Banner blog website.png
เผยแพร่เมื่อ: 2023-05-29

มาตรา 23 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

“มาตรา 23 หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 23” คืออะไร? 


“มาตรา 23” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 23 “ คือ หนึ่งในมาตราของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ 
ซึ่งบัญญัติไว้ว่า “ ผู้เยาว์อาจทำการใด ๆ ได้ทั้งสิ้น ซึ่งเป็นการต้องทำเองเฉพาะตัว “

 


3 ตัวอย่างจริงของการใช้” มาตรา 23” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 23 ” ในประเทศไทย


1. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7348/2538
จำเลยทำสัญญาว่าจะโอนสิทธิการเช่าให้โจทก์ภายในวันที่22สิงหาคม2534ซึ่งจำเลยทราบดีว่าการโอนสิทธิการเช่านั้นจะต้องได้รับอนุมัติจากการรถไฟแห่งประเทศไทยเสียก่อนโดยต้องใช้เวลาในการยื่นเรื่องราวจนได้รับอนุมัติอย่างน้อย1เดือนแต่จำเลยมิได้ดำเนินการยื่นเรื่องราวขอโอนก่อนวันครบกำหนดที่จะต้องโอนตามสัญญาเดิมดังนั้นจะอ้างว่าโจทก์บ่ายเบี่ยงเรื่องค่าธรรมเนียมการต่ออายุสัญญาเช่าซึ่งค่าธรรมเนียมดังกล่าวต้องชำระในวันโอนหากไม่ยื่นเรื่องราวขอโอนเสียก่อนก็ไม่อาจอนุมัติให้โอนได้หากจำเลยขออนุมัติให้โอนไว้แล้วโจทก์ไม่ยอมชำระค่าธรรมเนียมจึงจะถือได้ว่าโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญาเมื่อจำเลยยังมิได้ยื่นเรื่องราวขอโอนไว้ก่อนจึงไม่มีเหตุที่การรถไฟแห่งประเทศไทยจะปฏิเสธแต่เมื่อโจทก์และจำเลยขอโอนสิทธิการเช่าในวันครบกำหนดโอนแล้วได้รับการปฏิเสธย่อมถือได้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทยได้ปฏิเสธการโอนสิทธิการเช่าดังกล่าวแก่โจทก์แล้วจำเลยจึงเป็นฝ่ายผิดสัญญาต้องคืนเงินมัดจำแก่โจทก์ สัญญาระบุว่าค่าต่อสัญญาเช่ากับค่าธรรมเนียมการโอนสิทธิการเช่าผู้จะรับโอนเป็นผู้ชำระซึ่งโจทก์มีหน้าที่ต้องชำระเมื่อโจทก์เคยขอให้จำเลยร้องขอลดค่าธรรมเนียมการต่ออายุสัญญาเช่าจึงมีการรั้งรอที่จะยื่นเรื่องราวขอโอนสิทธิการเช่านั้นว่าโจทก์มีส่วนในความล่าช้าของการดำเนินการอยู่ด้วย
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 23, ม. 378 (3)


2. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 536/2535
จำเลยยื่นอุทธรณ์พร้อมกับคำร้องขออุทธรณ์อย่างคนอนาถา ศาลชั้นต้นสั่งยกคำร้องและสั่งให้จำเลยเสียค่าธรรมเนียมศาลภายใน 15 วัน การที่จำเลยขอขยายระยะเวลาดังกล่าวเป็นการขอขยายระยะเวลา ที่ศาลกำหนด ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 23 ซึ่งจะต้องกระทำก่อนระยะเวลา ดังกล่าวสิ้นสุดลงเว้นแต่ในกรณีที่มีเหตุสุดวิสัย ผู้อุทธรณ์ต้องนำเงินค่าธรรมเนียมซึ่งจะต้องใช้แก่คู่ความ อีก ฝ่ายหนึ่งมาวางศาลพร้อมอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 229 แต่จำเลย ยื่นอุทธรณ์โดยมิได้ชำระเงินค่าธรรมเนียม และนำค่าธรรมเนียม ซึ่งจะต้องใช้แก่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งมาวางศาลพร้อมอุทธรณ์และ มิได้รับอนุญาตให้นำมาวางได้ภายหลัง จึงไม่เป็นอุทธรณ์ที่ชอบด้วย กฎหมาย ศาลอุทธรณ์ชอบที่ จะปฏิเสธไม่รับวินิจฉัยให้ การที่ศาลอุทธรณ์ รับวินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยจึงเป็นการมิชอบ และถือไม่ได้ว่า เป็นข้อที่ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบ ในศาลอุทธรณ์ จำเลยจึงไม่มีสิทธิ ฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249.
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 23, ม. 156, ม. 229, ม. 249


3. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 658/2522
คัดค้านคำสั่งเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ที่สั่งไม่ให้ถอนการยึดทรัพย์ต้องร้องต่อศาลภายใน 14 วันตาม พระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 158 เหตุที่ผู้ร้องอ้างว่าเสียเวลาศึกษาสำนวนความซึ่งใช้พยานหลักฐานหลายชุด และผู้รับมอบอำนาจเข้าใจผิด ไม่เป็นเหตุสุดวิสัยที่จะขยายระยะเวลา
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 8, ม. 23
พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483
 

ข้อจำกัดความรับผิดชอบ: ข้อมูลเหล่านี้อาจไม่ใช่เวอร์ชันล่าสุด รัฐบาลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอาจมีข้อมูลที่เป็นปัจจุบันหรือแม่นยำกว่า เราไม่รับประกันหรือรับประกันเกี่ยวกับความถูกต้อง ความสมบูรณ์ หรือความเพียงพอของข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้หรือข้อมูลที่เชื่อมโยงกับเว็บไซต์ของรัฐ โปรดตรวจสอบแหล่งที่มาอย่างเป็นทางการ
ข้อมูลอ้างอิงจากเว็บไซต์ : www.krisdika.go.th, deka.supremecourt.or.th
แนะนำโดย Legardy
cta
ปรึกษาทนายได้ตลอด 24 ชม.
เพียงกดปุ่ม ปรึกษาได้ทันที