Banner blog website.png
เผยแพร่เมื่อ: 2023-05-30

มาตรา 277 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

“มาตรา 277 หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 277” คืออะไร? 


“มาตรา 277” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 277 “ คือ หนึ่งในมาตราของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ 
ซึ่งบัญญัติไว้ว่า “ เมื่อมีบุริมสิทธิสามัญหลายรายแย้งกัน ท่านให้ถือว่าบุริมสิทธิทั้งหลายนั้นมีลำดับที่จะให้ผลก่อนหลัง ดังที่ได้เรียงลำดับไว้ในมาตรา ๒๕๓
              เมื่อมีบุริมสิทธิสามัญแย้งกับบุริมสิทธิพิเศษ ท่านว่าบุริมสิทธิพิเศษย่อมอยู่ในลำดับก่อน แต่บุริมสิทธิในมูลค่าใช้จ่ายเพื่อประโยชน์ร่วมกันนั้นย่อมอยู่ในลำดับก่อนในฐานที่จะใช้สิทธินั้นต่อเจ้าหนี้ผู้ได้รับประโยชน์จากการนั้นหมดทุกคนด้วยกัน “

 


2 ตัวอย่างจริงของการใช้” มาตรา 277” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 277 ” ในประเทศไทย


1. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9245/2538
โจทก์ที่ 1 และที่ 2 ได้ร่วมกันรับประกันภัยทรัพย์พิพาทในวงเงินไม่เกิน 360,000 บาท ทั้งนี้โดยโจทก์ที่ 1 และที่ 2 จะต้องรับผิดชดใช้ในวงเงินร้อยละ 60 และ 40 ของค่าเสียหายทั้งหมดตามลำดับ เมื่อเกิดวินาศภัยขึ้นตามสัญญาและโจทก์ทั้งสองได้ร่วมกันชดใช้ค่าเสียหายตามวินาศภัยจริงให้แก่ผู้เอาประกันภัยตามส่วนที่รับประกันภัยไว้แล้ว จึงรับช่วงสิทธิจากผู้เอาประกันภัยมาร่วมกันเป็นโจทก์ฟ้องจำเลย ซึ่งเป็นนายจ้างหรือตัวการของผู้ทำละเมิดให้ร่วมรับผิดใช้เงินแก่โจทก์ทั้งสอง ดังนี้ การคำนวณทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกา ต้องถือทุนทรัพย์ของโจทก์แต่ละคนแยกต่างหากจากกัน คดีนี้ศาลอุทธรณ์ฟังข้อเท็จจริงว่าจำเลยมิใช่นายจ้างหรือตัวการของคนขับรถบรรทุกผู้ทำละเมิด จำเลยจึงไม่ต้องรับผิด ดังนี้ การที่โจทก์ที่ 1 และที่ 2 ฎีกาขอให้ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า แม้โจทก์ทั้งสองจะไม่มีพยานยืนยันว่าคนขับรถบรรทุกดังกล่าวเป็นลูกจ้างหรือตัวแทนของจำเลยก็ตามแต่คำพยานจำเลยก็ไม่มีน้ำหนักรับฟังนั้น เป็นการฎีกาโต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐาน ซึ่งเป็นฎีกาในข้อเท็จจริง เมื่อปรากฏว่า คดีนี้ทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาของโจทก์ทั้งสองแต่ละคนไม่เกิน 200,000 บาท จึงต้องห้ามมิให้ฎีกา ตามป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคหนึ่ง
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 870 วรรคแรก, ม. 277, ม. 880 วรรคแรก
ป.วิ.พ. ม. 150, ม. 248 วรรคหนึ่ง


2. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 875/2503
เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาได้นำยึดทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษาขายทอดตลาดเจ้าหนี้ ตามคำพิพากษาในคดีอื่น ย่อมยื่นคำร้องขอเฉลี่ยได้ แม้จะปรากฏว่าลูกหนี้ตามคำพิพากษาได้โอนที่ดินแปลงอื่นของตนให้แก่บุตรภายหลังคำพิพากษา แม้เป็นการทำให้เจ้าหนี้เสียเปรียบ ซึ่งชอบที่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาจะไปว่ากล่าวฟ้องร้องต่างหาก ในชั้นนี้มีปัญหาว่าเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาสามารถเอาชำระหนี้ จากทรัพย์สินของลูกหนี้ได้หรือไม่เท่านั้น
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 277
ป.วิ.พ. ม. 290
 

ข้อจำกัดความรับผิดชอบ: ข้อมูลเหล่านี้อาจไม่ใช่เวอร์ชันล่าสุด รัฐบาลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอาจมีข้อมูลที่เป็นปัจจุบันหรือแม่นยำกว่า เราไม่รับประกันหรือรับประกันเกี่ยวกับความถูกต้อง ความสมบูรณ์ หรือความเพียงพอของข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้หรือข้อมูลที่เชื่อมโยงกับเว็บไซต์ของรัฐ โปรดตรวจสอบแหล่งที่มาอย่างเป็นทางการ
ข้อมูลอ้างอิงจากเว็บไซต์ : www.krisdika.go.th, deka.supremecourt.or.th
แนะนำโดย Legardy
cta
ปรึกษาทนายได้ตลอด 24 ชม.
เพียงกดปุ่ม ปรึกษาได้ทันที