Banner blog website.png
เผยแพร่เมื่อ: 2023-05-30

มาตรา 292 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

“มาตรา 292 หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 292” คืออะไร? 


“มาตรา 292” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 292 “ คือ หนึ่งในมาตราของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ 
ซึ่งบัญญัติไว้ว่า “ การที่ลูกหนี้ร่วมกันคนหนึ่งชำระหนี้นั้น ย่อมได้เป็นประโยชน์แก่ลูกหนี้คนอื่น ๆ ด้วย วิธีเดียวกันนี้ท่านให้ใช้บังคับแก่การใด ๆ อันพึงกระทำแทนชำระหนี้ วางทรัพย์สินแทนชำระหนี้ และหักกลบลบหนี้ด้วย
              ลูกหนี้ร่วมกันคนหนึ่งมีสิทธิเรียกร้องอย่างไร ลูกหนี้คนอื่น ๆ จะเอาสิทธิอันนั้นไปใช้หักกลบลบหนี้หาได้ไม่ “

 


3 ตัวอย่างจริงของการใช้” มาตรา 292” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 292 ” ในประเทศไทย


1. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2569/2551
บริษัท ร. นำเช็คพิพาทไปขายลดแก่โจทก์โดยลงลายมือชื่อสลักหลัง โจทก์จึงเป็นผู้ทรงโดยชอบด้วยกฎหมาย เมื่อธนาคารตามเช็คปฏิเสธการจ่ายเงิน จำเลยซึ่งเป็นผู้สั่งจ่ายและบริษัท ร. ผู้สลักหลังจึงต้องร่วมกันรับผิดต่อโจทก์ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 914 และมาตรา 967 วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 989 อันถือได้ว่าเป็นความรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วม ดังนั้น เมื่อโจทก์ทำสัญญาประนีประนอมยอมความซึ่งถือได้ว่าเป็นการแปลงหนี้ใหม่อีกประการหนึ่ง โจทก์คงมีสิทธิเรียกร้องให้บริษัท ร. ชำระหนี้แก่ตนตามสัญญาประนีประนอมยอมความนั้น ไม่มีสิทธิที่จะเรียกให้บริษัท ร. รับผิดในมูลหนี้ตามเช็คพิพาทได้อีก สิทธิของโจทก์ที่จะเรียกร้องต่อจำเลยในฐานะผู้สั่งจ่ายให้รับผิดต่อโจทก์ในมูลหนี้ตามเช็คพิพาทย่อมหมดสิ้นไปด้วย ทั้งนี้เพราะสิทธิเรียกร้องในมูลหนี้ตามเช็คพิพาทของโจทก์ได้ระงับสิ้นไปแล้ว
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 291, ม. 292, ม. 349, ม. 850, ม. 967


2. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2569/2551
เมื่อโจทก์ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับบริษัท ร. ผู้สลักหลังย่อมทำให้มูลหนี้เดิมตามเช็คระงับสิ้นไป และทำให้แต่ละฝ่ายได้สิทธิตามที่แสดงในสัญญาประนีประนอมยอมความนั้นอันถือได้ว่าเป็นการแปลงหนี้ใหม่ โจทก์คงมีสิทธิเรียกร้องให้บริษัท ร. ชำระหนี้แก่ตนตามสัญญาประนีประนอมยอมความ ไม่มีสิทธิที่จะเรียกให้บริษัท ร. และจำเลยในฐานะผู้สั่งจ่ายรับผิดในมูลหนี้ตามเช็คได้อีก
ตาม ป.พ.พ. มาตรา 291 แม้จะบัญญัติให้เจ้าหนี้มีสิทธิเรียกชำระหนี้จากลูกหนี้แต่คนใดคนหนึ่งสิ้นเชิง หรือแต่โดยส่วนก็ได้ตามแต่จะเลือก แต่ลูกหนี้ทั้งปวงก็ยังคงต้องผูกพันอยู่ทั่วทุกคนจนกว่าหนี้นั้นจะได้ชำระเสร็จสิ้นเชิงก็ตาม เป็นกรณีที่เจ้าหนี้ใช้สิทธิที่มีอยู่ตามมูลหนี้เดิมที่ลูกหนี้ทุกคนต้องร่วมรับผิด แต่สำหรับคดีนี้มูลหนี้เดิมตามเช็คพิพาทได้ระงับสิ้นไปแล้วตามสัญญาประนีประนอมยอมความที่โจทก์ทำกับบริษัท ร. สิทธิเรียกร้องของโจทก์ที่มีอยู่ต่อลูกหนี้ร่วมคนอื่นในมูลหนี้เดียวกันย่อมระงับสิ้นไปด้วยตาม ป.พ.พ. มาตรา 292 วรรคหนึ่ง
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 291, ม. 292, ม. 349, ม. 850


3. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 728/2545
การที่ลูกหนี้ซื้อที่ดินบางส่วนจากบริษัท อ. ในขณะที่ที่ดินแปลงดังกล่าวจดทะเบียนจำนองประกันหนี้ที่บริษัท อ. และ/หรือบริษัท ส. มีต่อธนาคาร ม. ซึ่งธนาคารเจ้าหนี้ได้รับโอนกิจการมา เป็นการซื้อขายติดจำนอง สิทธิจำนองเป็น ทรัพยสิทธิย่อมติดไปกับตัวทรัพย์นั้น โดยไม่ต้องคำนึงว่ากรรมสิทธิ์จะโอนไปยังบุคคลภายนอกแล้วหรือไม่ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 702 วรรคสอง ลูกหนี้จึงต้องรับภาระจำนองมาด้วย เจ้าหนี้จึงยังมีบุริมสิทธิเหนือที่ดินดังกล่าว การที่ธนาคาร ม. จดทะเบียนปลดจำนองเฉพาะส่วนที่ดินของบริษัท อ. ในเวลาต่อมาโดยส่วนของลูกหนี้ยังคงติดจำนองอยู่และภาระหนี้ยังคงเป็นของบริษัท ส. ตามเดิม ที่ดินส่วนของลูกหนี้จึงติดจำนองเพื่อประกันหนี้ของบริษัท ส. ที่มีต่อธนาคาร ม. ต่อไป เจ้าหนี้จึงมีบุริมสิทธิเหนือที่ดินส่วนของลูกหนี้ในวงเงินจำนวนดังกล่าวจึงเป็นเจ้าหนี้มีประกันตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 6
การที่ลูกหนี้ซื้อทรัพย์ซึ่งติดจำนองมา ทำให้เจ้าหนี้มีสิทธิที่จะบังคับเอาแก่ตัวทรัพย์นั้นได้ ลูกหนี้มีฐานะเป็นเพียงผู้รับโอนทรัพย์สินซึ่งจำนองอันจะมีสิทธิและหน้าที่ตามที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ. ลักษณะ 12 หมวด 5 มิได้ทำให้ลูกหนี้มีฐานะเป็นผู้จำนอง เมื่อประสงค์จะให้จำนองประกันหนี้ของลูกหนี้ด้วยจะต้องมีการจดทะเบียนจำนองต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ด้วยตามมาตรา 714 การที่เจ้าหนี้และลูกหนี้ตกลงให้ทรัพย์สินที่ลูกหนี้ซื้อมาโดยติดจำนองนั้นเป็นการจำนองประกันหนี้ที่ลูกหนี้มีต่อเจ้าหนี้ด้วย แต่มิได้จดทะเบียนจำนอง จึงตกเป็นโมฆะ เจ้าหนี้จึงมิใช่เจ้าหนี้มีประกันในส่วนนี้
นอกจากมีบริษัท ส. เป็นผู้ค้ำประกันหนี้บางอันดับแล้ว ยังมีบุคคลอื่นเป็นผู้ค้ำประกันร่วมอีกด้วย เช่นนี้หากผู้ค้ำประกันคนใดคนหนึ่งชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ย่อมมีผลถึงลูกหนี้ด้วยตาม ป.พ.พ. มาตรา 292 วรรคหนึ่ง การที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มิได้วางเงื่อนไขเกี่ยวกับการชำระหนี้ในส่วนนี้และศาลล้มละลายมิได้แก้ไขให้ถูกต้อง กรณีเป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขเสียให้ถูกต้อง
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 292, ม. 702, ม. 714, ม. 744
พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 ม. 6
 

ข้อจำกัดความรับผิดชอบ: ข้อมูลเหล่านี้อาจไม่ใช่เวอร์ชันล่าสุด รัฐบาลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอาจมีข้อมูลที่เป็นปัจจุบันหรือแม่นยำกว่า เราไม่รับประกันหรือรับประกันเกี่ยวกับความถูกต้อง ความสมบูรณ์ หรือความเพียงพอของข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้หรือข้อมูลที่เชื่อมโยงกับเว็บไซต์ของรัฐ โปรดตรวจสอบแหล่งที่มาอย่างเป็นทางการ
ข้อมูลอ้างอิงจากเว็บไซต์ : www.krisdika.go.th, deka.supremecourt.or.th
แนะนำโดย Legardy
cta
ปรึกษาทนายได้ตลอด 24 ชม.
เพียงกดปุ่ม ปรึกษาได้ทันที