Banner blog website.png
เผยแพร่เมื่อ: 2023-05-30

มาตรา 238 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

“มาตรา 238 หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 238” คืออะไร? 


“มาตรา 238” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 238 “ คือ หนึ่งในมาตราของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ 
ซึ่งบัญญัติไว้ว่า “ การเพิกถอนดังกล่าวมาในบทมาตราก่อนนั้นไม่อาจกระทบกระทั่งถึงสิทธิของบุคคลภายนอก อันได้มาโดยสุจริตก่อนเริ่มฟ้องคดีขอเพิกถอน
              อนึ่งความที่กล่าวมาในวรรคก่อนนี้ ท่านมิให้ใช้บังคับ ถ้าสิทธินั้นได้มาโดยเสน่หา “

 


3 ตัวอย่างจริงของการใช้” มาตรา 238” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 238 ” ในประเทศไทย


1. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10252/2546
เอกสารหมาย จ. 4 เป็นเอกสารที่โจทก์อ้างอิงและยื่นต่อศาลภาษีอากรกลางก่อนวันชี้สองสถานไม่น้อยกว่าสามสิบวัน ตามข้อ 15 แห่งข้อกำหนดคดีภาษีอากร พ.ศ. 2544 ซึ่งออกโดยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 20 แห่ง พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ. 2528 ดังนั้น แม้ไม่มีพยานโจทก์ปากใดเบิกความถึงเอกสาร ดังกล่าว โจทก์ย่อมสามารถหยิบยกเอกสารดังกล่าวอ้างในชั้นอุทธรณ์ได้
เอกสารหมาย จ. 4 เป็นหนังสือทั่วไปที่สำนักงานภาษีสรรพากรพื้นที่ 10 แจ้งไปยังกรรมการผู้จัดการ ของธนาคารจำเลยที่ 4 รวมทั้งแจ้งถึงผู้จัดการธนาคารอื่นว่า จำเลยที่ 1 และบุคคลอื่นตามบัญชีรายชื่อผู้ค้างชำระภาษีอากรดังกล่าว มีบัญชีเงินฝากอยู่ที่ธนาคารหรือไม่ หากมีเป็นเงินฝากประเภทใด เลขที่บัญชีใด จำนวนเท่าใด แล้วแจ้งให้สำนักงานภาษีสรรพากรพื้นที่ 10 ทราบ โดยไม่ได้แจ้งว่าโจทก์กำลังจะบังคับชำระหนี้ที่ดินพิพาทที่จำเลยที่ 1 จำนองไว้กับจำเลยที่ 4 เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 4 รู้ว่าจำเลยที่ 1 โอนที่ดินให้จำเลยที่ 2 และที่ 3 เพื่อหลีกเลี่ยงการบังคับชำระหนี้ภาษีอากรค้าง ทำให้โจทก์เสียเปรียบ ถือว่าจำเลยที่ 4 ได้จดทะเบียนรับจำนอง ที่ดินพิพาทโดยมิได้รู้เท่าถึงข้อความจริงอันเป็นทางให้เจ้าหนี้เสียเปรียบ จำเลยที่ 4 จึงเป็นบุคคลภายนอกผู้ได้สิทธิมาโดยสุจริต ก่อนเริ่มฟ้องคดีขอเพิกถอนการฉ้อฉล การเพิกถอนนิติกรรมซื้อขายระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 และที่ 3 นั้น ย่อมไม่กระทบถึงสิทธิของจำเลยที่ 4 ตาม ป.พ.พ. มาตรา 238
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 237, ม. 238
ป.รัษฎากร ม. 12
พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ.2528 ม. 20
ข้อกำหนดคดีภาษีอากร พ.ศ.2544 ม. 15


2. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3365/2540
ที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ที่พิพาทเป็นสินสมรสของจำเลยที่ 1 กับ ฉ. จำเลยที่ 1 ยกที่ดินดังกล่าวให้แก่จำเลยที่ 2 โดยเสน่หาหลังจากจำเลยที่ 1 ทำละเมิดโจทก์แล้วและจำเลยที่ 1 ไม่มีทรัพย์สินอื่นใดอีกถือได้ว่าจำเลยที่ 1 ยกที่ดินดังกล่าวให้แก่จำเลยที่ 2 โดยรู้อยู่ว่าเป็นทางให้โจทก์เสียเปรียบแล้ว ตาม ป.พ.พ.มาตรา 237 โจทก์จึงชอบที่จะร้องขอให้ศาลเพิกถอนนิติกรรมยกให้ดังกล่าวได้ แต่โจทก์มิได้ฟ้อง ฉ. ทั้งไม่ปรากฏว่าหนี้อันเกิดจากการกระทำละเมิดของจำเลยที่ 1 ต่อโจทก์เป็นหนี้ร่วม จึงไม่ชอบที่ศาลจะเพิกถอนนิติกรรมยกให้ในส่วนของ ฉ.ด้วย
การทำละเมิดต่อผู้อื่นเป็นบ่อเกิดแห่งหนี้ประเภทหนึ่งทำละเมิดวันใดหนี้ก็เกิดในวันนั้นโดยไม่จำต้องฟ้องต่อศาลก่อน เมื่อหนี้เกิดขึ้นแล้วนับจากวันนั้นไปหากลูกหนี้ทำนิติกรรมใดอันมีวัตถุเป็นสิทธิในทรัพย์สินก็อาจทำให้เจ้าหนี้เสียเปรียบได้ โดยไม่จำต้องให้เจ้าหนี้ฟ้องต่อศาลก่อน
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 237, ม. 238
ป.วิ.พ. ม. 142


3. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3180/2540
โจทก์มีเจตนาที่จะซื้อขายที่ดินพิพาทกับจำเลยที่1ให้เสร็จเด็ดขาดไปเหตุที่ไม่ได้มีการโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทในวันนัดเกิดจากการบิดพลิ้วของจำเลยที่1ที่ไม่ไปตามกำหนดนัดต่อมาจำเลยที่1ขายที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่2ซึ่งทราบดีว่าจำเลยที่1จะขายที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์และจำเลยที่1ไม่เคยบอกเลิกสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินแก่โจทก์และตั้งแต่จำเลยที่2ซื้อที่ดินพิพาทมาจนกระทั่งขายให้จำเลยร่วมทั้งสองจำเลยที่2ไม่เคยมีโฉนดที่ดินพิพาทอยู่ในความครอบครองแทนผิดปกติวิสัยผู้ที่ทำการซื้อขายที่ดินกันโดยทั่วไปไม่น่าเชื่อว่ามีการซื้อขายกันโดยสุจริตการที่จำเลยที่2รับโอนที่ดินพิพาทจากจำเลยที่1จึงเป็นการทำให้โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ของจำเลยที่1เสียเปรียบเป็นการฉ้อฉลโจทก์โจทก์มีอำนาจฟ้องขอให้ศาลเพิกถอนนิติกรรมซื้อขายที่ดินระหว่างจำเลยทั้งสองได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา237 ผู้ได้ลาภงอกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา237หมายถึงผู้ที่เป็นคู่กรณีทำนิติกรรมกับลูกหนี้โดยตรงส่วนบุคคลภายนอกในมาตรา238เป็นผู้ที่ได้รับโอนทรัพย์สินของลูกหนี้ต่อจากผู้ทำนิติกรรมกับลูกหนี้จำเลยร่วมทั้งสองเป็นผู้ได้รับโอนที่ดินพิพาทของลูกหนี้ต่อจากผู้ทำนิติกรรมกับลูกหนี้จึงเป็นบุคคลภายนอกตามความหมายของมาตรา238หาได้รับความคุ้มครองตามมาตรา237ไม่
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 237, ม. 238
 

ข้อจำกัดความรับผิดชอบ: ข้อมูลเหล่านี้อาจไม่ใช่เวอร์ชันล่าสุด รัฐบาลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอาจมีข้อมูลที่เป็นปัจจุบันหรือแม่นยำกว่า เราไม่รับประกันหรือรับประกันเกี่ยวกับความถูกต้อง ความสมบูรณ์ หรือความเพียงพอของข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้หรือข้อมูลที่เชื่อมโยงกับเว็บไซต์ของรัฐ โปรดตรวจสอบแหล่งที่มาอย่างเป็นทางการ
ข้อมูลอ้างอิงจากเว็บไซต์ : www.krisdika.go.th, deka.supremecourt.or.th
แนะนำโดย Legardy
cta
ปรึกษาทนายได้ตลอด 24 ชม.
เพียงกดปุ่ม ปรึกษาได้ทันที