Banner blog website.png
เผยแพร่เมื่อ: 2023-05-30

มาตรา 246 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

“มาตรา 246 หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 246” คืออะไร? 


“มาตรา 246” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 246 “ คือ หนึ่งในมาตราของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ 
ซึ่งบัญญัติไว้ว่า “ ผู้ทรงสิทธิยึดหน่วงจำต้องจัดการดูแลรักษาทรัพย์สินที่ยึดหน่วงไว้นั้นตามสมควร เช่นจะพึงคาดหมายได้จากบุคคลในฐานะเช่นนั้น
              อนึ่งทรัพย์สินซึ่งยึดหน่วงไว้นั้น ถ้ามิได้รับความยินยอมของลูกหนี้ ท่านว่าผู้ทรงสิทธิยึดหน่วงหาอาจจะใช้สอยหรือให้เช่า หรือเอาไปทำเป็นหลักประกันได้ไม่ แต่ความที่กล่าวนี้ท่านมิให้ใช้บังคับไปถึงการใช้สอยเช่นที่จำเป็นเพื่อจะรักษาทรัพย์สินนั้นเอง
              ถ้าผู้ทรงสิทธิยึดหน่วงกระทำการฝ่าฝืนบทบัญญัติใดที่กล่าวมานี้ ท่านว่าลูกหนี้จะเรียกร้องให้ระงับสิทธินั้นเสียก็ได้ “

 

ปรึกษาปัญหาทางกฎหมายฟรี
ตลอด 24 ชั่วโมง

  • ทนายให้ ปรึกษามากกว่า 3000 ครั้ง
    ฟรีบนแพล็ตฟอร์ม
  • ฟรี และไม่มีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม
  • ปรึกษาได้ทุกเรื่องราว ไม่ระบุตัวตนของผู้ถาม


3 ตัวอย่างจริงของการใช้” มาตรา 246” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 246 ” ในประเทศไทย


1. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7290/2561
จำเลยที่ 1 เป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัด โดยมีจำเลยที่ 2 และ ว. บุตรจำเลยที่ 2 เป็นกรรมการ โดยกรรมการคนหนึ่งมีอำนาจลงลายมือชื่อและประทับตราสำคัญของบริษัทผูกพันจำเลยที่ 1 โจทก์ทำสัญญาจ้างเหมาจำเลยที่ 1 ก่อสร้างอาคาร และทำสัญญาจ้างเหมาจำเลยที่ 2 ก่อสร้างอาคาร และทำสัญญาจ้างเหมาจำเลยที่ 2 จัดหาวัสดุก่อสร้างอาคาร
จำเลยที่ 2 เป็นผู้ก่อตั้งและกรรมการผู้มีอำนาจคนหนึ่งของจำเลยที่ 1 โดยผู้ถือหุ้นจำเลยที่ 1 ส่วนใหญ่ คือ จำเลยที่ 2 กับภริยาและบุตรของจำเลยที่ 2 โจทก์ทำสัญญาสามฉบับ โดยฉบับแรกระบุชื่อจำเลยที่ 1 เป็นผู้รับจ้าง ฉบับที่สองและฉบับที่สามระบุชื่อจำเลยที่ 2 เป็นผู้รับจ้าง การก่อสร้างตามสัญญาทั้งสามฉบับไม่มีการแยกคนงานและอุปกรณ์ว่าเป็นของจำเลยที่ 1 หรือจำเลยที่ 2 โดยเฉพาะจำเลยที่ 2 ไม่มีผังคนงานและพนักงาน และการส่งมอบงานตามสัญญาทั้งสามฉบับรวมอยู่ในเล่มเดียวกัน โจทก์ประสงค์จะพัฒนาที่ดินให้เป็นโรงแรมและรีสอร์ท จึงประกาศหาผู้รับเหมาก่อสร้าง ต่อมาจำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 กรรมการผู้มีอำนาจ เสนอตัวเข้าเป็นผู้รับเหมาตามแบบก่อสร้างตกลงราคาทั้งหมด โดยจำเลยที่ 1 เป็นผู้ติดต่อรับจ้างก่อสร้างโครงการทั้งหมดของโจทก์ และจำเลยที่ 1 ยินยอมให้จำเลยที่ 2 มาทำสัญญารับจ้างก่อสร้างตามสัญญาจ้างเหมาชุดที่ 2 และสัญญาจ้างวัสดุก่อสร้างชุดที่ 2 ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโครงการของโจทก์ ถือว่าจำเลยที่ 2 เป็นตัวแทนโดยปริยายของจำเลยที่ 1 โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2 ให้รับผิดตามสัญญาจ้างเหมาฉบับที่สองและฉบับที่สาม และในทำนองเดียวกันจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นตัวแทนโดยปริยายของจำเลยที่ 1 ก็ไม่อาจอาศัยสิทธิตามสัญญาดังกล่าวฟ้องแย้งโจทก์ในนามตนเองได้ ปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องเป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 145 (5), 246 และมาตรา 246 (เดิม) ซึ่งใช้ในขณะยื่นฟ้อง
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 142 (5), ม. 246, ม. 246 (เดิม)


2. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15310/2558
ตาม พ.ร.บ.ประกันสังคม พ.ศ.2533 มาตรา 51 และ พ.ร.บ.เงินทดแทน พ.ศ.2537 มาตรา 9 บัญญัติให้ เงินสมทบที่ค้างชำระและเงินเพิ่ม เงินทดแทนที่ค้างชำระและเงินเพิ่ม มีบุริมสิทธิในระดับเดียวกับบุริมสิทธิในค่าภาษีอากรตาม ป.พ.พ. โดยมิได้บัญญัติให้เรียกได้ในวงเงินที่ค้างในปีปัจจุบันและปีก่อนหน้านั้นหนึ่งปี แม้ ป.พ.พ. มาตรา 256 จะบัญญัติให้ บุริมสิทธิค่าภาษีอากรใช้สำหรับของบรรดาค่าภาษีอากรที่ยังค้างอยู่ในปีปัจจุบันและก่อนนั้นขึ้นไปอีกปีหนึ่ง ก็เป็นเรื่องที่บัญญัติเอาไว้ในเฉพาะเรื่องบุริมสิทธิในมูลค่าภาษีอากรเท่านั้น
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 246
พ.ร.บ.ประกันสังคม พ.ศ.2533 ม. 51
พ.ร.บ.เงินทดแทน พ.ศ.2537 ม. 9


3. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4230/2555
พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ.2475 มาตรา 39 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า ถ้ามีผู้ยื่นฟ้องต่อศาลตามความในมาตรา 31 ท่านห้ามมิให้ศาลประทับเป็นฟ้องตามกฎหมาย เว้นแต่จะเป็นที่พอใจศาลว่าผู้รับประเมินได้ชำระค่าภาษีทั้งสิ้นซึ่งถึงกำหนดต้องชำระ เพราะเวลาซึ่งท่านให้ไว้ตาม มาตรา 38 นั้น ได้สิ้นไปแล้ว หรือจะถึงกำหนดชำระระหว่างที่คดียังอยู่ในศาล เห็นว่าบทบัญญัติดังกล่าวโจทก์จะมีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนคำชี้ขาดต่อศาลได้ก็ต่อเมื่อโจทก์ชำระค่าภาษีโรงเรือนและที่ดินทั้งสิ้นก่อนโจทก์ฟ้องคดีหรือจะสิ้นสุดในระหว่างที่คดียังอยู่ในศาล คดีนี้แม้โจทก์จะได้รับอนุญาตจากจำเลยที่ 1 ให้ผ่อนชำระเงินค่าภาษีโรงเรือนและที่ดินพิพาทเป็น 3 งวด และโจทก์ผ่อนชำระค่าภาษีโรงเรือนและที่ดินตามกำหนด โดยผ่อนชำระก่อนฟ้อง 2 งวด แต่การที่โจทก์นำคดีมาฟ้องก่อนที่จะผ่อนชำระเงินค่าภาษีโรงเรือนและที่ดินงวดที่ 3 อันเป็นงวดสุดท้ายก็ยังถือเป็นกรณีที่โจทก์ยื่นฟ้องก่อนชำระค่าภาษีทั้งสิ้น เมื่อโจทก์ยังมิได้ชำระค่าภาษีดังกล่าวทั้งสิ้น แต่เพิ่งมาชำระหลังจากได้ยื่นฟ้องคดีนี้แล้ว โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง ศาลภาษีอากรกลางจะรับฟังไว้พิจารณามิได้ บทบัญญัติ พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดิน มาตรา 39 เป็นบทกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน เพราะเป็นบทบัญญัติเกี่ยวกับสิทธิของผู้จะฟ้องคดี ศาลฎีกาแผนกคดีภาษีอากรจึงยกบทกฎหมายดังกล่าวขึ้นชี้ขาดคดีได้ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ.2528 มาตรา 29 ประกอบ ป.วิ.พ. มาตรา 246 และ 142 (5)
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 142, ม. 246
พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ.2475 ม. 39
พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ.2528 ม. 29
 

ข้อจำกัดความรับผิดชอบ: ข้อมูลเหล่านี้อาจไม่ใช่เวอร์ชันล่าสุด รัฐบาลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอาจมีข้อมูลที่เป็นปัจจุบันหรือแม่นยำกว่า เราไม่รับประกันหรือรับประกันเกี่ยวกับความถูกต้อง ความสมบูรณ์ หรือความเพียงพอของข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้หรือข้อมูลที่เชื่อมโยงกับเว็บไซต์ของรัฐ โปรดตรวจสอบแหล่งที่มาอย่างเป็นทางการ
ข้อมูลอ้างอิงจากเว็บไซต์ : www.krisdika.go.th, deka.supremecourt.or.th
แนะนำโดย Legardy
cta
ปรึกษาทนายได้ตลอด 24 ชม.
เพียงกดปุ่ม ปรึกษาได้ทันที