Banner blog website.png
เผยแพร่เมื่อ: 2023-05-30

มาตรา 225 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

“มาตรา 225 หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 225” คืออะไร? 


“มาตรา 225” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 225 “ คือ หนึ่งในมาตราของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ 
ซึ่งบัญญัติไว้ว่า “ ถ้าลูกหนี้จำต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อราคาวัตถุอันได้เสื่อมเสียไประหว่างผิดนัดก็ดี หรือวัตถุอันไม่อาจส่งมอบได้เพราะเหตุอย่างใดอย่างหนึ่งอันเกิดขึ้นระหว่างผิดนัดก็ดี ท่านว่าเจ้าหนี้จะเรียกดอกเบี้ยในจำนวนที่จะต้องใช้เป็นค่าสินไหมทดแทน คิดตั้งแต่เวลาอันเป็นฐานที่ตั้งแห่งการกะประมาณราคานั้นก็ได้ วิธีเดียวกันนี้ท่านให้ใช้ตลอดถึงการที่ลูกหนี้จำต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อการที่ราคาวัตถุตกต่ำเพราะวัตถุนั้นเสื่อมเสียลงในระหว่างเวลาที่ผิดนัดนั้นด้วย “

 

ค้นหา : "บทความทางกฎหมาย, คำปรึกษาจริงพร้อมคำตอบจากทนายความ, มาตรากฎหมาย" >> คลิก !

 


3 ตัวอย่างจริงของการใช้” มาตรา 225” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 225 ” ในประเทศไทย


1. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8818/2563
ที่โจทก์ขอดอกเบี้ยจากราคาใช้แทนในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ศาลฎีกาโดยมติที่ประชุมใหญ่ เห็นว่า การที่ศาลวินิจฉัยให้จำเลยที่ 1 ส่งมอบรถขุดที่เช่าซื้อคืน หากคืนไม่ได้ให้ใช้ราคาแทนนั้น เป็นกรณีที่หากจำเลยที่ 1 ไม่ส่งมอบรถขุดดังกล่าวคืนแก่โจทก์ จำเลยที่ 1 ต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่โจทก์เพื่อราคาวัตถุอันไม่อาจส่งมอบได้เพราะเหตุอย่างใดอย่างหนึ่งอันเกิดขึ้นระหว่างผิดนัด โจทก์จึงมีสิทธิเรียกดอกเบี้ยในเงินจำนวนดังกล่าวได้ตั้งแต่เวลาอันเป็นฐานที่ตั้งแห่งการกะประมาณราคานั้นตาม ป.พ.พ. มาตรา 225 แต่ข้อเท็จจริงไม่ปรากฏว่า เวลาอันเป็นฐานที่ตั้งแห่งการกะประมาณราคาอันหมายถึงเวลาที่ไม่สามารถส่งมอบรถขุดที่เช่าซื้อเกิดขึ้นเมื่อใด จำเลยที่ 1 จึงต้องรับผิดเสียดอกเบี้ยในราคาใช้แทนนับแต่วันที่ศาลมีคำพิพากษาอันเป็นวันที่ศาลกำหนดราคาใช้แทนให้ และราคาใช้แทนนี้เป็นหนี้เงินตาม ป.พ.พ. มาตรา 224 วรรคหนึ่ง ซึ่งบัญญัติให้คิดดอกเบี้ยในระหว่างผิดนัดร้อยละเจ็ดกึ่งต่อปี โจทก์จึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ของราคาใช้แทน 400,000 บาท นับแต่วันที่ศาลมีคำพิพากษาจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 224 วรรคหนึ่ง, ม. 225


2. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9782/2554
คำให้การของจำเลยทั้งสอง ข้อ 1.1 จำเลยที่ 1 ให้การว่า ได้รมควันแผ่นยางดิบที่ได้รับจากโจทก์ และส่งมอบแก่โจทก์ครบถ้วนแล้ว เป็นกรณีที่จำเลยที่ 1 ยอมรับข้อเท็จจริงว่า จำเลยที่ 1 ทำสัญญารับจ้างรมควันยางแผ่นดิบให้แก่โจทก์และส่งมอบแผ่นยางดิบรมควันคืนแก่โจทก์ตามสัญญาครบถ้วนแล้วส่วนคำให้การของจำเลยทั้งสอง ข้อ 1.2 จำเลยที่ 1 ปฏิเสธว่า ไม่เคยได้รับมอบยางแผ่นดิบจากโจทก์ เป็นกรณีที่จำเลยทั้งสองให้การปฏิเสธว่า จำเลยที่ 1 ไม่เคยได้รับมอบยางแผ่นดินจากโจทก์ จำเลยที่ 1 จึงไม่ต้องคืนยางแผ่นดิบจำนวนดังกล่าวแก่โจทก์ คำให้การของจำเลยทั้งสองดังกล่าวมิได้กล่าวถึงยางจำนวนเดียวกัน จึงเป็นการแสดงโดยชัดแจ้งว่าจำเลยทั้งสองยอมรับหรือปฏิเสธข้ออ้างของโจทก์รวมทั้งเหตุแห่งการนั้น โดยชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 177 วรรคสอง หาขัดแย้งกันไม่
โจทก์ซื้อยางแผ่นดิบตามฟ้องจากพ่อค้าหรือเกษตรกรตามมติคณะรัฐมนตรีที่ให้โจทก์กู้เงินจากธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) เพื่อนำเงินไปซื้อยางแผ่นดิบในราคาสูงเพื่อพยุงราคายางพาราแก่เกษตรกรแล้วนำไปว่าจ้างจำเลยที่ 1 รมควันแล้วนำไปขาย โจทก์จะได้กำไรหรือขาดทุนจากการขายยางแผ่นดิบรมควันก็ขึ้นอยู่กับราคายางพารารมควันในท้องตลาดในขณะที่โจทก์นำไปขาย ดอกเบี้ยที่โจทก์ต้องชำระแก่ธนาคารเป็นเพียงค่าใช้จ่ายที่โจทก์ได้จ่ายไปจากการดำเนินการเพื่อพยุงราคายางพาราแก่เกษตรกรเท่านั้น หาได้เป็นค่าเสียหายอันเกิดแต่พฤติการณ์พิเศษตามที่โจทก์ฎีกา ทั้งโจทก์ไม่ได้ฟ้องเรียกร้องค่าเสียหายสืบเนื่องจากจำเลยที่ 1 ไม่ส่งมอบยางแผ่นรมควันแก่โจทก์อันเป็นเหตุให้โจทก์ไม่สามารถนำยางแผ่นรมควันไปขายจนได้กำไรตามจำนวนที่ขอ หากจำเลยที่ 1 ไม่สามารถคืนแผ่นยางดิบแก่โจทก์ได้ โจทก์คงคิดดอกเบี้ยจากราคายางแผ่นดิบที่จำเลยที่ 1 จะต้องคืนแก่โจทก์ได้ในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 225 ประกอบมาตรา 7 เท่านั้น
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 7, ม. 225
ป.วิ.พ. ม. 177 วรรคสอง


3. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4391/2551
ตามสัญญาจะซื้อขาย ระบุว่า ผู้จะขาย (โจทก์) และผู้จะซื้อ (จำเลย) ตกลงซื้อสิทธิและอุปกรณ์พร้อมการทำประกันวินาศภัยในสำนักงานของโจทก์ ซึ่งเปิดเป็นสำนักงานที่ทำการประกันวินาศภัยของบริษัท ท. ซึ่งแสดงให้เห็นถึงเจตนาของคู่ความคือโจทก์และจำเลยว่า ประสงค์จะซื้อขายสิทธิในการทำสัญญาประกันวินาศภัยที่โจทก์มีอยู่กับบริษัท ท. และอุปกรณ์ในสำนักงาน แต่เนื่องจากสิทธิในการทำสัญญาประกันภัยหรือสิทธิในการเป็นตัวแทนประกันภัยเป็นสิทธิเฉพาะตัวไม่สามารถโอนกันได้ ข้อตกลงดังกล่าวจึงตกเป็นโมฆะ ที่โจทก์เบิกความในชั้นพิจารณาว่า เป็นสิทธิการเช่านั้น เป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบ เนื่องจากโจทก์มิได้บรรยายฟ้องไว้
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 150, ม. 225 วรรคหนึ่ง
 

ข้อจำกัดความรับผิดชอบ: ข้อมูลเหล่านี้อาจไม่ใช่เวอร์ชันล่าสุด รัฐบาลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอาจมีข้อมูลที่เป็นปัจจุบันหรือแม่นยำกว่า เราไม่รับประกันหรือรับประกันเกี่ยวกับความถูกต้อง ความสมบูรณ์ หรือความเพียงพอของข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้หรือข้อมูลที่เชื่อมโยงกับเว็บไซต์ของรัฐ โปรดตรวจสอบแหล่งที่มาอย่างเป็นทางการ
ข้อมูลอ้างอิงจากเว็บไซต์ : www.krisdika.go.th, deka.supremecourt.or.th
แนะนำโดย Legardy
cta
ปรึกษาทนายได้ตลอด 24 ชม.
เพียงกดปุ่ม ปรึกษาได้ทันที