Banner blog website.png
เผยแพร่เมื่อ: 2023-05-30

มาตรา 252 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

“มาตรา 252 หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 252” คืออะไร? 


“มาตรา 252” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 252 “ คือ หนึ่งในมาตราของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ 
ซึ่งบัญญัติไว้ว่า “ บทบัญญัติแห่งมาตรา ๒๔๔ นั้น ท่านให้ใช้บังคับตลอดถึงบุริมสิทธิด้วยตามแต่กรณี “

 


2 ตัวอย่างจริงของการใช้” มาตรา 252” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 252 ” ในประเทศไทย


1. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2924/2524
กฎและข้อบังคับของจำเลยข้อ 9 ที่กำหนดว่าคณะผู้บริหารมีอำนาจที่จะตัดสินเกี่ยวกับข้อพิพาทหรือปัญหาซึ่งอาจเกิดจากโครงสร้างหรือผลของข้อบังคับนี้หรือในข้อที่เกี่ยวกับการบริหารบัญชีนี้หมายความว่า อำนาจตัดสินของคณะผู้บริหารตามกฎและข้อบังคับดังกล่าวต้องเป็นเรื่องอันเกิดจากโครงสร้าง ผลของข้อบังคับและการบริหารบัญชีเท่านั้น หามีอำนาจที่จะตัดสินให้งดจ่ายเงินสมทบแก่สมาชิกในกรณีสมาชิกทุจริตต่อหน้าที่เบียดบังยักยอกเงินของจำเลยไม่
บทบัญญัติเรื่องบุริมสิทธิตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์หาได้ให้สิทธิแก่เจ้าหนี้ที่จะยึดหน่วงทรัพย์สินของลูกหนี้ไว้ชำระหนี้ไม่
สิทธิของจำเลยที่จะเรียกเงินที่โจทก์เบียดบังยักยอกไปคืนมิได้เกี่ยวกับเงินค่าจ้างค้างชำระ เงินสะสมและเงินสมทบที่จำเลยต้องชำระให้แก่โจทก์แต่อย่างใดจำเลยจึงหามีสิทธิยึดหน่วงไม่
การที่กฎและข้อบังคับของจำเลย ข้อ 27 กำหนดว่าบริษัทย่อมทรงไว้ซึ่งบุริมสิทธิลำดับแรกและทั้งสิ้นในเงินจำนวนที่เป็นเครดิตของสมาชิกแต่ละคนในบัญชีนี้เพื่อนำมาชดใช้แก่บรรดาการสูญเสีย ราคา ค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่บริษัทอาจได้รับไม่ว่าในเวลาใดเนื่องจากความผิดของสมาชิกนั้นหรือสำหรับหนี้สินใดๆ ที่สมาชิกนั้นต้องชำระให้แก่บริษัทนั้น หมายความว่าจำเลยมีสิทธิที่จะหักเงินสะสมและเงินสมทบในบัญชีของโจทก์ไว้ชำระหนี้แก่จำเลยได้หากหนี้นั้นมีจำนวนแน่นอนและไม่เกินกว่าจำนวนหนี้ที่โจทก์จะต้องชำระแก่จำเลย
การที่จำเลยอุทธรณ์ว่า จำนวนเงินที่โจทก์ยักยอกไปมีจำนวนแน่นอนนั้นเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงต้องห้ามตามมาตรา 54 แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 2, ข้อ 46
ป.พ.พ. ม. 251, ม. 252, ม. 244
พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 ม. 54


2. คำสั่งคำร้องที่ 2028/2532
ความว่า จำเลยที่ 1 ที่ 2 ฎีกา พร้อมกับยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นฎีกาศาลชั้นต้นสั่งฎีกาว่า ยื่นฎีกาเมื่อพ้นกำหนดเวลาโดยมิได้รับอนุญาตให้ขยายระยะเวลาจึงไม่รับฎีกา และสั่งคำร้องว่าเหตุที่จำเลยอ้างมาไม่ใช่เหตุสุดวิสัยอันจะมีคำขอขยายระยะเวลายื่นฎีกาภายหลังสิ้นกำหนดเวลายื่นฎีกา และถือไม่ได้ว่ามีพฤติการณ์พิเศษที่จะขอขยายกำหนดเวลายื่นฎีกาด้วย ยกคำร้อง
จำเลยที่ 1 ที่ 2 เห็นว่า เนื่องจากทนายจำเลยทั้งสองป่วยด้วยโรคติดเชื้ออย่างร้ายแรงที่บริเวณช่องท้อง ถือว่าเป็นเหตุการณ์ที่ไม่อาจทราบล่วงหน้าได้จึงเป็นเหตุสุดวิสัยที่จำเลยทั้งสองไม่อาจยื่นฎีกาและยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นฎีกาได้ภายในกำหนด และคดีนี้จำเลยทั้งสองมีทางชนะคดี โปรดมีคำสั่งให้รับฎีกาของจำเลยทั้งสองด้วย
หมายเหตุ โจทก์ยังไม่ได้รับสำเนาคำร้อง
จำเลยที่ 1 ที่ 2 ชำระค่าขึ้นศาลมา 200 บาท
ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง
โจทก์อุทธรณ์
ระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์โจทก์ถึงแก่กรรมนางบุญมี ปัจจัยคา บุตรโจทก์ ขอเข้าเป็นคู่ความแทน ศาลอุทธรณ์อนุญาต
ศาลอุทธรณ์พิพากษากลับว่า ที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ทะเบียนเลขที่ 3611 ตำบลบ้านไผ่ อำเภอบ้านไผ่จังหวัดขอนแก่น เป็นของโจทก์ ห้ามจำเลยทั้งสองเข้าเกี่ยวข้องให้เพิกถอนหนังสือรับรองการทำประโยชน์ทะเบียนเลขที่ 3611 ตำบลบ้านไผ่ อำเภอบ้านไผ่ จังหวัดขอนแก่น ให้เพิกถอนการโอนมรดกที่จำเลยที่ 1 รับโอนมาจากนายสมนึก สีแพง และให้เพิกถอนกรรมสิทธิ์รวมของจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 ตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ดังกล่าว
ศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ให้คู่ความฟังเมื่อวันที่ 14 สิงหาคม 2532
จำเลยที่ 1 ที่ 2 ฎีกาลงวันที่ 27 กันยายน 2532 พร้อมกับยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นฎีกา ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับในวันเดียวกันนั้น (อันดับ 101,99)
จำเลยที่ 1 ที่ 2 จึงยื่นคำร้องนี้ ศาลชั้นต้นสั่งว่า ยื่นเกินกำหนดส่งศาลฎีกา (อันดับ 102)
คำสั่ง
พิเคราะห์แล้ว แม้คำร้องของจำเลยระบุว่าขอให้ศาลอุทธรณ์สั่งคำร้องก็ตาม แต่ถือได้ว่าเป็นการอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวต่อศาลฎีกา เพราะเป็นเรื่องเกี่ยวเนื่องกับการที่จะรับหรือไม่รับฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 252 และตามคำร้องของจำเลยปรากฏว่า จำเลยยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นฎีกาเมื่อพ้นกำหนดเวลาการยื่นฎีกา โดยอ้างเหตุว่าทนายจำเลยทั้งสองป่วยด้วยโรคติดเชื้ออย่างร้ายแรงที่บริเวณช่องท้อง เห็นว่าเหตุที่จำเลยอ้างมาไม่ใช่เหตุสุดวิสัยอันจะมีคำขอขยายระยะเวลายื่นฎีกาภายหลังสิ้นกำหนดเวลายื่นฎีกาได้ ที่ศาลชั้นต้นสั่งไม่อนุญาตให้ขยายระยะเวลายื่นฎีกามานั้นชอบแล้ว ให้ยกคำร้องคืนค่าขึ้นศาลโดยหักไว้เป็นค่าคำร้อง 40 บาท
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 23, ม. 151, ม. 252
 

ข้อจำกัดความรับผิดชอบ: ข้อมูลเหล่านี้อาจไม่ใช่เวอร์ชันล่าสุด รัฐบาลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอาจมีข้อมูลที่เป็นปัจจุบันหรือแม่นยำกว่า เราไม่รับประกันหรือรับประกันเกี่ยวกับความถูกต้อง ความสมบูรณ์ หรือความเพียงพอของข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้หรือข้อมูลที่เชื่อมโยงกับเว็บไซต์ของรัฐ โปรดตรวจสอบแหล่งที่มาอย่างเป็นทางการ
ข้อมูลอ้างอิงจากเว็บไซต์ : www.krisdika.go.th, deka.supremecourt.or.th
แนะนำโดย Legardy
cta
ปรึกษาทนายได้ตลอด 24 ชม.
เพียงกดปุ่ม ปรึกษาได้ทันที