Banner blog website.png
เผยแพร่เมื่อ: 2023-05-30

มาตรา 269 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

“มาตรา 269 หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 269” คืออะไร? 


“มาตรา 269” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 269 “ คือ หนึ่งในมาตราของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ 
ซึ่งบัญญัติไว้ว่า “ บุริมสิทธิในมูลรักษาสังหาริมทรัพย์นั้น ใช้สำหรับเอาค่าใช้จ่ายเพื่อรักษาสังหาริมทรัพย์ และมีอยู่เหนือสังหาริมทรัพย์อันนั้น
              อนึ่งบุริมสิทธินี้ยังใช้สำหรับเอาค่าใช้จ่ายที่จำเป็นอันได้เสียไปเพื่อที่จะสงวนสิทธิ หรือรับสภาพสิทธิ หรือบังคับสิทธิ อันเกี่ยวด้วยสังหาริมทรัพย์นั้นอีกด้วย “

 


3 ตัวอย่างจริงของการใช้” มาตรา 269” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 269 ” ในประเทศไทย


1. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3484/2553
หนี้ในมูลรักษาอสังหาริมทรัพย์อันจะมีบุริมสิทธิตาม ป.พ.พ. มาตรา 273 (1), 274 และ 269 คือ หนี้ค่าใช้จ่ายเพื่อรักษาอสังหาริมทรัพย์นั้นโดยตรง ซึ่งรวมถึงหนี้ค่าใช้จ่ายอันจำเป็นที่ได้เสียไปเพื่อที่จะสงวนสิทธิ รับสภาพสิทธิ หรือบังคับสิทธิอันเกี่ยวด้วยอสังหาริมทรัพย์นั้นโดยตรง แม้ผู้ร้องจะได้รับมอบหมายจากเจ้าพนักงานบังคับคดีให้เป็นผู้เก็บรักษาทรัพย์ แต่การที่ผู้ร้องถูกเจ้าพนักงานตำรวจจับกุมตัวไปดำเนินคดีเป็นเรื่องสืบเนื่องมาจากการที่ผู้ร้องเข้าไปหาจำเลยแล้วจำเลยไปร้องทุกข์ต่อเจ้าพนักงานตำรวจว่าผู้ร้องบุกรุกเข้าไปในบ้านจำเลย การเรียกค่าเสียหายจากการถูกดำเนินคดีข้อหาบุกรุกเป็นคนละเรื่องกับค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษาบ้านอันเป็นอสังหาริมทรัพย์นั้นโดยตรง ที่ผู้ร้องจะต้องไปดำเนินการแก่จำเลยเป็นคดีอีกส่วนหนึ่งต่างหาก มิใช่เป็นค่าใช้จ่ายอันจำเป็นในการสงวนสิทธิหรือรับสภาพสิทธิหรือบังคับสิทธิอันเกี่ยวด้วยสังหาริมทรัพย์นั้น
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 269, ม. 273 (1), ม. 274
ป.วิ.พ. ม. 289


2. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 144/2548
โจทก์เป็นผู้ขายสินค้าและรับประโยชน์ตามเลตเตอร์ออฟเครดิตมีหน้าที่และความรับผิดชอบโดยตรงในกาส่งสินค้าและรวบรวมเอกสารการส่งสินค้าให้ตรงตามเงื่อนไขของเลตเตอร์ออฟเครดิตเพื่อยืนยันและขอรับตามเลตเตอร์ออฟเครดิต จำเลยเป้นธนาคารผู้แจ้งเครดิตและตามเลตเตอร์ออฟเครดิตจำเลยได้รับการแต่งตั้งให้กระทำการแทนในการจ่ายเงินหรือการรับซื้อตั๋วเงินและเอกสารด้วยจำเลยจึงปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวในฐานะตัวแทนของธนาคารผู้เปิดเครดิตกับธนาคารผู้ยืนยันเครดิตดังกล่าว หากจำเลยปฏิบัติหน้าที่บกพร่องก่อให้เกิดความเสียหายแก่ธนาคารซึ่งเป็นตัวการ ก็เป็นเรื่องที่จำเลยจะต้องรับผิดชอบต่อตัวการ แต่ความผิดชอบในการตรวจเอกสารตามยูซีพี 500 มิใช่หน้าที่เพื่อประโยชน์แก่ผู้รับประโยชน์ตามเลตเตอร์ออฟเครดิตซึ่งเป็นผู้มีหน้าที่ต้องตัดหาเอกสารที่ถูกต้องครบถ้วนมาแสดงเองโดยตรง จึงเลยจึงไม่ต้องรับผิดชอบเกี่ยวกับการตรวจสอบเอกสารการส่งสินค้าต่อโจทก์
จำเลยไม่มีหน้าที่และความรับผิดในการตรวจสอบเอกสารส่งสินค้าออกให้แก่โจทก์และสลักหลังกรมธรรม์ประกันภัย การที่จำเลยจัดส่งเอกสารการส่งสินค้าออกไปให้ธนาคารผู้ยืนยันเครดิตโดยจำเลยมิได้สลักหลังกรมธรรม์ประกันภัยสินค้าแต่ละงวด และเอกสารการส่งสินค้าออกมีข้อความไม่ตรงตามเงื่อนไขของเลตเตอร์ออฟเครดิตเป็นเหตุให้ผู้ซื้อปฏิเสธไม่รับสินค้าของโจทก์ และธนาคารผู้ยืนยันเครดิตปฏิเสธไม่จ่ายเงินค้าสินค้า โดยแจ้งสาเหตุว่าการสลักหลังกรมธรรม์ประกันภัยมิได้เป็นไปตามคำสั่งของธนาคารผู้เปิดเครดิตและใบตราส่งสินค้าระบุค่าใช้จ่ายอื่นด้วยนอกเหนือจากค่าระวางเรือจึงถือไม่ได้ว่าจำเลยปฏิบัติผิดหน้าที่ตามสัญญาค่อโจทก์หรือความเสียหายของโจทก์เกิดจากการกระทำของจำเลย โจทก์ย่อมไม่มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 269


3. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2693/2540
โจทก์ทำสัญญาจองซื้อที่ดินกับจำเลยโดยได้ระบุราคาที่จองซื้อที่ดินไว้ในราคาเดียวกับที่จำเลยกำหนดไว้ในประกาศทั้งยังได้วางเงินมัดจำกันไว้ตามจำนวนของเงื่อนไขในประกาศของจำเลยเช่นนี้จึงต้องถือว่าในการทำสัญญาจองซื้อที่ดินโจทก์และจำเลยตกลงกันให้การชำระราคาที่ดินเป็นไปตามประกาศดังกล่าว ในสัญญาจองซื้อที่ดินข้อ3ระบุว่าโจทก์ผู้จองจะต้องมาทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินกับจำเลยภายใน30วันนับแต่วันที่จำเลยได้มีหนังสือแจ้งให้ผู้จองมาทำสัญญาถ้าผู้จองมิได้มาทำสัญญาให้เป็นที่เรียบร้อยภายในกำหนดเวลาดังกล่าวจำเลยจะถือว่าผู้จองผิดสัญญาและไม่มีความประสงค์จะซื้อที่ดินแปลงดังกล่าวอีกต่อไปจำเลยมีสิทธิบอกเลิกสัญญาได้และผู้จองยินยอมให้จำเลยริบเงินที่มอบไว้เป็นหลักประกันนั้นเป็นเพียงข้อตกลงเพิ่มเติมระหว่างโจทก์กับจำเลยที่จะต้องมาทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินกันภายใน30วันนับแต่วันที่จำเลยได้มีหนังสือแจ้งให้โจทก์มาทำสัญญาหาได้เป็นการตกลงเปลี่ยนแปลงกำหนดระยะเวลาชำระเงินค่าที่ดินส่วนที่เหลือแต่อย่างใดไม่ ที่ดินพิพาทที่โจทก์ทำสัญญาจองซื้อกับจำเลยยังแบ่งแยกโฉนดไม่แล้วเสร็จและโจทก์จะต้องชำระเงินค่าที่ดินส่วนที่เหลือทั้งหมดภายใน6เดือนนับแต่วันที่จำเลยได้แจ้งให้โจทก์ทราบเป็นหนังสือว่าที่ดินแปลงที่จองไว้นั้นได้แบ่งแยกโฉนดเสร็จเรียบร้อยแล้วดังนั้นการที่จำเลยมีหนังสือให้โจทก์มาทำสัญญาจะซื้อจะขายพร้อมชำระราคาที่ดินส่วนที่เหลือซึ่งมิได้เป็นไปตามที่ได้ตกลงกันและเป็นการเรียกร้องให้โจทก์ชำระหนี้ก่อนถึงเวลากำหนดเช่นนี้แม้โจทก์ไม่ปฏิบัติตามก็จะถือว่าโจทก์ผิดสัญญาไม่ได้จำเลยจึงไม่มีสิทธิบอกเลิกสัญญาแก่โจทก์แต่ต่อมาเมื่อมีการแบ่งแยกโฉนดที่ดินเสร็จแล้วโจทก์ได้เรียกร้องให้จำเลยโอนที่ดินให้โจทก์ตามสัญญาพร้อมกับชำระราคาที่ดินให้แก่จำเลยแล้วแต่จำเลยมีหนังสือบอกเลิกสัญญาจองซื้อที่ดินแก่โจทก์และริบเงินหลักประกันตามสัญญาเช่นนี้ถือว่าจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญาโจทก์ชอบที่จะบังคับให้จำเลยปฏิบัติตามสัญญาได้ ค่าเสียหายที่โจทก์ผู้จะซื้อเรียกร้องในกรณีที่จำเลยผู้จะขายไม่สามารถโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทขายให้แก่โจทก์ตามสัญญาได้อันได้แก่เงินมัดจำที่โจทก์ชำระให้แก่จำเลยในการทำสัญญาจองซื้อที่ดินทั้งสองฉบับและผลต่างระหว่างราคาที่ดินพิพาทตามสัญญาจองที่ดินกับราคาที่ดินพิพาทในปัจจุบันที่มีราคาสูงขึ้นนั้นเป็นค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายเช่นที่ตามปกติย่อมเกิดขึ้นแต่การไม่ชำระหนี้โจทก์มีสิทธิเรียกร้องจากจำเลยได้ส่วนค่าเสียหายคือเงินค่าบำรุงรักษาสิ่งอำนวยความสะดวกในนิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือที่เรียกเก็บจากโจทก์แม้จะเป็นเงินที่จำเลยเรียกเก็บไปเพื่อประโยชน์แก่โจทก์ด้วยก็ตามแต่เงินจำนวนดังกล่าวโจทก์ได้ชำระไปก็โดยมีวัตถุประสงค์ที่จะได้มาซึ่งที่ดินพิพาทเป็นกรรมสิทธิ์ของตนและใช้ประโยชน์ในการประกอบกิจการของโจทก์ตลอดไปเมื่อจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญาไม่โอนที่ดินพิพาทให้เป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ตามที่ตกลงกันแล้วเงินจำนวนดังกล่าวจะถือว่าเป็นประโยชน์แก่โจทก์ตามความประสงค์ของโจทก์หาได้ไม่ดังนี้เงินค่าบำรุงรักษาสิ่งอำนวยความสะดวกที่โจทก์ชำระให้จำเลยจึงถือว่าเป็นค่าเสียหายที่จำเลยจะต้องชดใช้คืนแก่โจทก์ซึ่งโจทก์มีสิทธิเรียกร้องจากจำเลยได้ โจทก์มีหนังสือฉบับลงวันที่23พฤษภาคม2534ทวงถามให้จำเลยโอนที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ตามสัญญาจองซื้อที่ดินอันเป็นการเรียกร้องให้จำเลยปฏิบัติการชำระหนี้แต่มิได้กำหนดวันให้จำเลยปฏิบัติการชำระหนี้ไว้และต่อมาจำเลยมีหนังสือฉบับลงวันที่28สิงหาคม2534บอกเลิกสัญญาแก่โจทก์จึงถือได้ว่าจำเลยผิดนัดในวันที่28สิงหาคม2534โจทก์จึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยในระหว่างเวลาผิดนัดนับแต่วันที่28สิงหาคม2534เป็นต้นไปในอัตราร้อยละ7.5ต่อปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา224วรรคแรก ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยชำระดอกเบี้ยคลาดเคลื่อนไปจากข้อเท็จจริงที่ศาลอุทธรณ์ได้วินิจฉัยถือว่าเป็นข้อผิดพลาดหรือข้อหลงผิดเล็กน้อยที่ศาลฎีกาแก้ไขให้ถูกต้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา143วรรคแรก
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 213, ม. 218, ม. 222 วรรคแรก, ม. 269, ม. 287
 

ข้อจำกัดความรับผิดชอบ: ข้อมูลเหล่านี้อาจไม่ใช่เวอร์ชันล่าสุด รัฐบาลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอาจมีข้อมูลที่เป็นปัจจุบันหรือแม่นยำกว่า เราไม่รับประกันหรือรับประกันเกี่ยวกับความถูกต้อง ความสมบูรณ์ หรือความเพียงพอของข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้หรือข้อมูลที่เชื่อมโยงกับเว็บไซต์ของรัฐ โปรดตรวจสอบแหล่งที่มาอย่างเป็นทางการ
ข้อมูลอ้างอิงจากเว็บไซต์ : www.krisdika.go.th, deka.supremecourt.or.th
แนะนำโดย Legardy
cta
ปรึกษาทนายได้ตลอด 24 ชม.
เพียงกดปุ่ม ปรึกษาได้ทันที