Banner blog website.png
เผยแพร่เมื่อ: 2023-05-30

มาตรา 274 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

“มาตรา 274 หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 274” คืออะไร? 


“มาตรา 274” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 274 “ คือ หนึ่งในมาตราของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ 
ซึ่งบัญญัติไว้ว่า “  บุริมสิทธิในมูลรักษาอสังหาริมทรัพย์นั้นใช้สำหรับเอาค่าใช้จ่ายเพื่อรักษาอสังหาริมทรัพย์ และมีอยู่เหนืออสังหาริมทรัพย์อันนั้น
              อนึ่งบทบัญญัติแห่งมาตรา ๒๖๙ วรรคสองนั้น ท่านให้นำมาใช้บังคับแก่กรณีที่กล่าวมาในวรรคก่อนนี้ด้วย“

 


3 ตัวอย่างจริงของการใช้” มาตรา 274” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 274 ” ในประเทศไทย


1. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3484/2553
หนี้ในมูลรักษาอสังหาริมทรัพย์อันจะมีบุริมสิทธิตาม ป.พ.พ. มาตรา 273 (1), 274 และ 269 คือ หนี้ค่าใช้จ่ายเพื่อรักษาอสังหาริมทรัพย์นั้นโดยตรง ซึ่งรวมถึงหนี้ค่าใช้จ่ายอันจำเป็นที่ได้เสียไปเพื่อที่จะสงวนสิทธิ รับสภาพสิทธิ หรือบังคับสิทธิอันเกี่ยวด้วยอสังหาริมทรัพย์นั้นโดยตรง แม้ผู้ร้องจะได้รับมอบหมายจากเจ้าพนักงานบังคับคดีให้เป็นผู้เก็บรักษาทรัพย์ แต่การที่ผู้ร้องถูกเจ้าพนักงานตำรวจจับกุมตัวไปดำเนินคดีเป็นเรื่องสืบเนื่องมาจากการที่ผู้ร้องเข้าไปหาจำเลยแล้วจำเลยไปร้องทุกข์ต่อเจ้าพนักงานตำรวจว่าผู้ร้องบุกรุกเข้าไปในบ้านจำเลย การเรียกค่าเสียหายจากการถูกดำเนินคดีข้อหาบุกรุกเป็นคนละเรื่องกับค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษาบ้านอันเป็นอสังหาริมทรัพย์นั้นโดยตรง ที่ผู้ร้องจะต้องไปดำเนินการแก่จำเลยเป็นคดีอีกส่วนหนึ่งต่างหาก มิใช่เป็นค่าใช้จ่ายอันจำเป็นในการสงวนสิทธิหรือรับสภาพสิทธิหรือบังคับสิทธิอันเกี่ยวด้วยสังหาริมทรัพย์นั้น
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 269, ม. 273 (1), ม. 274
ป.วิ.พ. ม. 289


2. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5878/2534
ศาลชั้นต้นสั่งให้ผู้ค้ำประกันหาหลักประกันมาวางเพิ่มขึ้นอีก70,000 บาท ผู้ค้ำประกันได้นำ น.ส.3 ก. มาวางศาลเมื่อวันที่7 กรกฎาคม 2530 แต่ต่อมาวันที่ 13 กรกฎาคม 2530 ผู้ค้ำประกันยอมทำสัญญาค้ำประกันต่อศาลชั้นต้นระบุว่า หากจำเลยทั้งสองแพ้คดีโจทก์และไม่นำเงินมาชำระให้ตามคำพิพากษาเป็นจำนวนทั้งสิ้นเท่าใด ผู้ค้ำประกันยอมให้บังคับคดีเอาจากหลักทรัพย์ที่ผู้ค้ำประกันได้นำมาวางไว้เป็นประกันต่อศาล และเมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน 2531ผู้ค้ำประกันได้ยื่นคำร้องขอถอนหลักทรัพย์คืน ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้คืนได้โดยให้วางเงินเท่าจำนวนหลักทรัพย์จำนวน 123,574.50 บาทซึ่งผู้ค้ำประกันก็ยินยอมปฏิบัติตาม ตามพฤติการณ์ที่แสดงออกของผู้ค้ำประกันทั้งสองครั้งแสดงให้เห็นอย่างชัดแจ้งว่า ผู้ร้องได้สละสิทธิและเปลี่ยนเจตนาที่จะยอมผูกพันเพียงเท่าจำนวนเงินที่นำมาวางตามคำสั่งศาลชั้นต้นในตอนแรก แต่ยอมผูกพันรับผิดชอบในหนี้ทั้งหมดที่จำเลยทั้งสองจะต้องชำระตามคำพิพากษาให้แก่โจทก์.
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 274


3. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15479/2558
ป.พ.พ. มาตรา 251 บัญญัติว่า "ผู้ทรงบุริมสิทธิย่อมทรงไว้ซึ่งสิทธิเหนือทรัพย์สินของลูกหนี้ในการที่จะได้รับชำระหนี้อันค้างชำระแก่ตนจากทรัพย์สินนั้นก่อนเจ้าหนี้อื่น ๆ โดยนัยดังบัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายนี้ หรือบทกฎหมายอื่น" บุริมสิทธิจึงมีลักษณะเป็นสิทธิอันเป็นอุปกรณ์แห่งหนี้ กรณีจึงต้องมีหนี้ที่ลูกหนี้ต้องรับผิดชอบต่อเจ้าหนี้ก่อน เจ้าหนี้จึงสามารถใช้สิทธิของตนในอันที่จะได้รับชำระหนี้จากทรัพย์สินของลูกหนี้ก่อนเจ้าหนี้คนอื่น ดังนั้น ไม่ว่าโจทก์จะเรียกร้องเอาค่ารักษาอสังหาริมทรัพย์ ตามมาตรา 274 วรรคหนึ่ง หรือเรียกเอาค่าจ้างทำของเป็นการงานทำขึ้นบนอสังหาริมทรัพย์ตามมาตรา 275 วรรคหนึ่ง ก็จะต้องปรากฏข้อเท็จจริงว่าจำเลยทั้งสองซึ่งเป็นผู้ที่โจทก์เรียกร้องให้ชำระหนี้เป็นเจ้าของที่ดินพิพาททั้งสองแปลงและหนี้ที่เรียกร้องเอามีมูลมาจากการที่โจทก์ได้รักษาที่ดินพิพาทหรือได้ใช้จ่ายเงินไปเพื่อจะสงวนสิทธิหรือรับสภาพสิทธิหรือบังคับสิทธิอันเกี่ยวด้วยที่ดินพิพาททั้งสองแปลง หรือมีมูลจากการจ้างทำของเป็นการงานขึ้นบนที่ดินพิพาท เมื่อตามทางนำสืบของโจทก์ได้ความว่า ขณะโจทก์ก่อสร้างรั้วล้อมรอบที่ดินพิพาททั้งสองแปลงก็ดี ขณะก่อสร้างอาคาร วางระบบท่อน้ำ อุปกรณ์จ่ายน้ำ ขุดบ่อน้ำ เดินสายไฟและปลูกต้นไม้ในที่ดินพิพาท โจทก์เป็นผู้มีชื่อถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาททั้งสองแปลง กรณีจึงไม่ใช่เป็นเรื่องที่โจทก์ได้ดูแลรักษาอสังหาริมทรัพย์ของ ท. หรือ บ. แล้วเรียกเอาค่ารักษาดูแลหรือได้ว่าจ้างให้โจทก์กระทำการต่าง ๆ ลงบนอสังหาริมทรัพย์ อันจะทำให้โจทก์มีบุริมสิทธิเหนือที่ดินพิพาททั้งสองแปลง
ตามข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาในคำฟ้องของโจทก์เป็นเรื่องที่โจทก์ประสงค์จะเรียกเอาค่ารักษาดูแลที่ดินพิพาทและค่าการงานที่ได้ทำลงในที่ดินพิพาทจากจำเลยทั้งสอง การที่จำเลยทั้งสองมาฟ้องแย้งขอให้ขับไล่โจทก์และเรียกค่าเสียหายกับขอให้บังคับโจทก์จดทะเบียนไถ่ถอนจำนองที่ดินพิพาทตามโฉนดที่ดินเลขที่ 26998 ซึ่งไม่เกี่ยวกับประเด็นว่าโจทก์มีสิทธิเรียกร้องเอาค่ารักษาอสังหาริมทรัพย์และค่าการงานหรือไม่ จึงถือไม่ได้ว่าเป็นฟ้องแย้งที่เกี่ยวกับคำฟ้องเดิมที่ศาลจะรับไว้พิจารณาได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 177 วรรคสาม สำหรับคำขอท้ายคำฟ้องแม้เป็นส่วนหนึ่งของคำฟ้อง แต่ก็ไม่ใช่ข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาที่จะใช้เป็นข้อพิจารณาว่าฟ้องแย้งเกี่ยวข้องกับคำฟ้องเดิมหรือไม่
การที่จำเลยจะฟ้องแย้งมาในคำให้การได้ ป.วิ.พ. มาตรา 177 วรรคสาม บัญญัติบังคับไว้ว่าฟ้องแย้งนั้นจะต้องเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับฟ้องเดิม หากเป็นเรื่องอื่นไม่เกี่ยวกับคำฟ้องเดิม ให้ศาลสั่งให้จำเลยฟ้องเป็นคดีต่างหาก จากบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าวจะเห็นได้ว่า หากฟ้องแย้งที่จำเลยฟ้องมาในคำให้การไม่เกี่ยวกับคำฟ้องเดิม ฟ้องแย้งนั้นก็ไม่ใช่ฟ้องแย้ง แม้ศาลชั้นต้นรับฟ้องแย้งนั้นไว้เป็นฟ้องแย้ง ฟ้องแย้งนั้นก็เป็นฟ้องแย้งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ปัญหาว่าฟ้องแย้งของจำเลยทั้งสองเป็นฟ้องแย้งที่ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ เป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 ยกปัญหานี้ขึ้นวินิจฉัยจึงชอบแล้ว
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.วิ.พ. ม. 177 วรรคสาม
ป.พ.พ. ม. 251, ม. 274 วรรคหนึ่ง, ม. 275 วรรคหนึ่ง
 

ข้อจำกัดความรับผิดชอบ: ข้อมูลเหล่านี้อาจไม่ใช่เวอร์ชันล่าสุด รัฐบาลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอาจมีข้อมูลที่เป็นปัจจุบันหรือแม่นยำกว่า เราไม่รับประกันหรือรับประกันเกี่ยวกับความถูกต้อง ความสมบูรณ์ หรือความเพียงพอของข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้หรือข้อมูลที่เชื่อมโยงกับเว็บไซต์ของรัฐ โปรดตรวจสอบแหล่งที่มาอย่างเป็นทางการ
ข้อมูลอ้างอิงจากเว็บไซต์ : www.krisdika.go.th, deka.supremecourt.or.th
แนะนำโดย Legardy
cta
ปรึกษาทนายได้ตลอด 24 ชม.
เพียงกดปุ่ม ปรึกษาได้ทันที