Banner blog website.png
เผยแพร่เมื่อ: 2023-05-29

มาตรา 24 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

“มาตรา 24 หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 24” คืออะไร? 


“มาตรา 24” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 24 “ คือ หนึ่งในมาตราของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ 
ซึ่งบัญญัติไว้ว่า “ผู้เยาว์อาจทำการใด ๆ ได้ทั้งสิ้น ซึ่งเป็นการสมแก่ฐานานุรูปแห่งตนและเป็นการอันจำเป็นในการดำรงชีพตามสมควร “

 


3 ตัวอย่างจริงของการใช้” มาตรา 24” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 24 ” ในประเทศไทย 


1. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4984/2537
การขายอสังหาริมทรัพย์ของผู้เยาว์ ผู้เยาว์เองหรือผู้ใช้อำนาจปกครองจะกระทำมิได้ เว้นแต่ศาลจะอนุญาต ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1574 เมื่อผู้แทนโดยชอบธรรมต้องห้ามโดยกฎหมายมิให้ทำนิติกรรมขายที่ดินซึ่งหมายความรวมถึงนิติกรรมจะขายที่ดินแทนผู้เยาว์โดยลำพังแล้ว จะถือว่าการที่ผู้เยาว์ทำนิติกรรมพร้อมกับผู้แทนโดยชอบธรรมมีผลว่าผู้แทนโดยชอบธรรมอนุญาตให้ทำได้โดยไม่ต้องขออนุญาตจากศาลก่อน ก็เท่ากับเป็นการหลีกเลี่ยงไม่ต้องมาขออนุญาตจากศาล ซึ่งเป็นการผิดไปจากเจตนารมณ์ของกฎหมาย สัญญาจะซื้อจะขายที่จำเลยที่ 3 ได้กระทำในขณะที่ยังเป็นผู้เยาว์อยู่ จึงไม่มีผลผูกพันจำเลยที่ 3 และกรณีมิใช่โมฆียะกรรมแม้ภายหลังจำเลยที่ 3 จะบรรลุนิติภาวะโดยการสมรสจำเลยที่ 3ก็ไม่อาจให้สัตยาบันได้ แม้สัญญาจะซื้อจะขายไม่ผูกพันจำเลยที่ 3 ก็มีผลเพียงทำให้จำเลยที่ 3 ไม่จำต้องขายที่ดินเฉพาะส่วนของจำเลยที่ 3 ให้แก่โจทก์เท่านั้น ส่วนสัญญาจะซื้อจะขายระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 2มีผลสมบูรณ์บังคับกันได้ตามกฎหมาย จำเลยที่ 2 จึงต้องขายที่ดินเฉพาะส่วนของตนให้แก่โจทก์ตามสัญญา ทนายโจทก์ยื่นคำแถลงต่อศาลชั้นต้นว่า ทนายโจทก์ได้ย้ายสำนักงานจากที่เดิมไปอยู่สำนักงานแห่งใหม่ ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตแล้วแต่ปรากฏว่าเมื่อศาลชั้นต้นออกหมายนัดฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ได้ออกหมายนัดส่งให้ทนายโจทก์โดยการปิดหมาย ณ สำนักงานทนายโจทก์แห่งเดิม หาได้ส่งหมายนัดให้ทนายโจทก์ ณ สำนักงานแห่งใหม่ดังที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไว้ไม่ ทั้งมิได้ส่งหมายนัดให้แก่ตัวโจทก์ด้วยโจทก์จึงไม่ทราบวันนัดอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ จึงถือไม่ได้ว่าศาลได้อ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ให้โจทก์ฟังแล้ว ดังนี้ เมื่อโจทก์ยื่นฎีกาภายในกำหนดหนึ่งเดือนนับแต่วันที่โจทก์ทราบคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาของโจทก์จึงชอบแล้ว
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 21, ม. 24, ม. 453, ม. 1574
ป.วิ.พ. ม. 76, ม. 79, ม. 140, ม. 246


2. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4984/2537
การขายอสังหาริมทรัพย์ของผู้เยาว์ ผู้เยาว์เองหรือผู้ใช้อำนาจปกครองจะกระทำมิได้ เว้นแต่ศาลจะอนุญาต ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1574เมื่อผู้แทนโดยชอบธรรมต้องห้ามโดยกฎหมายมิให้ทำนิติกรรมขายที่ดินซึ่งหมายความรวมถึงนิติกรรมจะขายที่ดินแทนผู้เยาว์โดยลำพังแล้ว จะถือว่าการที่ผู้เยาว์ทำนิติกรรมพร้อมกับผู้แทนโดยชอบธรรมมีผลว่าผู้แทนโดยชอบธรรมอนุญาตให้ทำได้โดยไม่ต้องขออนุญาตจากศาลก่อน ก็เท่ากับเป็นการหลีกเลี่ยงไม่ต้องมาขออนุญาตจากศาล ซึ่งเป็นการผิดไปจากเจตนารมณ์ของกฎหมาย สัญญาจะซื้อจะขายที่จำเลยที่ 3 ได้กระทำในขณะที่ยังเป็นผู้เยาว์อยู่ จึงไม่มีผลผูกพันจำเลยที่ 3และกรณีมิใช่โมฆียะกรรม แม้ภายหลังจำเลยที่ 3 จะบรรลุนิติภาวะโดยการสมรสจำเลยที่ 3 ก็ไม่อาจให้สัตยาบันได้
แม้สัญญาจะซื้อจะขายไม่ผูกพันจำเลยที่ 3 ก็มีผลเพียงทำให้จำเลยที่ 3ไม่จำต้องขายที่ดินเฉพาะส่วนของจำเลยที่ 3 ให้แก่โจทก์เท่านั้น ส่วนสัญญาจะซื้อจะขายระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 2 มีผลสมบูรณ์บังคับกันได้ตามกฎหมาย จำเลยที่ 2จึงต้องขายที่ดินเฉพาะส่วนของตนให้แก่โจทก์ตามสัญญา
ทนายโจทก์ยื่นคำแถลงต่อศาลชั้นต้นว่า ทนายโจทก์ได้ย้ายสำนักงานจากที่เดิมไปอยู่สำนักงานแห่งใหม่ ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตแล้ว แต่ปรากฏว่าเมื่อศาลชั้นต้นออกหมายนัดฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ได้ออกหมายนัดส่งให้ทนายโจทก์โดยการปิดหมาย ณ สำนักงานทนายโจทก์แห่งเดิม หาได้ส่งหมายนัดให้ทนายโจทก์ ณ สำนักงานแห่งใหม่ดังที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไว้ไม่ ทั้งมิได้ส่งหมายนัดให้แก่ตัวโจทก์ด้วย โจทก์จึงไม่ทราบวันนัดอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ จึงถือไม่ได้ว่าศาลได้อ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ให้โจทก์ฟังแล้ว ดังนี้ เมื่อโจทก์ยื่นฎีกาภายในกำหนดหนึ่งเดือนนับแต่วันที่โจทก์ทราบคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาของโจทก์จึงชอบแล้ว
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 21, ม. 24, ม. 453, ม. 1574
ป.วิ.พ. ม. 76, ม. 79, ม. 140, ม. 246


3. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3416/2534
การขายอสังหาริมทรัพย์ของผู้เยาว์ ผู้เยาว์เองหรือผู้ใช้อำนาจปกครองจะกระทำมิได้เว้นแต่ศาลจะอนุญาต ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1574 เมื่อผู้แทนโดยชอบธรรมต้องห้ามโดยกฎหมายมิให้ทำนิติกรรมขายที่ดินซึ่งหมายความรวมถึงนิติกรรมจะขายที่ดินแทนผู้เยาว์โดยลำพังแล้ว จะถือว่าการที่ผู้เยาว์ทำนิติกรรมพร้อมกับผู้แทนโดยชอบธรรม มีผลว่าผู้แทนโดยชอบธรรมอนุญาตให้ทำได้โดยไม่ต้องขออนุญาตจากศาลก่อนหรือถือว่านิติกรรมที่ผู้เยาว์กระทำด้วยตนเองในขณะยังไม่บรรลุนิติภาวะโดยมิได้รับอนุญาตจากศาลมีผลผูกพันผู้เยาว์เมื่อบรรลุนิติภาวะแล้วก็เท่ากับเป็นการหลีกเลี่ยงไม่ต้องมาขออนุญาตจากศาล ซึ่งผิดไปจากเจตนารมณ์ของกฎหมาย สัญญาจะซื้อขายที่จำเลยที่ 8 ได้กระทำไปในขณะที่ยังเป็นผู้เยาว์ จึงไม่มีผลผูกพันจำเลยที่ 8 แม้ขณะที่โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 8 จะบรรลุนิติภาวะแล้ว.
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 21, ม. 24, ม. 1574
 

ข้อจำกัดความรับผิดชอบ: ข้อมูลเหล่านี้อาจไม่ใช่เวอร์ชันล่าสุด รัฐบาลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอาจมีข้อมูลที่เป็นปัจจุบันหรือแม่นยำกว่า เราไม่รับประกันหรือรับประกันเกี่ยวกับความถูกต้อง ความสมบูรณ์ หรือความเพียงพอของข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้หรือข้อมูลที่เชื่อมโยงกับเว็บไซต์ของรัฐ โปรดตรวจสอบแหล่งที่มาอย่างเป็นทางการ
ข้อมูลอ้างอิงจากเว็บไซต์ : www.krisdika.go.th, deka.supremecourt.or.th
แนะนำโดย Legardy
cta
ปรึกษาทนายได้ตลอด 24 ชม.
เพียงกดปุ่ม ปรึกษาได้ทันที