Banner blog website.png
เผยแพร่เมื่อ: 2023-05-30

มาตรา 275 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

“มาตรา 275 หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 275” คืออะไร? 


“มาตรา 275” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 275 “ คือ หนึ่งในมาตราของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ 
ซึ่งบัญญัติไว้ว่า “ บุริมสิทธิในมูลจ้างทำของเป็นการงานทำขึ้นบนอสังหาริมทรัพย์นั้น ใช้สำหรับเอาสินจ้าง ค่าทำของเป็นการงานอันผู้ก่อสร้าง สถาปนิก หรือผู้รับจ้างได้ทำลงบนอสังหาริมทรัพย์ของลูกหนี้ และมีอยู่เหนืออสังหาริมทรัพย์อันนั้น
              อนึ่ง บุริมสิทธินี้ย่อมเกิดมีขึ้นต่อเมื่ออสังหาริมทรัพย์นั้นมีราคาเพิ่มขึ้นในปัจจุบันเพราะการที่ได้ทำขึ้นนั้น และมีอยู่เพียงเหนือราคาที่เพิ่มขึ้นเท่านั้น “

 


3 ตัวอย่างจริงของการใช้” มาตรา 275” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 275 ” ในประเทศไทย


1. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15479/2558
ป.พ.พ. มาตรา 251 บัญญัติว่า "ผู้ทรงบุริมสิทธิย่อมทรงไว้ซึ่งสิทธิเหนือทรัพย์สินของลูกหนี้ในการที่จะได้รับชำระหนี้อันค้างชำระแก่ตนจากทรัพย์สินนั้นก่อนเจ้าหนี้อื่น ๆ โดยนัยดังบัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายนี้ หรือบทกฎหมายอื่น" บุริมสิทธิจึงมีลักษณะเป็นสิทธิอันเป็นอุปกรณ์แห่งหนี้ กรณีจึงต้องมีหนี้ที่ลูกหนี้ต้องรับผิดชอบต่อเจ้าหนี้ก่อน เจ้าหนี้จึงสามารถใช้สิทธิของตนในอันที่จะได้รับชำระหนี้จากทรัพย์สินของลูกหนี้ก่อนเจ้าหนี้คนอื่น ดังนั้น ไม่ว่าโจทก์จะเรียกร้องเอาค่ารักษาอสังหาริมทรัพย์ ตามมาตรา 274 วรรคหนึ่ง หรือเรียกเอาค่าจ้างทำของเป็นการงานทำขึ้นบนอสังหาริมทรัพย์ตามมาตรา 275 วรรคหนึ่ง ก็จะต้องปรากฏข้อเท็จจริงว่าจำเลยทั้งสองซึ่งเป็นผู้ที่โจทก์เรียกร้องให้ชำระหนี้เป็นเจ้าของที่ดินพิพาททั้งสองแปลงและหนี้ที่เรียกร้องเอามีมูลมาจากการที่โจทก์ได้รักษาที่ดินพิพาทหรือได้ใช้จ่ายเงินไปเพื่อจะสงวนสิทธิหรือรับสภาพสิทธิหรือบังคับสิทธิอันเกี่ยวด้วยที่ดินพิพาททั้งสองแปลง หรือมีมูลจากการจ้างทำของเป็นการงานขึ้นบนที่ดินพิพาท เมื่อตามทางนำสืบของโจทก์ได้ความว่า ขณะโจทก์ก่อสร้างรั้วล้อมรอบที่ดินพิพาททั้งสองแปลงก็ดี ขณะก่อสร้างอาคาร วางระบบท่อน้ำ อุปกรณ์จ่ายน้ำ ขุดบ่อน้ำ เดินสายไฟและปลูกต้นไม้ในที่ดินพิพาท โจทก์เป็นผู้มีชื่อถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาททั้งสองแปลง กรณีจึงไม่ใช่เป็นเรื่องที่โจทก์ได้ดูแลรักษาอสังหาริมทรัพย์ของ ท. หรือ บ. แล้วเรียกเอาค่ารักษาดูแลหรือได้ว่าจ้างให้โจทก์กระทำการต่าง ๆ ลงบนอสังหาริมทรัพย์ อันจะทำให้โจทก์มีบุริมสิทธิเหนือที่ดินพิพาททั้งสองแปลง
ตามข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาในคำฟ้องของโจทก์เป็นเรื่องที่โจทก์ประสงค์จะเรียกเอาค่ารักษาดูแลที่ดินพิพาทและค่าการงานที่ได้ทำลงในที่ดินพิพาทจากจำเลยทั้งสอง การที่จำเลยทั้งสองมาฟ้องแย้งขอให้ขับไล่โจทก์และเรียกค่าเสียหายกับขอให้บังคับโจทก์จดทะเบียนไถ่ถอนจำนองที่ดินพิพาทตามโฉนดที่ดินเลขที่ 26998 ซึ่งไม่เกี่ยวกับประเด็นว่าโจทก์มีสิทธิเรียกร้องเอาค่ารักษาอสังหาริมทรัพย์และค่าการงานหรือไม่ จึงถือไม่ได้ว่าเป็นฟ้องแย้งที่เกี่ยวกับคำฟ้องเดิมที่ศาลจะรับไว้พิจารณาได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 177 วรรคสาม สำหรับคำขอท้ายคำฟ้องแม้เป็นส่วนหนึ่งของคำฟ้อง แต่ก็ไม่ใช่ข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาที่จะใช้เป็นข้อพิจารณาว่าฟ้องแย้งเกี่ยวข้องกับคำฟ้องเดิมหรือไม่

การที่จำเลยจะฟ้องแย้งมาในคำให้การได้ ป.วิ.พ. มาตรา 177 วรรคสาม บัญญัติบังคับไว้ว่าฟ้องแย้งนั้นจะต้องเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับฟ้องเดิม หากเป็นเรื่องอื่นไม่เกี่ยวกับคำฟ้องเดิม ให้ศาลสั่งให้จำเลยฟ้องเป็นคดีต่างหาก จากบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าวจะเห็นได้ว่า หากฟ้องแย้งที่จำเลยฟ้องมาในคำให้การไม่เกี่ยวกับคำฟ้องเดิม ฟ้องแย้งนั้นก็ไม่ใช่ฟ้องแย้ง แม้ศาลชั้นต้นรับฟ้องแย้งนั้นไว้เป็นฟ้องแย้ง ฟ้องแย้งนั้นก็เป็นฟ้องแย้งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ปัญหาว่าฟ้องแย้งของจำเลยทั้งสองเป็นฟ้องแย้งที่ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ เป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 ยกปัญหานี้ขึ้นวินิจฉัยจึงชอบแล้ว
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.วิ.พ. ม. 177 วรรคสาม
ป.พ.พ. ม. 251, ม. 274 วรรคหนึ่ง, ม. 275 วรรคหนึ่ง


2. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2448/2551
การจำนำเครื่องจักรโดยคู่สัญญาตกลงให้ อ. ภริยาจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนบริษัทจำเลยที่ 1 ผู้เป็นลูกหนี้เป็นผู้รักษาทรัพย์สิน แต่จำเลยที่ 1 เป็นผู้ใช้ประโยชน์จากทรัพย์สินจำนำในการประกอบธุรกิจโรงโม่หินของตนตลอดมา ซึ่งเครื่องจักรนั้นจำเลยที่ 1 ผู้จำนำซื้อจากโจทก์เพื่อผลิตสินค้าออกจำหน่ายสร้างรายได้ และนำเงินชำระคืนแก่ผู้ร้องซึ่งรับจำนำ แสดงให้เห็นถึงเจตนาของจำเลยที่ 1 ที่ต้องการใช้เครื่องจักรผลิตสินค้าเพื่อประโยชน์ของตนแต่เพียงฝ่ายเดียว แม้ว่าสัญญาจำนำและรักษาทรัพย์จะมีข้อตกลงว่าผู้จำนำได้รับอนุญาตให้ใช้ประโยชน์ในเครื่องจักรที่จำนำก็ไม่ถือว่าเครื่องจักรกลับคืนไปสู่การครอบครองของผู้จำนำ เป็นการเขียนสัญญาไว้เพื่อเลี่ยงกฎหมาย การที่ผู้ร้องยอมให้จำเลยที่ 1 เข้าใช้ประโยชน์จากทรัพย์สินจำนำย่อมเป็นการยอมให้ทรัพย์สินจำนำกลับคืนไปสู่การครอบครองของผู้จำนำตามมาตรา 769 (2) แล้ว สิทธิจำนำจึงระงับสิ้นไป ผู้ร้องจึงไม่มีบุริมสิทธิที่จะได้รับชำระหนี้ก่อนตามสัญญาจำนำเครื่องจักร
เจ้าหนี้ที่จะมีบุริมสิทธิในมูลหนี้จ้างทำของ เจ้าหนี้นั้นจะต้องทำรายการประมาณราคาชั่วคราวไปบอกลงทะเบียนไว้ก่อนเริ่มลงมือทำการก่อสร้างเพื่อให้มีผลบริบูรณ์เป็นบุริมสิทธิพิเศษใช้ยันเจ้าหนี้อื่นในการที่จะได้รับชำระหนี้ก่อนเจ้าหนี้อื่นตาม ป.พ.พ. มาตรา 286 โจทก์ไม่ได้กระทำการดังกล่าว ทั้งบุริมสิทธิในมูลจ้างทำของอันเป็นการงานทำขึ้นบนอสังหาริมทรัพย์นั้น กฎหมายให้มีอยู่เหนืออสังหาริมทรัพย์ที่ทำการงานขึ้น และอสังหาริมทรัพย์นั้นต้องเป็นของลูกหนี้ แต่ที่ดินซึ่งโจทก์ทำการก่อสร้างโรงโม่หินเป็นของกรมป่าไม้มิใช่เป็นของจำเลยที่ 1 จึงไม่ใช่เรื่องที่โจทก์มีบุริมสิทธิเหนืออสังหาริมทรัพย์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 273 และมาตรา 275 โจทก์จึงมิใช่เจ้าหนี้บุริมสิทธิ เมื่อโจทก์และผู้ร้องต่างก็เป็นเจ้าหนี้สามัญด้วยกัน จึงชอบที่จะใช้สิทธิตาม ป.วิ.พ. มาตรา 290 เพื่อเฉลี่ยทรัพย์
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 171, ม. 273, ม. 275, ม. 286, ม. 769
ป.วิ.พ. ม. 290


3. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2448/2551
แม้ว่าสัญญาจำนำและรักษาทรัพย์ ข้อ 3 จะมีข้อตกลงว่า ผู้จำนำจะได้รับอนุญาตให้ใช้ประโยชน์ในเครื่องจักรที่จำนำก็ไม่ถือว่าเครื่องจักรกลกลับคืนไปสู่การครอบครองของผู้จำนำก็ตาม ก็เป็นการเขียนสัญญาไว้เพื่อเลี่ยงกฎหมาย ทั้งในการตีความการแสดงเจตนานั้นให้เพ่งเล็งถึงเจตนาอันแท้จริงยิ่งกว่าถ้อยคำสำนวนหรือตัวอักษรตาม ป.พ.พ. มาตรา 171 เมื่อเจตนาที่แท้จริงของลูกหนี้ต้องการใช้ประโยชน์จากเครื่องจักรอันเป็นทรัพย์สินที่จำนำ การที่ผู้ร้องซึ่งเป็นผู้รับจำนำเครื่องจักรยอมให้ลูกหนี้เข้าใช้ประโยชน์จากทรัพย์สินจำนำย่อมเป็นการยอมให้ทรัพย์สินจำนำกลับคืนไปสู่การครอบครองของผู้จำนำตาม ป.พ.พ. มาตรา 769 (2) แล้ว สิทธิจำนำของผู้ร้องจึงระงับสิ้นไป ผู้ร้องจึงไม่มีบุริมสิทธิที่จะได้รับชำระหนี้ก่อนตามสัญญาจำนำเครื่องจักร
เจ้าหนี้บุริมสิทธิในมูลหนี้จ้างทำของต้องทำรายการประมาณราคาชั่วคราวไปบอกลงทะเบียนไว้ก่อนเริ่มลงมือทำการก่อสร้างเพื่อให้มีผลบริบูรณ์เป็นบุริมสิทธิพิเศษใช้ยันเจ้าหนี้อื่นในการที่จะได้รับชำระหนี้ก่อนเจ้าหนี้อื่นตาม ป.พ.พ. มาตรา 286 แต่ไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้กระทำการดังกล่าว นอกจากนี้ บุริมสิทธิในมูลจ้างทำของอันเป็นการงานขึ้นบนอสังหาริมทรัพย์นั้น กฎหมายให้มีอยู่เหนืออสังหาริมทรัพย์ที่ทำการงานขึ้น และอสังหาริมทรัพย์นั้นต้องเป็นของลูกหนี้ แต่ที่ดินซึ่งโจทก์ทำการก่อสร้างโรงโม่หินเป็นของกรมป่าไม้มิใช่เป็นของจำเลยที่ 1 กรณีจึงไม่ใช่เรื่องที่โจทก์มีบุริมสิทธิเหนืออสังหาริมทรัพย์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 273 และมาตรา 275 โจทก์จึงไม่ใช่เจ้าหนี้บุริมสิทธิ
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 171, ม. 273, ม. 275, ม. 286, ม. 769 (2)
 

ข้อจำกัดความรับผิดชอบ: ข้อมูลเหล่านี้อาจไม่ใช่เวอร์ชันล่าสุด รัฐบาลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอาจมีข้อมูลที่เป็นปัจจุบันหรือแม่นยำกว่า เราไม่รับประกันหรือรับประกันเกี่ยวกับความถูกต้อง ความสมบูรณ์ หรือความเพียงพอของข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้หรือข้อมูลที่เชื่อมโยงกับเว็บไซต์ของรัฐ โปรดตรวจสอบแหล่งที่มาอย่างเป็นทางการ
ข้อมูลอ้างอิงจากเว็บไซต์ : www.krisdika.go.th, deka.supremecourt.or.th
แนะนำโดย Legardy
cta
ปรึกษาทนายได้ตลอด 24 ชม.
เพียงกดปุ่ม ปรึกษาได้ทันที