Banner blog website.png
เผยแพร่เมื่อ: 2023-05-30

มาตรา 290 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

“มาตรา 290 หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 290” คืออะไร? 


“มาตรา 290” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 290 “ คือ หนึ่งในมาตราของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ 
ซึ่งบัญญัติไว้ว่า “ ถ้าการชำระหนี้เป็นการอันจะแบ่งกันชำระได้และมีบุคคลหลายคนเป็นลูกหนี้ก็ดี มีบุคคลหลายคนเป็นเจ้าหนี้ก็ดี เมื่อกรณีเป็นที่สงสัย ท่านว่าลูกหนี้แต่ละคนจะต้องรับผิดเพียงเป็นส่วนเท่า ๆ กันและเจ้าหนี้แต่ละคนก็ชอบที่จะได้รับแต่เพียงเป็นส่วนเท่า ๆ กัน “

 


3 ตัวอย่างจริงของการใช้” มาตรา 290” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 290 ” ในประเทศไทย


1. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 586/2558
ศาลชั้นต้นวินิจฉัยแล้วว่า บันทึกข้อตกลงและสัญญาร่วมลงทุนไม่เป็นโมฆะ จำเลยที่ 2 กลับอุทธรณ์และฎีกาว่าบันทึกและสัญญาดังกล่าวเป็นโมฆะโดยอ้างเหตุผลขึ้นใหม่นอกเหนือจากคำให้การ ที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยประเด็นดังกล่าวให้จึงไม่ชอบ ถือว่าเป็นข้อที่ไม่ได้ว่ากล่าวกันมาแล้วในศาลล่างทั้งสอง ต้องห้ามฎีกา ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
ข้อตกลงตามสัญญาระบุให้จำเลยที่ 2 และหรือจำเลยที่ 3 และหรือจำเลยที่ 4 และหรือจำเลยที่ 5 รับผิดซื้อหุ้นทั้งหมดคืนจากโจทก์ตามสัดส่วนการถือหุ้น จึงเป็นกรณีที่เป็นหนี้ที่มีลูกหนี้หลายคนอันจะแบ่งกันชำระได้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 290 การที่ศาลล่างทั้งสองวินิจฉัยให้จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ร่วมกันรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วม จึงขัดต่อมาตรา 290 และข้อสัญญาดังกล่าว การวินิจฉัยขัดต่อข้อกฎหมายและข้อสัญญาเช่นนี้ เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จำเลยที่ 5 ไม่ฎีกา ก็สมควรให้มีผลถึงจำเลยที่ 5 ด้วย
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.วิ.พ. ม. 249 วรรคหนึ่ง
ป.พ.พ. ม. 290


2. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6107/2548
คดีก่อนอันถึงที่สุดแล้วนั้น โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยคดีนี้ซึ่งเป็นจำเลยที่ 3 ในคดีก่อนร่วมกันรับผิดกับบริษัท ร. ซึ่งเป็นจำเลยที่ 1 กับจำเลยอื่นในคดีก่อน ในฐานะที่จำเลยคดีนี้เป็นผู้ค้ำประกันและจำนองที่ดินโฉนดเลขที่ 60775 พร้อมสิ่งปลูกสร้าง เป็นประกันหนี้ของจำเลยที่ 1 ในคดีก่อน และคดีก่อนศาลชั้นต้นได้มีคำพิพากษาให้จำเลยคดีนี้และจำเลยที่ 1 กับจำเลยอื่นในคดีก่อนร่วมกันชำระหนี้แก่โจทก์ หากไม่ชำระให้ยึดทรัพย์จำนองที่ดินดังกล่าวและที่ดินจำนองของจำเลยอื่นออกขายทอดตลาดชำระหนี้ให้แก่โจทก์ หากได้เงินไม่พอชำระหนี้ให้ยึดทรัพย์สินอื่นของจำเลยทั้งสามในคดีก่อนชำระจนครบถ้วน
ส่วนคดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำนองที่ดินโฉนดเลขที่ 12981 พร้อมสิ่งปลูกสร้างที่จำเลยจำนองเป็นประกันเพิ่มหลักทรัพย์ให้แก่โจทก์ โดยมีคำขอบังคับว่าหากจำเลยไม่ชำระหนี้ไถ่ถอนจำนองตามคำพิพากษาในคดีก่อน ขอให้บังคับจำนองที่ดินในคดีนี้ชำระหนี้ให้แก่โจทก์ตามคำพิพากษาในคดีก่อน หากขายทอดตลาดได้เงินไม่พอชำระหนี้ ขอให้มีคำสั่งยึดทรัพย์สินอื่นของจำเลยออกขายทอดตลาดนำเงินมาชำระหนี้แก่โจทก์จนครบ
ดังนี้เมื่อที่ดินที่โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำนองแก่จำเลยในคดีนี้กับคดีก่อนเป็นคนละแปลงกัน แม้จำเลยจะจดทะเบียนจำนองเพื่อเป็นประกันหนี้ที่บริษัท ร. จะต้องชำระแก่โจทก์รายเดียวกันก็ตาม แต่เมื่อข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาของโจทก์ที่ฟ้องขอให้บังคับจำเลยรับผิดคดีนี้กับคดีก่อนมีประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยแตกต่างกันกล่าวคือ คดีนี้มีประเด็นข้อพิพาทว่า จำเลยจำนองที่ดินโฉนดเลขที่ 12981 พร้อมสิ่งปลูกสร้างประกันหนี้ที่บริษัท ร. จะต้องรับผิดชำระตามคำพิพากษาในคดีก่อนและโจทก์ยังมิได้รับชำระหนี้หรือไม่ ส่วนคดีก่อนมีประเด็นตามคำฟ้องของโจทก์ว่า จำเลยค้ำประกันและจำนองที่ดินโฉนดเลขที่ 60775 พร้อมสิ่งปลูกสร้าง ประกันหนี้ที่บริษัท ร. จะต้องชำระแก่โจทก์ตามฟ้องและจำเลยจะต้องร่วมกับจำเลยอื่นในคดีก่อนรับผิดชำระหนี้แก่โจทก์ด้วยหรือไม่ กรณีจึงมิใช่เรื่องที่คู่ความเดียวกันรื้อร้องฟ้องกันอีกในประเด็นที่ได้วินิจฉัยมาแล้ว โดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกันอันจะต้องด้วยลักษณะเป็นฟ้องซ้ำตาม ป.วิ.พ. มาตรา 148 ฟ้องโจทก์คดีนี้จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำกับคดีก่อนอันถึงที่สุด
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 290, ม. 733
ป.วิ.พ. ม. 148


3. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6251/2541
ตามสัญญากู้ได้ระบุวงเงินให้กู้ของโจทก์และของผู้ให้กู้อื่นแก่จำเลยที่ 1 ไว้คนละจำนวนในวงเงินไม่เท่ากันและเป็นไปตามลำดับ โจทก์และผู้ให้กู้อื่นมีส่วนในหนี้นั้นแยกกัน จึงไม่เป็นเจ้าหนี้ร่วมกัน ทั้งตามสัญญาก็มิได้กำหนดว่าการฟ้องคดีโจทก์จะต้องได้รับความยินยอมหรือเห็นชอบจากผู้ให้กู้ด้วยกันเสียก่อนจึงจะฟ้องคดีได้ ตามบทบัญญัติของกฎหมายในเรื่องเจ้าหนี้หลายคนก็มิได้ระบุว่าผู้ให้กู้คนใดคนหนึ่งจะต้องได้รับความยินยอมหรือเห็นชอบจากผู้ให้กู้คนอื่นก่อนจึงจะฟ้องคดีได้ ดังนั้น โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องคดีนี้ได้โดยไม่ต้องได้รับความยินยอมจากผู้ให้กู้รายอื่นก่อน จำเลยทั้งสี่ให้การเกี่ยวกับดอกเบี้ยว่าจำเลยที่ 1ได้รับเงินตามสัญญากู้ไม่ครบวงเงินกู้ทำให้โครงการขาดทุนหมุนเวียนถือว่าโจทก์เป็นผู้ผิดสัญญา จำเลยไม่ต้องรับผิดในดอกเบี้ยเกินกว่าอัตราร้อยละ 13.5 ต่อปีในชั้นอุทธรณ์จำเลยทั้ง สี่ก็อุทธรณ์ทำนองเดียวกันนี้ซึ่งศาลอุทธรณ์ภาค 3 ก็วินิจฉัยว่า ข้อที่จำเลยทั้งสี่อุทธรณ์ว่าจำเลยทั้งสี่ไม่ต้องรับผิดดอกเบี้ยเกินอัตราร้อยละ 13.5 ต่อปีนั้นจำเลยทั้งสี่มิได้ยกขึ้นว่ากล่าวมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น จึงไม่รับวินิจฉัยให้ ดังนั้น ที่จำเลยทั้งสี่ฎีกาว่าอัตราดอกเบี้ยสูงเกินส่วนที่โจทก์ควรจะได้รับโจทก์วิเคราะห์ขนาดของเงินลงทุนผิดพลาด ทำให้จำเลยทั้งสี่เป็นหนี้หลายร้อยล้านบาทและไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้รับความเสียหายเป็นพิเศษเช่นใด จำเลยทั้งสี่จึง ไม่ต้องรับผิดเกินกว่าร้อยละ 13.5 ต่อปี จึงเป็นข้อที่ มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 3 อีกทั้งปัญหาเรื่องนี้มิใช่ปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อย ของประชาชน ศาลฎีกาจึงไม่รับวินิจฉัยให้
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 290, ม. 298
ป.วิ.พ. ม. 55, ม. 249
 

ข้อจำกัดความรับผิดชอบ: ข้อมูลเหล่านี้อาจไม่ใช่เวอร์ชันล่าสุด รัฐบาลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอาจมีข้อมูลที่เป็นปัจจุบันหรือแม่นยำกว่า เราไม่รับประกันหรือรับประกันเกี่ยวกับความถูกต้อง ความสมบูรณ์ หรือความเพียงพอของข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้หรือข้อมูลที่เชื่อมโยงกับเว็บไซต์ของรัฐ โปรดตรวจสอบแหล่งที่มาอย่างเป็นทางการ
ข้อมูลอ้างอิงจากเว็บไซต์ : www.krisdika.go.th, deka.supremecourt.or.th
แนะนำโดย Legardy
cta
ปรึกษาทนายได้ตลอด 24 ชม.
เพียงกดปุ่ม ปรึกษาได้ทันที