Banner blog website.png
เผยแพร่เมื่อ: 2023-05-30

มาตรา 247 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

“มาตรา 247 หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 247” คืออะไร?
 

“มาตรา 247” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 247 “ คือ หนึ่งในมาตราของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ 
ซึ่งบัญญัติไว้ว่า “ ถ้าผู้ทรงสิทธิยึดหน่วงต้องเสียค่าใช้จ่ายไปตามที่จำเป็นเกี่ยวด้วยทรัพย์สินอันตนยึดหน่วงไว้นั้นเพียงใด จะเรียกให้เจ้าทรัพย์ชดใช้ให้ก็ได้ “

 


3 ตัวอย่างจริงของการใช้” มาตรา 247” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 247 ” ในประเทศไทย


1. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8725/2563
คดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาตาม ป.อ. มาตรา 44/1 ศาลจำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฎในคำพิพากษาคดีส่วนอาญาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 46 ดังนั้น สิทธิในการอุทธรณ์ฎีกาเกี่ยวกับค่าสินไหมทดแทนในคดีส่วนแพ่งต้องถือคดีส่วนอาญาเป็นหลัก หากคดีส่วนอาญาขึ้นมาสู่การพิจารณาของศาลอุทธรณ์หรือศาลฎีกา คดีส่วนแพ่งก็ไม่ต้องห้ามอุทธรณ์หรือฎีกา ฉะนั้น จำเลยจึงไม่จำต้องขออนุญาตฎีกาในคดีส่วนแพ่ง และการที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งรับฎีกาของจำเลยเฉพาะคดีส่วนอาญา และให้ส่งคำร้องขออนุญาตฎีกาในคดีส่วนแพ่งดังกล่าวมาให้ศาลฎีกาพิจารณาสั่งจึงเป็นการไม่ชอบ จึงให้เพิกถอนคำสั่งศาลชั้นต้นเฉพาะในส่วนที่ให้ส่งคำร้องขออนุญาตฎีกาในคดีส่วนแพ่งมาให้ศาลฎีกาพิจารณาสั่ง และเมื่อคดีส่วนอาญาขึ้นมาสู่การพิจารณาของศาลฎีกาแล้ว ศาลฎีกาเห็นสมควรมีคำสั่งใหม่เป็นรับฎีกาในคดีส่วนแพ่งของจำเลย และหยิบยกขึ้นวินิจฉัยโดยไม่จำต้องย้อนสำนวนลงไปให้ศาลชั้นต้นดำเนินการก่อน
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.อ. ม. 44/1
ป.พ.พ. ม. 247
ป.วิ.อ. ม. 46


2. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2125/2551
คำร้องของจำเลยที่ 1 กล่าวอ้างว่า เจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการบังคับคดีฝ่าฝืนต่อกฎหมายเป็นเหตุให้จำเลยที่ 1 ต้องเสียหายตาม ป.วิ.พ. มาตรา 296 วรรคสอง การยื่นคำร้องของจำเลยที่ 1 จึงต้องกระทำก่อนการบังคับคดีได้เสร็จลง แต่ต้องไม่ช้ากว่าสิบห้าวันนับแต่วันที่ทราบข้อความหรือพฤติการณ์อันเป็นมูลแห่งข้ออ้างนั้นตามที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.พ. มาตรา 296 วรรคสาม เมื่อปรากฏว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีได้ทำการขายทอดตลาดที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3) เลขที่ 179 เมื่อวันที่ 13 กันยายน 2546 โดยให้งดการขายที่ดินโฉนดเลขที่ 2067 และ 2068 ไว้เนื่องจากไม่มีผู้เสนอราคา จำเลยที่ 1 ย่อมทราบดีว่า เจ้าพนักงานบังคับคดีต้องนำที่ดินโฉนดเลขที่ 2067 และ 2068 ออกขายทอดตลาดในครั้งต่อไปตามประกาศของเจ้าพนักงานบังคับคดีซึ่งประกาศให้ทราบทั่วกันล่วงหน้าก่อนแล้ว ถือได้ว่าจำเลยที่ 1 ทราบข้อความหรือพฤติการณ์อันเป็นมูลแห่งข้ออ้างเมื่อวันที่ 13 กันยายน 2546 จำเลยที่ 1 ยื่นคำร้องวันที่ 19 พฤศจิกายน 2546 ช้ากว่าสิบห้าวัน นับแต่วันที่ทราบข้อความหรือพฤติการณ์อันเป็นมูลแห่งข้ออ้างนั้นแล้ว คำร้องของจำเลยที่ 1 จึงไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 296 วรรคสาม ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาชอบที่จะยกขึ้นวินิจฉัยได้ แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นอ้างในชั้นฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบด้วยมาตรา 246 และ 247
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 142 (5), ม. 246, ม. 247, ม. 296 วรรคสอง, ม. 296 วรรคสาม


3. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 421/2545
แม้ศาลชั้นต้นสั่งอนุญาตให้จำเลยที่ 1 ดำเนินคดีอย่างคนอนาถาในชั้นฎีกาได้ และมีคำสั่งรับฎีกาของจำเลยที่ 1 ในวันเดียวกันก็ตาม แต่ศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาของจำเลยที่ 1 ในภายหลัง ซึ่งไม่ปรากฏในสำนวนว่าจำเลยที่ 1 ได้ลงนามทราบคำสั่งของศาลชั้นต้นที่รับฎีกาและให้จำเลยที่ 1 นำส่งหมายนัดและสำเนาฎีกาให้โจทก์เพื่อแก้ฎีกา ทั้งไม่ปรากฏว่ามีหมายแจ้งให้จำเลยที่ 1 ทราบคำสั่งดังกล่าว ดังนั้น เมื่อจำเลยที่ 1 ยังไม่ทราบคำสั่งรับฎีกาของศาลชั้นต้นที่กำหนดให้จำเลยที่ 1 ดำเนินการส่งหมายนัดและสำเนาฎีกาให้โจทก์ภายใน 7 วันนั้นจะถือว่าจำเลยที่ 1 เพิกเฉยไม่ดำเนินคดีภายในเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนด อันเป็นการทิ้งฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 174(2),247ไม่ได้
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 174, ม. 247
 

ข้อจำกัดความรับผิดชอบ: ข้อมูลเหล่านี้อาจไม่ใช่เวอร์ชันล่าสุด รัฐบาลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอาจมีข้อมูลที่เป็นปัจจุบันหรือแม่นยำกว่า เราไม่รับประกันหรือรับประกันเกี่ยวกับความถูกต้อง ความสมบูรณ์ หรือความเพียงพอของข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้หรือข้อมูลที่เชื่อมโยงกับเว็บไซต์ของรัฐ โปรดตรวจสอบแหล่งที่มาอย่างเป็นทางการ
ข้อมูลอ้างอิงจากเว็บไซต์ : www.krisdika.go.th, deka.supremecourt.or.th
แนะนำโดย Legardy
cta
ปรึกษาทนายได้ตลอด 24 ชม.
เพียงกดปุ่ม ปรึกษาได้ทันที