“มาตรา 250 หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 250” คืออะไร?
“มาตรา 250” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 250 “ คือ หนึ่งในมาตราของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
ซึ่งบัญญัติไว้ว่า “ การครองทรัพย์สินสูญสิ้นไป สิทธิยึดหน่วงก็เป็นอันระงับสิ้นไปด้วย แต่ความที่กล่าวนี้ท่านมิให้ใช้บังคับแก่กรณีที่ทรัพย์สินอันยึดหน่วงไว้นั้นได้ให้เช่าไปหรือจำนำไว้ด้วยความยินยอมของลูกหนี้ “
3 ตัวอย่างจริงของการใช้” มาตรา 250” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 250 ” ในประเทศไทย
1. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7125/2547
ผู้ร้องรับสินค้าเหล็กพิพาทลงเรือลำเลียงและลากเรือลำเลียงไปลอยลำไว้ในความดูแลเพื่อรอคำสั่งจากโจทก์และจำเลยให้ทำการขนส่งต่อไป จึงย่อมมีสิทธิยึดหน่วงเหล็กพิพาทไว้จนกว่าจะได้รับชำระค่าระวางพาหนะและอุปกรณ์ที่เกิดขึ้นหลังจากที่รับสินค้าไว้ในความดูแล โดยสามารถใช้สิทธินี้ยันต่อโจทก์ซึ่งเป็นผู้รับตราส่งตามใบตราส่งที่ออกไว้สำหรับการขนส่งเหล็กพิพาทครั้งนี้ได้ การที่สินค้าเหล็กพิพาทได้ถูกเจ้าหน้าที่ศุลกากรอายัดและตกอยู่ภายใต้อารักขาของเจ้าหน้าที่ศุลกากรก่อนการส่งมอบสินค้าให้แก่ผู้มีสิทธิที่จะได้รับ เนื่องจากเป็นสินค้าที่ยังไม่ได้ดำเนินการตามพิธีการศุลกากรให้เสร็จสิ้น ถือไม่ได้ว่าผู้ร้องมีเจตนาสละการครอบครองหรือเจตนาไม่ยึดถือเหล็กพิพาทไว้ต่อไปตาม ป.พ.พ. มาตรา 1377 และ มาตรา 250 เมื่อผู้ร้องยังมีสิทธิยึดหน่วงสินค้าอยู่ แม้ต่อมาเจ้าพนักงานบังคับคดีในคดีนี้ยึดเหล็กพิพาทนั้นไว้เพื่อเอาชำระหนี้ตามคำพิพากษาคดีถึงที่สุดให้แก่โจทก์ผู้เป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาก็ไม่ทำให้สิทธิยึดหน่วงของผู้ร้องสูญสิ้นไปเช่นกัน นอกจากผู้ร้องมีสิทธิยึดหน่วงดังกล่าวแล้ว ผู้ร้องยังมีบุริมสิทธิเหนือสินค้าเหล็กนี้ด้วยตาม ป.พ.พ. มาตรา 259 และมาตรา 267 สำหรับเอาค่าระวางพาหนะในการรับขน กับทั้งค่าใช้จ่ายอันเป็นอุปกรณ์และเป็นบุริมสิทธิมีอยู่เหนือของอันอยู่ในมือของผู้ขนส่ง ผู้ร้องจึงมีสิทธิได้รับชำระหนี้ในฐานะเจ้าหนี้บุริมสิทธิในมูลรับขนก่อนโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาในมูลหนี้ตามคำขอเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิต
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 250, ม. 259, ม. 267, ม. 1377
ป.วิ.พ. ม. 287, ม. 289
2. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2690/2529
การที่จำเลยนำเจ้าพนักงานบังคับคดียึดรถยนต์พิพาทเพื่อขายทอดตลาดเอาเงินชำระหนี้ตามคำพิพากษาเป็นการใช้สิทธิทางศาลจะเป็นการกระทำละเมิดต่อเมื่อกระทำโดยไม่สุจริตมีเจตนากลั่นแกล้งให้โจทก์ได้รับความเสียหายปรากฏว่าจำเลยมีสิทธิยึดหน่วงรถยนต์พิพาทจำเลยนำเจ้าพนักงานบังคับคดียึดทรัพย์พิพาทโดยสุจริตมิได้มีเจตนากลั่นแกล้งให้โจทก์ได้รับความเสียหายจำเลยจึงหาได้กระทำละเมิดต่อโจทก์ตั้งแต่วันที่นำยึดทรัพย์ไม่แต่เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ถอนการยึดรถยนต์คันพิพาทคดีถึงที่สุดไปแล้วจำเลยต้องปฏิบัติตามคำสั่งอันถึงที่สุดแล้วนั้นโดยต้องคืนรถยนต์พิพาทให้โจทก์ผู้เป็นเจ้าของไม่มีสิทธิยึดหน่วงรถยนต์คันพิพาทไว้อีกต่อไปดังนี้คำพิพากษาอันถึงที่สุดแล้วย่อมผูกพันจำเลยซึ่งเป็นคู่ความจำเลยจะฎีกาโต้เถียงในคดีนี้ว่าตนยังมีสิทธิ์ยึดหน่วงอีกย่อมฟังไม่ขึ้นทั้งการที่โจทก์ขอรับรถยนต์พิพาทคืนจากจำเลยภายหลังศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ถอนการยึดแล้วแต่จำเลยไม่คืนให้มิใช่เป็นการใช้สิทธิทางศาลอีกต่อไป.
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 241, ม. 250, ม. 420
ป.วิ.พ. ม. 145, ม. 148, ม. 271, ม. 287, ม. 288
3. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2690/2529
การที่จำเลยนำเจ้าพนักงานบังคับคดียึดรถยนต์พิพาทเพื่อขายทอดตลาดเอาเงินชำระหนี้ตามคำพิพากษาเป็นการใช้สิทธิทางศาล จะเป็นการกระทำละเมิดต่อเมื่อกระทำโดยไม่สุจริต มีเจตนากลั่นแกล้งให้โจทก์ได้รับความเสียหาย ปรากฏว่าจำเลยมีสิทธิยึดหน่วงรถยนต์พิพาท จำเลยนำเจ้าพนักงานบังคับคดียึดทรัพย์พิพาทโดยสุจริตมิได้มีเจตนากลั่นแกล้งให้โจทก์ได้รับความเสียหาย จำเลยจึงหาได้กระทำละเมิดต่อโจทก์ตั้งแต่วันที่นำยึดทรัพย์ไม่ แต่เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ถอนการยึดรถยนต์คันพิพาท คดีถึงที่สุดไปแล้ว จำเลยต้องปฏิบัติตามคำสั่งอันถึงที่สุดแล้วนั้น โดยต้องคืนรถยนต์พิพาทให้โจทก์ผู้เป็นเจ้าของไม่มีสิทธิยึดหน่วงรถยนต์คันพิพาทไว้อีกต่อไป ดังนี้คำพิพากษาอันถึงที่สุดแล้วย่อมผูกพันจำเลยซึ่งเป็นคู่ความ จำเลยจะฎีกาโต้เถียงในคดีนี้ว่าตนยังมีสิทธิ์ยึดหน่วงอีกย่อมฟังไม่ขึ้น ทั้งการที่โจทก์ขอรับรถยนต์พิพาทคืนจากจำเลย ภายหลังศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ถอนการยึดแล้ว แต่จำเลยไม่คืนให้ มิใช่เป็นการใช้สิทธิทางศาลอีกต่อไป
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 241, ม. 250, ม. 420
ป.วิ.พ. ม. 145, ม. 148, ม. 271, ม. 287, ม. 288