Banner blog website.png
เผยแพร่เมื่อ: 2023-05-30

มาตรา 232 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

“มาตรา 232 หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 232” คืออะไร? 


“มาตรา 232” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 232 “ คือ หนึ่งในมาตราของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ 
ซึ่งบัญญัติไว้ว่า “ ถ้าตามความในมาตราก่อนนี้เป็นอันว่าจะเอาเงินจำนวนหนึ่งให้แทนทรัพย์สินที่ทำลายหรือบุบสลายไซร้ เงินจำนวนนี้ท่านยังมิให้ส่งมอบแก่ผู้รับจำนอง ผู้รับจำนำ หรือเจ้าหนี้มีบุริมสิทธิคนอื่น ก่อนที่หนี้ซึ่งได้เอาทรัพย์นี้เป็นประกันไว้นั้นจะถึงกำหนด และถ้าคู่กรณีไม่สามารถจะตกลงกับลูกหนี้ได้ไซร้ ท่านว่าต่างฝ่ายต่างมีสิทธิที่จะเรียกร้องให้นำเงินจำนวนนั้นไปวางไว้ ณ สำนักงานวางทรัพย์เพื่อประโยชน์อันร่วมกัน เว้นแต่ลูกหนี้จะหาประกันให้ไว้ตามสมควร “

 


3 ตัวอย่างจริงของการใช้” มาตรา 232” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 232 ” ในประเทศไทย


1. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7094/2542
พ.ร.บ. ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ ฯ ได้กำหนดบุคคลผู้ที่จะมีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนอันเนื่องมาจากการดำเนินการเพื่อการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ไว้ในมาตรา 18 (1) ถึง (6) แยกไว้ต่างหากจากกัน การดำเนินการเพื่อเวนคืนอสังหาริมทรัพย์รายการเดียวก็อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อบุคคลหลายฝ่าย อันเป็นเหตุให้เกิดสิทธิแก่บุคคลหลายคนที่จะได้รับเงินค่าทดแทนแยกต่างหากจากกันได้
โจทก์เป็นผู้เช่าที่ดินก่อสร้างตึกแถวและสิ่งปลูกสร้างมีกำหนด 30 ปี เพื่อนำไปให้บุคคลภายนอกเช่าช่วงภายในกำหนดระยะเวลาที่เช่า และโจทก์มีหน้าที่บำรุงรักษาตึกแถวและสิ่งปลูกสร้างดังกล่าวเพื่อส่งมอบให้แก่เจ้าของที่ดินเมื่อครบกำหนดระยะเวลาการเช่าแล้วขณะที่ พ.ร.ฎ. กำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่จะเวนคืน ฯ มีผลใช้บังคับ โจทก์คงเป็นเจ้าของตึกแถวและสิ่งปลูกสร้างตามฟ้อง จึงจัดเป็นบุคคลผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนตามมาตรา 18 (2) แม้ในขณะที่มีการดำเนินการเพื่อเวนคืนตึกแถวและสิ่งปลูกสร้างตามฟ้องยังไม่ได้ตกเป็นของเจ้าของที่ดิน เจ้าของที่ดินจึงไม่ใช่บุคคลผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าตอบแทนตามมาตรา 18 (1) ถึง (6) ก็ตาม แต่เมื่อครบกำหนด 30 ปี ตามสัญญาเช่าที่ดิน ตึกแถวและสิ่งปลูกสร้างตามฟ้องจะตกเป็นของเจ้าของที่ดินทันที จึงถือได้ว่าเจ้าของที่ดินเป็นเจ้าหนี้โจทก์ในหนี้ที่โจทก์จะต้องส่งมอบตึกแถวและสิ่งปลูกสร้างตามฟ้องให้แก่เจ้าของที่ดิน เมื่อตึกแถวและสิ่งปลูกสร้างตามฟ้องถูกเวนคืนไปเสียก่อนที่จะตกเป็นกรรมสิทธิ์ของเจ้าของที่ดินอันเป็นผลให้ได้เงินค่าทดแทนมาจากการเวนคืน เงินค่าทดแทนนี้จึงเป็นทรัพย์สินซึ่งเข้าแทนที่ตึกแถวและสิ่งปลูกสร้างที่ถูกเวนคืนในฐานะนิตินัยอย่างเดียวกันกับตึกแถวและสิ่งปลูกสร้างตาม ป.พ.พ. มาตรา 226 วรรคสอง และ 228 วรรคหนึ่ง จำเลยซึ่งมีหน้าที่จ่ายเงินค่าทดแทนจึงต้องแจ้งการกำหนดเงินค่าทดแทนและการที่จะใช้เงินค่าทดแทนให้แก่เจ้าของที่ดินทราบตาม ป.พ.พ. มาตรา 231 เมื่อเจ้าของที่ดินไม่สามารถจะตกลงกับโจทก์ได้ โจทก์และเจ้าของที่ดินต่างฝ่ายต่างมีสิทธิที่จะเรียกร้องให้นำเงินจำนวนนั้นไปวางไว้ ณ สำนักงานวางทรัพย์เพื่อประโยชน์อันร่วมกัน เว้นแต่โจทก์จะหาประกันไว้ให้ตามสมควรตาม ป.พ.พ. มาตรา 232 ดังนั้น ที่ฝ่ายจำเลยให้โจทก์กับเจ้าของที่ดินตกลงเรื่องจำนวนเงินค่าทดแทนกันให้ได้แล้วจึงมีสิทธิที่จะตกลงทำสัญญารับเงินค่าทดแทนจากฝ่ายจำเลยได้นั้นเป็นการดำเนินที่ชอบด้วยกฎหมายแล้ว และเมื่อโจทก์กับเจ้าของที่ดินตกลงกันไม่ได้ จึงถือได้ว่าเป็นกรณีที่ไม่อาจจ่ายเงินค่าทดแทนให้แก่ผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนรายใดได้เพราะมีปัญหาเรื่องเกี่ยวกับกรรมสิทธิ์หรือสิทธิอื่น ๆ ในอสังหาริมทรัพย์ที่ต้องเวนคืน ฝ่ายจำเลยซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่เวนคืนจึงวางเงินค่าทดแทนได้ตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ มาตรา 28 วรรคสอง กรณีเช่นนี้ศาลไม่อาจพิพากษาให้โจทก์ได้รับเงินค่าทดแทนทั้งหมดไปเพียงผู้เดียว
ผู้เช่าช่วงซึ่งเป็นผู้เช่าตึกแถวและสิ่งปลูกสร้างจากโจทก์ จัดเป็นบุคคลผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนตามมาตรา 18 (3) และเป็นบุคคลผู้ได้รับความเสียหายเนื่องจากการที่ต้องออกจากอสังหาริมทรัพย์ที่ต้องเวนคืนอันมีสิทธิได้เงินค่าทดแทนสำหรับความเสียหายนั้นตามมาตรา 21 วรรคท้าย สิทธิของผู้เช่าตึกแถวและสิ่งปลูกสร้างดังกล่าวแยกต่างหากจากโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของตึกแถวและสิ่งปลูกสร้าง และแยกต่างหากจากเจ้าของที่ดิน ดังนั้น ที่ฝ่ายจำเลยกำหนดเงินค่าทดแทนเบื้องต้นให้แก่ผู้เช่าช่วงรวมกันกับโจทก์และเจ้าของที่ดินเป็นเงินจำนวนหนึ่งในลักษณะกรรมสิทธิ์รวม และนำเงินค่าทดแทนเบื้องต้นดังกล่าวไปฝากไว้ต่อธนาคารออมสินในนามของโจทก์กับเจ้าของที่ดินและผู้เช่าช่วงรวมกันจึงไม่ถูกต้อง
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 226, ม. 228, ม. 231, ม. 232
พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 ม. 18, ม. 21, ม. 28


2. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3097/2530
คำสั่งศาลชั้นต้นที่ปฏิเสธไม่ส่งอุทธรณ์ไปยังศาลอุทธรณ์แม้จะเป็นเรื่องสั่งไม่รับตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 18 ก็เป็นคำสั่งปฏิเสธไม่ส่งอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 232ซึ่งผู้อุทธรณ์จะต้องอุทธรณ์คำสั่งไปยังศาลอุทธรณ์ภายในกำหนด 10 วัน นับแต่วันที่ศาลมีคำสั่ง ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 234 เมื่อโจทก์ยื่นอุทธรณ์คำสั่งเกินกำหนดดังกล่าว ศาลอุทธรณ์ย่อมมีคำสั่งไม่รับคำร้องอุทธรณ์คำสั่ง.
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 18, ม. 232, ม. 234


3. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3097/2530
คำสั่งศาลชั้นต้นที่ปฏิเสธไม่ส่งอุทธรณ์ไปยังศาลอุทธรณ์ แม้จะเป็นเรื่องสั่งไม่รับตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 18 ก็เป็นคำสั่งปฏิเสธไม่ส่งอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 232 ซึ่งผู้อุทธรณ์จะต้องอุทธรณ์คำสั่งไปยังศาลอุทธรณ์ภายในกำหนด 10 วัน นับแต่วันที่ศาลมีคำสั่ง ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 234 เมื่อโจทก์ยื่นอุทธรณ์คำสั่งเกินกำหนดดังกล่าว ศาลอุทธรณ์ย่อมมีคำสั่งไม่รับคำร้องอุทธรณ์คำสั่ง
 

ข้อจำกัดความรับผิดชอบ: ข้อมูลเหล่านี้อาจไม่ใช่เวอร์ชันล่าสุด รัฐบาลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอาจมีข้อมูลที่เป็นปัจจุบันหรือแม่นยำกว่า เราไม่รับประกันหรือรับประกันเกี่ยวกับความถูกต้อง ความสมบูรณ์ หรือความเพียงพอของข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้หรือข้อมูลที่เชื่อมโยงกับเว็บไซต์ของรัฐ โปรดตรวจสอบแหล่งที่มาอย่างเป็นทางการ
ข้อมูลอ้างอิงจากเว็บไซต์ : www.krisdika.go.th, deka.supremecourt.or.th
แนะนำโดย Legardy
cta
ปรึกษาทนายได้ตลอด 24 ชม.
เพียงกดปุ่ม ปรึกษาได้ทันที