Banner blog website.png
เผยแพร่เมื่อ: 2023-05-30

มาตรา 230 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

“มาตรา 230 หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 230” คืออะไร? 


“มาตรา 230” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 230 “ คือ หนึ่งในมาตราของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ 
ซึ่งบัญญัติไว้ว่า “ ถ้าในการที่เจ้าหนี้นำบังคับยึดทรัพย์อันหนึ่งอันใดของลูกหนี้นั้นบุคคลผู้ใดจะต้องเสี่ยงภัยเสียสิทธิในทรัพย์อันนั้นเพราะการบังคับยึดทรัพย์ไซร้ ท่านว่าบุคคลผู้นั้นมีสิทธิจะเข้าใช้หนี้เสียแทนได้ อนึ่งผู้ครองทรัพย์อันหนึ่งอันใด ถ้าจะต้องเสี่ยงภัยเสียสิทธิครองทรัพย์นั้นไปเพราะการบังคับยึดทรัพย์ ก็ย่อมมีสิทธิจะทำได้เช่นเดียวกับที่ว่ามานั้น
              ถ้าบุคคลภายนอกผู้ใดมาใช้หนี้แทนจนเป็นที่พอใจของเจ้าหนี้แล้ว บุคคลผู้นั้นย่อมเข้ารับช่วงสิทธิเรียกร้องของเจ้าหนี้ แต่สิทธิเรียกร้องอันนี้จะบังคับให้เป็นที่เสื่อมเสียแก่เจ้าหนี้หาได้ไม่ “

 


3 ตัวอย่างจริงของการใช้” มาตรา 230” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 230 ” ในประเทศไทย


1. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 791/2553
จำเลยที่ 1 เป็นหนี้บรรษัท ง. โดยมีโจทก์ จำเลยที่ 2 เป็นผู้ค้ำประกัน และจำเลยที่ 1 กับที่ 3 ได้จำนองที่ดินในวงเงิน 4,000,000 บาท เพื่อประกันหนี้ โดยมีข้อตกลงต่อท้ายสัญญาจำนองว่า ถ้าหากบังคับจำนองแล้วได้เงินไม่พอชำระหนี้ จำเลยที่ 1 และที่ 3 ยอมรับผิดชำระหนี้ส่วนที่ขาดจนครบถ้วน เช่นนี้ความรับผิดของโจทก์จำเลยที่ 2 และที่ 3 ที่มีต่อบรรษัท ง. นั้นอยู่ในฐานะลูกหนี้ร่วมที่จะต้องชำระหนี้ตามฐานะของตน และวงเงินที่มีการกำหนดความรับผิดไว้ โดยจำเลยที่ 3 ต้องรับผิดในฐานะผู้จำนองซึ่งกำหนดวงเงินจำกัดความรับผิดไว้ การที่โจทก์ได้ชำระหนี้ตามภาระค้ำประกันให้แก่บรรษัท ง. ไปนั้น โจทก์ย่อมรับช่วงสิทธิของบรรษัท ง. ที่จะมาไล่เบี้ยเอาแก่จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นลูกหนี้ชั้นต้นโดยเต็มจำนวน แต่ในส่วนความสัมพันธ์ระหว่างโจทก์ จำเลยที่ 2 และที่ 3 นั้น เมื่อปรากฏว่าจำเลยที่ 3 จำนองที่ดินประกันหนี้ในวงเงิน 4,000,000 บาท พร้อมดอกเบี้ย และบรรษัท ง. ได้ฟ้องบังคับจำนองจนกระทั่งศาลมีคำพิพากษาให้บังคับจำนองแล้ว และหนี้ที่จำเลยที่ 1 มีต่อบรรษัท ง. นั้น มีจำนวนมากกว่าวงเงินที่จำนองอยู่ เช่นนี้ เมื่อจำเลยที่ 3 ได้จำกัดความรับผิดของตนต่อบรรษัท ง. ไว้ และมีภาระต้องรับผิดต่อบรรษัท ง. ตามวงเงินที่จำนอง แต่โจทก์มิได้แสดงให้เห็นว่าการชำระหนี้เงินของโจทก์ทำให้จำเลยที่ 3 หลุดพ้นความรับผิดต่อบรรษัท ง. หรือรับผิดน้อยกว่าวงเงินที่แต่ละคนเข้าผูกพันแล้ว โจทก์จะใช้สิทธิไล่เบี้ยในความรับผิดระหว่างลูกหนี้ร่วมกันอันจะก่อให้เกิดความเสียหายต่อบรรษัท ง. ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ชั้นต้นตาม ป.พ.พ. มาตรา 230 วรรคสอง หาได้ไม่ โจทก์จะใช้สิทธิไล่เบี้ยเอาแก่จำเลยที่ 3 ได้หรือไม่ยังไม่อาจกำหนดได้แน่นอน โจทก์จึงยังไม่อาจนำหนี้ในส่วนนี้มาฟ้องจำเลยที่ 3 เป็นคดีล้มละลายได้
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 ม. 9 (3)
ป.พ.พ. ม. 230 วรรคสอง, ม. 693


2. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4838 - 4839/2540
โจทก์ทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทกับบริษัท ป. และเป็นผู้ครองที่ดินพิพาทอยู่ แต่การจะใช้สิทธิชำระหนี้แทนบริษัท ป. ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 230 ได้นั้นจะต้องเป็นการชำระหนี้แทนโดยไม่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่เจ้าหนี้ด้วย เมื่อขณะที่โจทก์ยื่นฟ้องจำเลย บริษัท ป. เป็นหนี้จำเลยตามคำพิพากษาตามยอมอยู่เป็นเงินประมาณ 18,852,600 บาท ทั้งเป็นการจำนองที่ดินแปลงใหญ่เพียงแปลงเดียวภายหลังที่ดินแปลงดังกล่าวได้แบ่งแยกเป็นแปลงย่อย ๆ โดยถือว่าที่ดินแปลงย่อยที่แบ่งแยกออกไปยังคงจำนองด้วยตามสัญญาเดิม ดังนั้น การจำนองที่ดินของบริษัท ป. เป็นการจำนองที่ดินเพียงแปลงเดียว มิใช่การจำนองที่ดินหลายแปลงอันจะแบ่งภาระการจำนองได้ โจทก์จึงไม่อาจใช้สิทธิตามบทกฎหมายดังกล่าวบังคับจำเลยให้ยอมรับการชำระหนี้บางส่วนแทนบริษัท ป. แล้วให้จำเลยไปจดทะเบียนโอนสิทธิจำนองให้แก่โจทก์โดยให้โจทก์สวมสิทธิเจ้าหนี้จำนองแทนจำเลยเพราะอาจเป็นการเสียหายแก่จำเลยได้
คดีที่มีข้อพิพาทเพียงว่าจำเลยจะต้องยอมให้โจทก์ชำระหนี้แทนลูกหนี้จำนองในจำนวนเงิน 700,000 บาท ได้หรือไม่ ไม่ใช่คดีมีทุนทรัพย์ เพราะแม้หากจำเลยจะต้องยอมให้โจทก์ชำระหนี้แทนลูกหนี้ตามที่ขอ ที่ดินพิพาทก็ยังเป็นกรรมสิทธิ์ของบริษัท ป. อยู่ ปัญหาข้อนี้เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาให้คืนค่าขึ้นศาลส่วนที่เสียเกินมาแก่โจทก์และจำเลย


3. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4838 - 4839/2540
การจะใช้สิทธิชำระหนี้แทนลูกหนี้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 230 ได้นั้นจะต้องเป็นการชำระหนี้แทนโดยไม่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่เจ้าหนี้ด้วย เมื่อปรากฏว่า ขณะโจทก์ที่ 1 และที่ 2 ยื่นฟ้องจำเลย บริษัท ส. เป็นหนี้จำเลยตามคำพิพากษาตามยอมอยู่เป็นเงินประมาณ 18,852,600 บาท ทั้งการจำนองรายนี้เป็นการจำนองที่ดินแปลงใหญ่เพียงแปลงเดียว คือที่ดินโฉนดเลขที่ 109377 ภายหลังที่ดินแปลงดังกล่าวได้แบ่งแยกเป็นแปลงย่อย ๆ โดยถือว่าที่ดินแปลงย่อยที่แบ่งแยกออกไปยังคงจำนองด้วยตามสัญญาเดิม หาใช่เป็นการจำนองที่ดินหลายแปลงอันจะแบ่งภาระการจำนองได้ไม่ โจทก์ที่ 1 และที่ 2 จึงไม่อาจใช้สิทธิตามบทกฎหมายดังกล่าวข้างต้นบังคับจำเลยให้ยอมรับการชำระหนี้บางส่วนแทนบริษัท ส. แล้วให้จำเลยไปจดทะเบียนโอนสิทธิจำนองให้แก่โจทก์ที่ 1 และที่ 2 โดยให้โจทก์ที่ 1 และที่ 2 สวมสิทธิเจ้าหนี้จำนองแทนจำเลยตามฟ้องเพราะอาจเป็นการเสียหายแก่จำเลยได้
คดีนี้มีข้อพิพาทเพียงว่าจำเลยจะต้องยอมให้โจทก์ทั้งสองชำระหนี้แทนลูกหนี้จำนองในจำนวนเงินสำนวนละ 700,000 บาท ได้หรือไม่เท่านั้น จึงไม่ใช่เป็นคดีมีทุนทรัพย์ เพราะแม้หากจำเลยจะต้องยอมให้โจทก์ทั้งสองชำระหนี้แทนลูกหนี้ตามที่ขอที่ดินพิพาทก็ยังเป็นกรรมสิทธิ์ของบริษัท ส. อยู่ ปัญหาข้อนี้เป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาเห็นสมควรคืนค่าขึ้นศาลส่วนที่เสียเกินมาแก่โจทก์ทั้งสองและจำเลย
 

ข้อจำกัดความรับผิดชอบ: ข้อมูลเหล่านี้อาจไม่ใช่เวอร์ชันล่าสุด รัฐบาลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอาจมีข้อมูลที่เป็นปัจจุบันหรือแม่นยำกว่า เราไม่รับประกันหรือรับประกันเกี่ยวกับความถูกต้อง ความสมบูรณ์ หรือความเพียงพอของข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้หรือข้อมูลที่เชื่อมโยงกับเว็บไซต์ของรัฐ โปรดตรวจสอบแหล่งที่มาอย่างเป็นทางการ
ข้อมูลอ้างอิงจากเว็บไซต์ : www.krisdika.go.th, deka.supremecourt.or.th
แนะนำโดย Legardy
cta
ปรึกษาทนายได้ตลอด 24 ชม.
เพียงกดปุ่ม ปรึกษาได้ทันที