอบแหล่งที่มาอย่างเป็นทางการ
ข้อมูลอ้างอิงจากเว็บไซต์ : www.krisdika.go.th, deka.supremecourt.or.th
แนะนำโดย Legardy
cta
ปรึกษาทนายได้ตลอด 24 ชม.
เพียงกดปุ่ม ปรึกษาได้ทันที