Banner blog website.png
เผยแพร่เมื่อ: 2023-05-30

มาตรา 218 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

“มาตรา 218 หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 210” คืออะไร? 


“มาตรา 218” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 218 “ คือ หนึ่งในมาตราของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ 
ซึ่งบัญญัติไว้ว่า “ ถ้าการชำระหนี้กลายเป็นพ้นวิสัยจะทำได้เพราะพฤติการณ์อันใดอันหนึ่งซึ่งลูกหนี้ต้องรับผิดชอบไซร้ ท่านว่าลูกหนี้จะต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่เจ้าหนี้เพื่อค่าเสียหายอย่างใด ๆ อันเกิดแต่การไม่ชำระหนี้นั้น
              ในกรณีที่การชำระหนี้กลายเป็นพ้นวิสัยแต่เพียงบางส่วน ถ้าหากว่าส่วนที่ยังเป็นวิสัยจะทำได้นั้นจะเป็นอันไร้ประโยชน์แก่เจ้าหนี้แล้ว เจ้าหนี้จะไม่ยอมรับชำระหนี้ส่วนที่ยังเป็นวิสัยจะทำได้นั้นแล้ว และเรียกค่าสินไหมทดแทนเพื่อการไม่ชำระหนี้เสียทั้งหมดทีเดียวก็ได้ “

 


3 ตัวอย่างจริงของการใช้” มาตรา 218” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 218 ” ในประเทศไทย


1. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2625/2551
โจทก์จัดให้มีบริการเช่าใช้เครื่องวิทยุคมนาคมและอุปกรณ์โดยผู้เช่าจะต้องเสียเงินค่าเช่าเครื่องวิทยุคมนาคมและเสียค่าตอบแทนในการใช้ความถี่วิทยุ ถือได้ว่าโจทก์เป็นผู้ประกอบธุรกิจในการให้เช่าสังหาริมทรัพย์ จึงมีอายุความ 2 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/34 (6) และค่าตอบแทนที่โจทก์เรียกเก็บจากจำเลยมีลักษณะทำนองเดียวกับค่าเช่า เมื่อโจทก์ฟ้องเรียกค่าตอบแทนเกินกำหนด 2 ปี นับแต่วันที่โจทก์สามารถทวงถามให้จำเลยชำระหนี้ได้ จึงขาดอายุความ และเมื่อสิทธิเรียกร้องค่าตอบแทนอันเป็นหนี้ประธานขาดอายุความ ค่าตอบแทนในการใช้ความถี่วิทยุเพิ่มซึ่งเป็นเบี้ยปรับและเป็นหนี้อุปกรณ์ย่อมขาดอายุความด้วยตามมาตรา 193/26
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยส่งมอบเครื่องอุปกรณ์ชุดปากพูดหูฟังในสภาพใช้การได้ดี หรือมิฉะนั้นให้ใช้ราคาแก่โจทก์ หากการส่งมอบเครื่องอุปกรณ์ยังสามารถกระทำได้ โจทก์ก็ต้องขอให้จำเลยส่งมอบเครื่องอุปกรณ์ จะขอให้จำเลยใช้ราคาเครื่องอุปกรณ์แทนไม่ได้ และการส่งมอบเครื่องอุปกรณ์มิใช่หนี้เงิน จึงไม่อาจคิดดอกเบี้ยนับแต่วันที่จำเลยผิดนัดไม่ส่งมอบเครื่องอุปกรณ์คืนโจทก์ได้ ต่อเมื่อการส่งมอบเครื่องอุปกรณ์เป็นพ้นวิสัยจะทำได้เพราะพฤติการณ์อันใดอันหนึ่งซึ่งจำเลยต้องรับผิดชอบ จึงจะมีสิทธิเรียกให้จำเลยชดใช้ค่าสินไหมทดแทนคือชดใช้ราคาพร้อมด้วยดอกเบี้ยในจำนวนเงินที่เป็นราคาเครื่องอุปกรณ์โดยนับตั้งแต่เวลาอันเป็นฐานที่ตั้งแห่งการกะประมาณราคาตาม ป.พ.พ. มาตรา 218 วรรคหนึ่ง และมาตรา 225 ดังนั้นเวลาที่จะกะประมาณราคาเครื่องอุปกรณ์จึงมิใช่เวลาที่จำเลยผิดนัดไม่ส่งมอบเครื่องอุปกรณ์คืนโจทก์ตามกำหนด แต่หมายถึงเวลาที่การชำระหนี้คือการส่งมอบเครื่องอุปกรณ์คืนโจทก์กลายเป็นพ้นวิสัยจะทำได้ เมื่อข้อเท็จจริงไม่ปรากฏว่าการชำระหนี้ดังกล่าวเป็นพ้นวิสัยตั้งแต่เมื่อใด จำเลยจึงต้องรับผิดเสียดอกเบี้ยในราคาทรัพย์ดังกล่าวนับแต่วันฟ้องอันเป็นเวลาที่โจทก์ฟ้องบังคับให้จำเลยชำระหนี้ตามมาตรา 213
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 193/26, ม. 193/34, ม. 213, ม. 218, ม. 225


2. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2625/2551
ป.พ.พ. มาตรา 225 บัญญัติว่า "ถ้าลูกหนี้จำต้องให้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อราคาวัตถุอันได้เสื่อมเสียไประหว่างผิดนัดก็ดี หรือวัตถุอันไม่อาจส่งมอบได้เพราะเหตุอย่างใดอย่างหนึ่งอันเกิดขึ้นระหว่างผิดนัดก็ดี ท่านว่าเจ้าหนี้จะเรียกดอกเบี้ยในจำนวนที่จะต้องใช้เป็นค่าสินไหมทดแทนคิดตั้งแต่เวลาอันเป็นฐานที่ตั้งแห่งการกะประมาณราคานั้นก็ได้..." คดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยปฏิบัติการชำระหนี้คือส่งมอบเครื่องอุปกรณ์ชุดปากพูดหูฟัง 1 ชุด ในสภาพใช้การได้ดี หรือมิฉะนั้นให้ใช้ราคาแก่โจทก์ หากวัตถุแห่งหนี้คือการส่งมอบเครื่องอุปกรณ์ชุดปากพูดหูฟังยังสามารถกระทำได้โจทก์ก็ต้องขอให้จำเลยปฏิบัติการชำระหนี้ให้ต้องตามความประสงค์อันแท้จริงแห่งมูลหนี้ด้วยการส่งมอบเครื่องอุปกรณ์ชุดปากพูดหูฟัง จะขอให้จำเลยใช้ราคาเครื่องอุปกรณ์ชุดปากพูดหูฟังแทนไม่ได้ และการส่งมอบเครื่องอุปกรณ์ชุดปากพูดหูฟังดังกล่าวมิใช่หนี้เงิน โจทก์จึงไม่อาจคิดดอกเบี้ยนับแต่วันที่จำเลยผิดนัดไม่ส่งมอบเครื่องอุปกรณ์ชุดปากพูดหูฟังคืนโจทก์ได้ ต่อเมื่อการส่งมอบเครื่องอุปกรณ์ชุดปากพูดหูฟังเป็นพ้นวิสัยจะทำได้เพราะพฤติการณ์อันใดอันหนึ่งซึ่งจำเลยต้องรับผิดชอบ โจทก์จึงจะมีสิทธิเรียกให้จำเลยชดใช้ค่าสินไหมทดแทนคือชดใช้ราคาเครื่องอุปกรณ์ชุดปากพูดหูฟังพร้อมด้วยดอกเบี้ยในจำนวนเงินที่เป็นราคาเครื่องอุปกรณ์ชุดปากพูดหูฟังโดยนับตั้งแต่เวลาอันเป็นฐานที่ตั้งแห่งการกะประมาณราคาตาม ป.พ.พ. มาตรา 218 วรรคหนึ่ง และมาตรา 225 ดังนั้น เวลาที่จะกะประมาณราคาเครื่องอุปกรณ์ชุดปากพูดหูฟังจึงมิใช่เวลาที่จำเลยผิดนัดไม่ส่งมอบเครื่องอุปกรณ์ชุดปากพูดหูฟังคืนโจทก์ตามกำหนด แต่หมายถึงเวลาที่การชำระหนี้คือการส่งมอบเครื่องอุปกรณ์ชุดปากพูดหูฟังคืนโจทก์กลายเป็นพ้นวิสัยจะทำได้ เมื่อข้อเท็จจริงไม่ปรากฏว่าการชำระหนี้ดังกล่าวเป็นพ้นวิสัยตั้งแต่เมื่อใด จำเลยจึงต้องรับผิดเสียดอกเบี้ยในราคาทรัพย์ดังกล่าวนับแต่วันฟ้องอันเป็นเวลาที่โจทก์ฟ้องบังคับให้จำเลยชำระหนี้รายนี้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 213
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 213, ม. 218, ม. 225


3. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7030/2549
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยผิดสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินเพราะไม่สามารถส่งมอบที่ดินให้แก่โจทก์ได้ และโจทก์บอกเลิกสัญญาแล้ว ดังนี้ โจทก์ย่อมฟ้องเรียกเงินมัดจำที่ให้ไว้คืนและหากโจทก์ได้รับความเสียหายก็มีสิทธิเรียกค่าปรับหรือค่าเสียหายจากจำเลยได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 391 หลังโจทก์และจำเลยทั้งหกทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินกันแล้ว กรุงเทพมหานครได้เข้าทำถนนในที่ดินดังกล่าวก่อนวันนัดโอนกรรมสิทธิ์โดยอ้างว่าเจ้าของที่ดินเดิมยกที่ดินบางส่วนให้เป็นที่สาธารณะ แต่ในสารบัญจดทะเบียนที่ดินไม่ปรากฏว่าเจ้าของเดิมได้จดแจ้งลงในสารบัญจดทะเบียนแต่อย่างใด จำเลยทั้งหกจึงน่าจะไม่ทราบเรื่องที่เจ้าของเดิมยกที่ดินบางส่วนให้เป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน การที่จำเลยไม่สามารถโอนที่ดินให้โจทก์ได้ครบถ้วนตามสัญญาจึงเป็นเรื่องพ้นวิสัยเนื่องจากเหตุซึ่งจำเลยไม่ต้องรับผิดชอบ โจทก์จึงไม่มีสิทธิ์เรียกร้องค่าปรับหรือค่าเสียหายจากจำเลยตาม ป.พ.พ. มาตรา 218 วรรคหนึ่ง
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 218 วรรคหนึ่ง, ม. 391, ม. 466
พระธรรมนูญศาลยุติธรรม ม. 18
 

ข้อจำกัดความรับผิดชอบ: ข้อมูลเหล่านี้อาจไม่ใช่เวอร์ชันล่าสุด รัฐบาลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอาจมีข้อมูลที่เป็นปัจจุบันหรือแม่นยำกว่า เราไม่รับประกันหรือรับประกันเกี่ยวกับความถูกต้อง ความสมบูรณ์ หรือความเพียงพอของข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้หรือข้อมูลที่เชื่อมโยงกับเว็บไซต์ของรัฐ โปรดตรวจสอบแหล่งที่มาอย่างเป็นทางการ
ข้อมูลอ้างอิงจากเว็บไซต์ : www.krisdika.go.th, deka.supremecourt.or.th
แนะนำโดย Legardy
cta
ปรึกษาทนายได้ตลอด 24 ชม.
เพียงกดปุ่ม ปรึกษาได้ทันที