Banner blog website.png
เผยแพร่เมื่อ: 2023-05-29

มาตรา 27 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

“มาตรา 27 หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 27” คืออะไร? 


“มาตรา 27” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 27 “ คือ หนึ่งในมาตราของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ 
ซึ่งบัญญัติไว้ว่า “ ผู้แทนโดยชอบธรรมอาจให้ความยินยอมแก่ผู้เยาว์ในการประกอบธุรกิจทางการค้าหรือธุรกิจอื่น หรือในการทำสัญญาเป็นลูกจ้างในสัญญาจ้างแรงงานได้ ในกรณีที่ผู้แทนโดยชอบธรรมไม่ให้ความยินยอมโดยไม่มีเหตุอันสมควร ผู้เยาว์อาจร้องขอต่อศาลให้สั่งอนุญาตได้
              ในความเกี่ยวพันกับการประกอบธุรกิจหรือการจ้างแรงงานตามวรรคหนึ่งให้ผู้เยาว์มีฐานะเสมือนดังบุคคลซึ่งบรรลุนิติภาวะแล้ว
              ถ้าการประกอบธุรกิจหรือการทำงานที่ได้รับความยินยอมหรือที่ได้รับอนุญาตตามวรรคหนึ่ง ก่อให้เกิดความเสียหายถึงขนาดหรือเสื่อมเสียแก่ผู้เยาว์ ผู้แทนโดยชอบธรรมอาจบอกเลิกความยินยอมที่ได้ให้แก่ผู้เยาว์เสียได้ หรือในกรณีที่ศาลอนุญาต ผู้แทนโดยชอบธรรมอาจร้องขอต่อศาลให้เพิกถอนการอนุญาตที่ได้ให้แก่ผู้เยาว์นั้นเสียได้

 


              ในกรณีที่ผู้แทนโดยชอบธรรมบอกเลิกความยินยอมโดยไม่มีเหตุอันสมควร ผู้เยาว์อาจร้องขอต่อศาลให้เพิกถอนการบอกเลิกความยินยอมของผู้แทนโดยชอบธรรมได้
              การบอกเลิกความยินยอมโดยผู้แทนโดยชอบธรรมหรือการเพิกถอนการอนุญาตโดยศาล ย่อมทำให้ฐานะเสมือนดังบุคคลซึ่งบรรลุนิติภาวะแล้วของผู้เยาว์สิ้นสุดลง แต่ไม่กระทบกระเทือนการใด ๆ ที่ผู้เยาว์ได้กระทำไปแล้วก่อนมีการบอกเลิกความยินยอมหรือเพิกถอนการอนุญาต “


1 ตัวอย่างจริงของการใช้” มาตรา 27” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 27 ” ในประเทศไทย 


1. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2667/2550
คำร้องของจำเลยที่อ้างว่า จำเลยลงลายมือชื่อในสัญญาประนีประนอมยอมความโดยหลงผิดในสาระสำคัญแห่งสัญญาเนื่องจากจำเลยไม่เข้าใจถึงข้อความที่ระบุในสัญญาให้โจทก์บังคับจำเลยให้ออกจากอาคารพิพาท คำพิพากษาของศาลจึงตกเป็นโมฆะ สัญญาประนีประนอมยอมความและคำพิพากษาขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชน เพราะสัญญาเช่าระหว่างโจทก์กับโจทก์ร่วมได้สิ้นสุดลงก่อนที่จะทำสัญญาประนีประนอมยอมความนั้น เท่ากับจำเลยกล่าวอ้างว่า คำพิพากษาตามยอมเป็นการละเมิดต่อบทบัญญัติแห่งกฎหมายอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน อันเป็นเพียงเหตุตาม ป.วิ.พ. มาตรา 138 (2) ที่จำเลยชอบที่จะใช้สิทธิอุทธรณ์ได้เท่านั้น แต่มิใช่เหตุที่จำเลยจะยกขึ้นกล่าวอ้างเพื่อให้ศาลมีคำสั่งว่าคำพิพากษาตามยอมไม่ชอบด้วยกฎหมาย และยกเลิกเพิกถอนกระบวนพิจารณาที่ดำเนินการมาแล้วเสียทั้งหมดได้
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 27, ม. 138
 

ข้อจำกัดความรับผิดชอบ: ข้อมูลเหล่านี้อาจไม่ใช่เวอร์ชันล่าสุด รัฐบาลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอาจมีข้อมูลที่เป็นปัจจุบันหรือแม่นยำกว่า เราไม่รับประกันหรือรับประกันเกี่ยวกับความถูกต้อง ความสมบูรณ์ หรือความเพียงพอของข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้หรือข้อมูลที่เชื่อมโยงกับเว็บไซต์ของรัฐ โปรดตรวจสอบแหล่งที่มาอย่างเป็นทางการ
ข้อมูลอ้างอิงจากเว็บไซต์ : www.krisdika.go.th, deka.supremecourt.or.th
แนะนำโดย Legardy
cta
ปรึกษาทนายได้ตลอด 24 ชม.
เพียงกดปุ่ม ปรึกษาได้ทันที