Banner blog website.png
เผยแพร่เมื่อ: 2023-05-30

มาตรา 259 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

“มาตรา 259 หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 259” คืออะไร? 


“มาตรา 259” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 259 “ คือ หนึ่งในมาตราของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ 
ซึ่งบัญญัติไว้ว่า “ ถ้าหนี้มีอยู่เป็นคุณแก่บุคคลผู้ใดในมูลอย่างหนึ่งอย่างใดดังจะกล่าวต่อไปนี้ บุคคลผู้นั้นย่อมมีบุริมสิทธิเหนือสังหาริมทรัพย์เฉพาะอย่างของลูกหนี้ คือ
              (๑) เช่าอสังหาริมทรัพย์
              (๒) พักอาศัยในโรงแรม
              (๓) รับขนคนโดยสาร หรือของ
              (๔) รักษาสังหาริมทรัพย์
              (๕) ซื้อขายสังหาริมทรัพย์
              (๖) ค่าเมล็ดพันธุ์ ไม้พันธุ์ หรือปุ๋ย
              (๗) ค่าแรงงานกสิกรรม หรืออุตสาหกรรม “

 


3 ตัวอย่างจริงของการใช้” มาตรา 259” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 259 ” ในประเทศไทย


1. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3821/2552
หนี้ที่ผู้ร้องขอรับชำระหนี้เป็นหนี้ที่จำเลยค้างชำระค่าเช่าอสังหาริมทรัพย์ และหนี้อย่างอื่นของผู้เช่าอันเกิดจากความเกี่ยวพันในเรื่องเช่าอาคารพาณิชย์ ผู้ร้องมีบุริมสิทธิพิเศษเหนือสังหาริมทรัพย์ตามป.พ.พ. มาตรา 259 (1) แต่คดีนี้ผู้ร้องขอรับชำระหนี้จากเงินที่ได้จากการขายทอดตลาดสิทธิการเช่า ไม่ได้ขอบังคับเอาจากเงินที่ได้จากการขายทอดตลาดสังหาริมทรัพย์ที่ผู้เช่านำเข้ามาไว้ในที่ดินหรือโรงเรือนตาม ป.พ.พ. มาตรา 261 วรรคหนึ่ง, วรรคสอง ทั้งมิใช่เงินอันผู้โอนหรือผู้ให้เช่าช่วงจะพึงได้รับจากผู้รับโอนหรือผู้เช่าช่วงตาม ป.พ.พ. มาตรา 262 ผู้ร้องจึงไม่มีบุริมสิทธิพิเศษเหนือเงินจากการขายทอดตลาด
ผู้ร้องยื่นคำร้องขอกันส่วนตามป.วิ.พ. มาตรา 287 เป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ ต้องเสียค่าขึ้นศาล 200 บาท ตามตาราง 1 ท้าย ป.วิ.พ. ข้อ (2)(ก)
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 259 (1), ม. 261
ป.วิ.พ. ม. 287, ตาราง 1 (2) (ก)


2. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7125/2547
ผู้ร้องรับสินค้าเหล็กพิพาทลงเรือลำเลียงและลากเรือลำเลียงไปลอยลำไว้ในความดูแลเพื่อรอคำสั่งจากโจทก์และจำเลยให้ทำการขนส่งต่อไป จึงย่อมมีสิทธิยึดหน่วงเหล็กพิพาทไว้จนกว่าจะได้รับชำระค่าระวางพาหนะและอุปกรณ์ที่เกิดขึ้นหลังจากที่รับสินค้าไว้ในความดูแล โดยสามารถใช้สิทธินี้ยันต่อโจทก์ซึ่งเป็นผู้รับตราส่งตามใบตราส่งที่ออกไว้สำหรับการขนส่งเหล็กพิพาทครั้งนี้ได้ การที่สินค้าเหล็กพิพาทได้ถูกเจ้าหน้าที่ศุลกากรอายัดและตกอยู่ภายใต้อารักขาของเจ้าหน้าที่ศุลกากรก่อนการส่งมอบสินค้าให้แก่ผู้มีสิทธิที่จะได้รับ เนื่องจากเป็นสินค้าที่ยังไม่ได้ดำเนินการตามพิธีการศุลกากรให้เสร็จสิ้น ถือไม่ได้ว่าผู้ร้องมีเจตนาสละการครอบครองหรือเจตนาไม่ยึดถือเหล็กพิพาทไว้ต่อไปตาม ป.พ.พ. มาตรา 1377 และ มาตรา 250 เมื่อผู้ร้องยังมีสิทธิยึดหน่วงสินค้าอยู่ แม้ต่อมาเจ้าพนักงานบังคับคดีในคดีนี้ยึดเหล็กพิพาทนั้นไว้เพื่อเอาชำระหนี้ตามคำพิพากษาคดีถึงที่สุดให้แก่โจทก์ผู้เป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาก็ไม่ทำให้สิทธิยึดหน่วงของผู้ร้องสูญสิ้นไปเช่นกัน นอกจากผู้ร้องมีสิทธิยึดหน่วงดังกล่าวแล้ว ผู้ร้องยังมีบุริมสิทธิเหนือสินค้าเหล็กนี้ด้วยตาม ป.พ.พ. มาตรา 259 และมาตรา 267 สำหรับเอาค่าระวางพาหนะในการรับขน กับทั้งค่าใช้จ่ายอันเป็นอุปกรณ์และเป็นบุริมสิทธิมีอยู่เหนือของอันอยู่ในมือของผู้ขนส่ง ผู้ร้องจึงมีสิทธิได้รับชำระหนี้ในฐานะเจ้าหนี้บุริมสิทธิในมูลรับขนก่อนโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาในมูลหนี้ตามคำขอเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิต
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 250, ม. 259, ม. 267, ม. 1377
ป.วิ.พ. ม. 287, ม. 289


3. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 974/2529
คำร้องของผู้ร้องอ้างแต่เพียงว่าผู้ร้องมีบุริมสิทธิในค่าเช่านาเป็นข้าวเปลือก7เกวียน45ถังเหนือข้าวเปลือกที่โจทก์นำยึดประเด็นแห่งคดีที่ผู้ร้องตั้งมาจึงมีเพียงประเด็นเดียวว่าผู้ร้องมีบุริมสิทธิเหนือข้าวเปลือกจำนวน7เกวียน45ถังหรือไม่เท่านั้นที่ผู้ร้องฎีกาว่าผู้ร้องในฐานะผู้ให้เช่ายังไม่ได้รับชำระข้าวเปลือกเป็นค่าเช่านาไปจากจำเลยจึงเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นแม้ศาลอุทธรณ์จะได้วินิจฉัยในปัญหาข้อนี้ก็ไม่ชอบด้วยกระบวนพิจารณาถือว่าไม่ได้ว่ากล่าวกันมาแต่ในศาลอุทธรณ์ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยตามป.วิ.พ.มาตรา249. คำให้การของโจทก์ที่คัดค้านคำร้องของผู้ร้องว่าโจทก์ทราบว่าผู้ร้องได้ตวงข้าวเปลือกทำเป็นค่าเช่านาไปแล้วไม่เป็นการยืนยันข้อเท็จจริงจึงเคลือบคลุม โจทก์เพียงแต่นำยึดข้าวเปลือกของจำเลยไว้ชั่วคราวก่อนคำพิพากษายังไม่ได้ดำเนินการบังคับชำระหนี้เอากับทรัพย์ดังกล่าวแต่อย่างใดดังนั้นหากผู้ร้องมีบุริมสิทธิเหนือข้าวเปลือกที่ยึดไว้อย่างไรก็คงมีอยู่อย่างนั้นการนำยึดข้าวเปลือกไว้ชั่วคราวก่อนคำพิพากษาของโจทก์ไม่มีผลทำให้บุริมสิทธิของผู้ร้องเปลี่ยนแปลงไปเมื่อคดีถึงที่สุดหากมีการดำเนินการบังคับคดีกับทรัพย์นั้นผู้ร้องย่อมมีสิทธิร้องขอให้บังคับเหนือทรัพย์ดังกล่าวได้ตามป.วิ.พ.มาตรา287ผู้ร้องจึงยังไม่มีสิทธิขอคืนข้าวเปลือกที่โจทก์นำยึดไว้.
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 251, ม. 259
ป.วิ.พ. ม. 177, ม. 249, ม. 254, ม. 287
 

ข้อจำกัดความรับผิดชอบ: ข้อมูลเหล่านี้อาจไม่ใช่เวอร์ชันล่าสุด รัฐบาลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอาจมีข้อมูลที่เป็นปัจจุบันหรือแม่นยำกว่า เราไม่รับประกันหรือรับประกันเกี่ยวกับความถูกต้อง ความสมบูรณ์ หรือความเพียงพอของข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้หรือข้อมูลที่เชื่อมโยงกับเว็บไซต์ของรัฐ โปรดตรวจสอบแหล่งที่มาอย่างเป็นทางการ
ข้อมูลอ้างอิงจากเว็บไซต์ : www.krisdika.go.th, deka.supremecourt.or.th
แนะนำโดย Legardy
cta
ปรึกษาทนายได้ตลอด 24 ชม.
เพียงกดปุ่ม ปรึกษาได้ทันที