Banner blog website.png
เผยแพร่เมื่อ: 2023-05-30

มาตรา 236 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

“มาตรา 236 หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 236” คืออะไร? 


“มาตรา 236” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 236 “ คือ หนึ่งในมาตราของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ 
ซึ่งบัญญัติไว้ว่า “ จำเลยมีข้อต่อสู้ลูกหนี้เดิมอยู่อย่างใด ๆ ท่านว่าจะยกขึ้นต่อสู้เจ้าหนี้ได้ทั้งนั้น เว้นแต่ข้อต่อสู้ซึ่งเกิดขึ้นเมื่อยื่นฟ้องแล้ว “

 


3 ตัวอย่างจริงของการใช้” มาตรา 236” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 236 ” ในประเทศไทย


1. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4572/2553
จำเลยให้การว่าโจทก์ร่วมทำผิดสัญญาทำให้จำเลยได้รับความเสียหายอย่างร้ายแรงจึงบอกกล่าวเลิกสัญญานั้น คำให้การของจำเลยไม่มีรายละเอียดข้อเท็จจริงว่าโจทก์ร่วมทำผิดสัญญาอย่างไร เป็นคำให้การที่ไม่ชัดแจ้งไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 177 วรรคสอง คดีไม่มีประเด็นเรื่องนี้ และจำเลยไม่มีสิทธินำพยานเข้าสืบ ที่จำเลยอ้างรายละเอียดคำร้องขอคุ้มครองชั่วคราวก่อนมีคำพิพากษาของโจทก์คำร้องดังกล่าวของโจทก์ไม่ใช่ส่วนหนึ่งของคำให้การ ไม่ทำให้การจำเลยชัดแจ้งขึ้นมาได้ทั้งสำเนาเอกสารหมายเลข 3 ท้ายคำร้องขอคุ้มครองชั่วคราวก่อนมีคำพิพากษาของโจทก์นั้นลงวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2542 เป็นข้อต่อสู้ซึ่งเกิดขึ้นภายหลังยื่นฟ้องคดีนี้แล้ว จำเลยจึงยกขึ้นต่อสู้โจทก์ไม่ได้ตาม ป.พ.พ. 236
ศาลชั้นต้นสั่งในคำคัดค้านการกำหนดประเด็นข้อพิพาทของโจทก์ลงวันที่ 17 พฤษภาคม 2542 ว่า รับรวม เท่ากับศาลชั้นต้นไม่เพิกถอนประเด็นข้อพิพาท ถือว่าศาลชั้นต้นได้ชี้ขาดคำคัดด้านของโจทก์ก่อนวันสืบพยานตาม ป.วิ.พ. มาตรา 183 วรรคท้าย เมื่อศาลชั้นต้นโดยองค์คณะผู้พิพากษาที่ได้รับสำนวนต่อมาเห็นว่า ประเด็นข้อพิพาทที่กำหนดไว้เดิมไม่ถูกต้องศาลมีอำนาจที่จะสั่งเพิกถอนประเด็นข้อพิพาทตามที่ศาลเห็นสมควรตาม ป.วิ.พ. มาตรา 27 วรรคหนึ่ง ในคำพิพากษาได้
จำเลยไม่ได้ให้การในเรื่องหนี้ตามคำพิพากษาตามยอมระหว่างโจทก์กับโจทก์ร่วมเกิดขึ้นโดยการสมยอมกัน โจทก์ไม่มีอำนาจฟัอง ถือว่าเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 2 ต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 236
ป.วิ.พ. ม. 27, ม. 177 วรรคสอง, ม. 183, ม. 249


2. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1044/2550
จำเลยยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งไม่รับอุทธรณ์ต่อศาลชั้นต้น ศาลชั้นต้นมีหน้าที่ส่งคำร้องนั้นไปยังศาลอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 236 ไม่มีหน้าที่ตรวจสั่งไม่รับเหมือนอย่างชั้นรับหรือไม่รับอุทธรณ์ตามความในมาตรา 232 การที่ศาลชั้นต้นสั่งไม่รับคำร้องอุทธรณ์คำสั่งไม่รับอุทธรณ์จึงไม่ชอบ
จำเลยอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นที่ยกคำร้องขอให้เพิกถอนการพิจารณาที่ผิดระเบียบกรณีศาลชั้นต้นไม่รับคำร้องอุทธรณ์คำสั่งไม่รับอุทธรณ์ของจำเลย และศาลชั้นต้นได้ส่งคำร้องอุทธรณ์คำสั่งที่ไม่รับอุทธรณ์และสำนวนไปยังศาลอุทธรณ์ เมื่อศาลอุทธรณ์ได้วินิจฉัยว่า จำเลยยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งที่ไม่รับอุทธรณ์พ้นกำหนด 15 วัน ทั้งมิได้นำค่าฤชาธรรมเนียมทั้งปวงมาวางศาลและนำเงินมาชำระตามคำพิพากษาหรือหาประกันให้ไว้ต่อศาลตามมาตรา 234 จึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย ให้ยกคำร้อง จึงมีผลเป็นการยืนตามคำปฏิเสธของศาลชั้นต้น คำสั่งของศาลอุทธรณ์ย่อมเป็นที่สุดตามมาตรา 236 วรรคหนึ่ง
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 236


3. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1748/2540
จำเลยทั้งสองต่างเป็นเจ้าหนี้และลูกหนี้ตามคำพิพากษาอันถึงที่สุดแล้วซึ่งกันและกันและเป็นหนี้เงินเหมือนกันทั้งเป็นหนี้ที่ถึงกำหนดจะชำระแล้วด้วยจึงเป็นหนี้ที่สามารถนำมาหักกลบลบกันได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา341การที่โจทก์ฟ้องอ้างว่าจำเลยที่1เป็นหนี้ค่าภาษีอากรที่จะต้องชำระให้โจทก์แต่จำเลยที่1ไม่ใช้สิทธิบังคับเอาแก่จำเลยที่2ซึ่งเป็นลูกหนี้ของจำเลยที่1เป็นเหตุให้โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ต้องเสียประโยชน์จึงขอใช้สิทธิเรียกร้องของจำเลยที่1ในนามของโจทก์เพื่อบังคับเอาแก่จำเลยที่2เช่นนี้จึงเป็นกรณีที่โจทก์ใช้สิทธิเรียกร้องของลูกหนี้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา233และในกรณีเช่นนี้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา236กำหนดให้จำเลยที่มีข้อต่อสู้ลูกหนี้เดิมอยู่อย่างใดๆจะยกขึ้นต่อสู้เจ้าหนี้ได้ทั้งนั้นเว้นแต่ข้อต่อสู้ซึ่งเกิดขึ้นเมื่อยื่นฟ้องแล้วปรากฏว่าจำเลยที่1เป็นลูกหนี้ของจำเลยที่2ตามคำพิพากษาก่อนโจทก์ฟ้องคดีนี้จำเลยที่2จึงยกข้อต่อสู้ที่มีอยู่กับจำเลยที่1ขึ้นต่อสู้โจทก์โดยขอหักกลบลบหนี้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา341และ342ได้
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 233, ม. 236, ม. 342
 

ข้อจำกัดความรับผิดชอบ: ข้อมูลเหล่านี้อาจไม่ใช่เวอร์ชันล่าสุด รัฐบาลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอาจมีข้อมูลที่เป็นปัจจุบันหรือแม่นยำกว่า เราไม่รับประกันหรือรับประกันเกี่ยวกับความถูกต้อง ความสมบูรณ์ หรือความเพียงพอของข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้หรือข้อมูลที่เชื่อมโยงกับเว็บไซต์ของรัฐ โปรดตรวจสอบแหล่งที่มาอย่างเป็นทางการ
ข้อมูลอ้างอิงจากเว็บไซต์ : www.krisdika.go.th, deka.supremecourt.or.th
แนะนำโดย Legardy
cta
ปรึกษาทนายได้ตลอด 24 ชม.
เพียงกดปุ่ม ปรึกษาได้ทันที