Banner blog website.png
เผยแพร่เมื่อ: 2023-05-30

มาตรา 249 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา 249 หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 249” คืออะไร? 


“มาตรา 249” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 249 “ คือ หนึ่งในมาตราของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ 
ซึ่งบัญญัติไว้ว่า “ ลูกหนี้จะเรียกร้องให้ระงับสิทธิยึดหน่วงด้วยหาประกันให้ไว้ตามสมควรก็ได้ “

 


3 ตัวอย่างจริงของการใช้” มาตรา 249” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 249 ” ในประเทศไทย


1. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 841/2558
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งลงโทษจำเลยฐานละเมิดอำนาจศาลตาม ป.วิ.พ. มาตรา 31 (1), 33 วรรคท้าย ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15 จำเลยอุทธรณ์เพียงขอให้ลดโทษจำคุกเหลือ 15 วัน หรือรอการลงอาญาโทษจำคุกส่วนที่เหลือเท่านั้น ดังนี้การกระทำความผิดฐานละเมิดอำนาจศาลจึงยุติไปตามคำสั่งของศาลชั้นต้นแล้ว จำเลยไม่อาจฎีกาว่าจำเลยไม่ได้กระทำความผิดฐานละเมิดอำนาจศาลได้อีก ฎีกาของจำเลยข้อนี้จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ ต้องห้ามฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ประกอบ ป.วิ.อ.มาตรา 15
ที่จำเลยฎีกาว่า ศาลชั้นต้นดำเนินคดีแก่จำเลยโดยไม่ได้ปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มาตรา 40 (2) บัญญัติไว้ นั้น เมื่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย สิ้นสุดลงแล้ว ฎีกาของจำเลยข้อนี้จึงไม่เป็นสาระอันควรวินิจฉัยตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 31 (1), ม. 33 วรรคท้าย, ม. 249 วรรคหนึ่ง
ป.วิ.อ. ม. 15
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 ม. 40 (2)


2. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8131/2554
ข้อต่อสู้ในคำให้การ จำเลยที่ 2 ว่า จำเลยที่ 2 ไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ เพราะจำเลยที่ 1 ไม่ได้เป็นลูกจ้างซึ่งปฏิบัติหน้าที่ไปในทางการที่จ้างของจำเลยที่ 2 และโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง เพราะโจทก์ทำสัญญาประนีประนอมยอมความตกลงรับเงินจากจำเลยที่ 2 เพื่อระงับข้อพิพาทระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 2 แล้ว มูลคดีนี้จึงเป็นอันระงับ เป็นคำให้การที่ไม่ชัดแจ้งว่าจำเลยที่ 2 ยอมรับหรือปฏิเสธว่าจำเลยที่ 1 เป็นลูกจ้างโจทก์จริงหรือไม่ เพราะหากจำเลยที่ 1 ไม่ได้เป็นลูกจ้างจำเลยที่ 2 แล้ว จำเลยที่ 2 ก็ไม่จำต้องทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับโจทก์ หากโจทก์ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับจำเลยที่ 2 จริง ก็เท่ากับจำเลยที่ 1 เป็นลูกจ้างจำเลยที่ 2 และกระทำละเมิดในทางการที่จ้างดังฟ้อง จึงเป็นคำให้การที่ไม่อาจให้รวมกันมาได้เพราะขัดแย้งกันเอง ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 177 วรรคสอง ไม่ก่อให้เกิดประเด็นข้อพิพาทแห่งคดีว่า จำเลยที่ 1 เป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 2 และโจทก์ทำสัญญาประนีประนอมยอมความระงับข้อพิพาทกับจำเลยที่ 2 แล้วหรือไม่ การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 7 วินิจฉัยประเด็นข้อพิพาททั้งสองดังกล่าวจึงไม่ชอบ ถือว่าเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลล่าง ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 177 วรรคสอง, ม. 249 วรรคหนึ่ง


3. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1798/2551
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดฐานรับของโจรแต่โทษจำคุกรอการลงโทษไว้ โจทก์อุทธรณ์ไม่ให้รอการลงโทษ ส่วนจำเลยมิได้อุทธรณ์คัดค้านคำพิพากษาของศาลชั้นต้นแต่ประการใด และศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษาแก้เป็นไม่รอการลงโทษ ข้อเท็จจริงในความผิดฐานนี้จึงยุติแล้วตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น ที่จำเลยฎีกาว่าจำเลยไม่ได้กระทำความผิดฐานรับของโจรจึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ภาค 3 ต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 15, ม. 249
 

ข้อจำกัดความรับผิดชอบ: ข้อมูลเหล่านี้อาจไม่ใช่เวอร์ชันล่าสุด รัฐบาลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอาจมีข้อมูลที่เป็นปัจจุบันหรือแม่นยำกว่า เราไม่รับประกันหรือรับประกันเกี่ยวกับความถูกต้อง ความสมบูรณ์ หรือความเพียงพอของข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้หรือข้อมูลที่เชื่อมโยงกับเว็บไซต์ของรัฐ โปรดตรวจสอบแหล่งที่มาอย่างเป็นทางการ
ข้อมูลอ้างอิงจากเว็บไซต์ : www.krisdika.go.th, deka.supremecourt.or.th
แนะนำโดย Legardy
cta
ปรึกษาทนายได้ตลอด 24 ชม.
เพียงกดปุ่ม ปรึกษาได้ทันที