Banner blog website.png
เผยแพร่เมื่อ: 2023-05-30

มาตรา 216 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

“มาตรา 216 หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 216” คืออะไร? 


“มาตรา 216” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 216 “ คือ หนึ่งในมาตราของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ 
ซึ่งบัญญัติไว้ว่า “ ถ้าโดยเหตุผิดนัด การชำระหนี้กลายเป็นอันไร้ประโยชน์แก่เจ้าหนี้ เจ้าหนี้จะบอกปัดไม่รับชำระหนี้ และจะเรียกเอาค่าสินไหมทดแทนเพื่อการไม่ชำระหนี้ก็ได้ “

 


3 ตัวอย่างจริงของการใช้” มาตรา 216” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 216 ” ในประเทศไทย


1. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3259/2543
เงื่อนไขการจะซื้อจะขายมีใจความว่า "รายการก่อสร้างและวัสดุและอุปกรณ์ที่ใช้ในการก่อสร้างห้องชุดผู้จะซื้อจะต้องเป็นไปตามรายการที่ระบุไว้ของห้องชุดในเอกสารแนบท้าย 2 แต่ผู้จะขายสงวนสิทธิที่จะใช้วัสดุและอุปกรณ์อื่นที่มีคุณภาพเท่าเทียมกันแทนได้" เป็นเงื่อนไขกำหนดให้ผู้จะขายใช้วัสดุและอุปกรณ์อื่นแทนได้เฉพาะรายการก่อสร้างและวัสดุและอุปกรณ์ที่จะใช้ในการก่อสร้างห้องชุดของผู้จะซื้อเท่านั้น ตามเอกสารแนบท้ายสัญญา 2 รายการที่ระบุไว้ในรายการฝ้าเพดานระบุว่าส่วนกลางเป็นโครงสร้างอะลูมิเนียมทีบาร์บุยิปซัมบอร์ด จำเลยจึงไม่มีสิทธิก่อสร้างโดยใช้วัสดุและอุปกรณ์อื่นในทรัพย์ส่วนกลาง เมื่อปรากฏว่าเพดานคอนกรีตเสริมเหล็กที่เป็นทรัพย์ส่วนกลางก็คือโครงสร้างที่เป็นพื้นของห้องชุดชั้นที่อยู่เหนือขึ้นไปเท่ากับจำเลยมิได้ทำฝ้าเพดาน จึงเป็นฝ่ายผิดสัญญาโจทก์มีสิทธิตามสัญญาจะซื้อจะขายที่จะบังคับให้จำเลยต้องปฏิบัติตามสัญญาดังกล่าวได้
แม้จะมีข้อสัญญากำหนดไว้ให้เลิกสัญญาได้ในกรณีใดบ้าง หากมีกรณีที่ไม่ตรงตามข้อสัญญาแต่กลับตรงตามบทบัญญัติของกฎหมายก็สามารถเลิกสัญญาได้ เมื่อจำเลยมิได้ก่อสร้างฝ้าเพดานที่เป็นทรัพย์ส่วนกลางให้ถูกต้องตามข้อตกลงในสัญญาซึ่งเป็นเรื่องที่คู่สัญญาฝ่ายหนึ่งไม่ชำระหนี้ซึ่งรวมถึงการชำระหนี้ที่ไม่ถูกต้องตามสัญญาด้วยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 387 ทั้งกรณีไม่ต้องด้วยมาตรา 216 ซึ่งเป็นเรื่องผลของการผิดนัดทำให้เจ้าหนี้ไม่ได้รับประโยชน์จากการชำระหนี้ เมื่อโจทก์บอกกล่าวให้จำเลยก่อสร้างฝ้าเพดานอันเป็นทรัพย์ส่วนกลางให้ถูกต้องภายในกำหนด 1 เดือนอันเป็นระยะเวลาพอสมควรแต่จำเลยไม่ก่อสร้างให้ถูกต้อง โจทก์จึงมีสิทธิบอกเลิกสัญญาได้และไม่จำต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขการจะซื้อจะขายข้อ 6.3 ที่ว่า หากโจทก์จะเลิกสัญญาต้องบอกกล่าวจำเลยล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 6 เดือนเพราะเป็นการเลิกสัญญาโดยบทบัญญัติแห่งกฎหมาย มิใช่การเลิกสัญญาโดยข้อสัญญาดังกล่าว
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 216, ม. 387


2. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1938/2536
โจทก์เป็นผู้กำหนดเงินค่า เอพี ดี ให้แก่จำเลยต่อเมื่อจำเลยสั่งซื้อสินค้าจากโจทก์ไปจำหน่ายโดยคิดเป็นเปอร์เซ็นต์หรือร้อยละของราคาสินค้าที่จำเลยสั่งซื้อ และโจทก์ส่งมอบแต่ละครั้ง เมื่อจำเลยยังไม่ได้สั่งสินค้าจากโจทก์ และโจทก์ยังไม่ได้ส่งมอบ เงินเอพี ดี ที่โจทก์จะกำหนดให้จำเลยก็ไม่มี การที่จำเลยทดรองจ่ายเงิน เอพี ดี ไป จึงเป็นเรื่องที่จำเลยกระทำไปโดยพลการจำเลยย่อมไม่มีสิทธิเรียกร้องเอาแก่โจทก์ โจทก์ให้สิทธิแก่จำเลยในการเป็นตัวแทนจำหน่ายสินค้าของโจทก์ในเขตกรุงเทพมหานคร มีกำหนด 2 ปี เมื่อจำเลยกระทำการอันเป็นการผิดข้อตกลงจนโจทก์ต้องบอกเลิกการเป็นตัวแทนจำหน่ายสินค้าของโจทก์แก่จำเลย และโจทก์ได้แจ้งให้จำเลยคืนสินค้าที่เหลืออยู่ในความครอบครองของจำเลยทั้งหมดให้แก่โจทก์ภายในกำหนด ทั้งจำเลยได้ทราบข้อความในหนังสือแล้ว จำเลยย่อมมีหน้าที่จะต้องคืนสินค้าให้แก่โจทก์ การที่จำเลยไม่คืนสินค้าแก่โจทก์โดยปล่อยเวลาให้ล่วงเลยมานานย่อมทำให้คุณภาพของสินค้าเสื่อมลงได้ จำเลยจึงต้องรับผิดในสินค้าเหล่านั้น
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 216, ม. 369, ม. 816, ม. 826


3. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1938/2536
โจทก์เป็นผู้กำหนดเงินค่า เอ พี ดี ให้เแก่จำเลยต่อเมื่อจำเลยสั่งซื้อสินค้าจากโจทก์ไปจำหน่ายโดยคิดเป็นเปอร์เซ็นต์หรือร้อยละของราคาสินค้าที่จำเลยสั่งซื้อ และโจทก์ส่งมอบแต่ละครั้ง เมื่อจำเลยยังไม่ได้สั่งสินค้าจากโจทก์ และโจทก์ยังไม่ได้ส่งมอบ เงิน เอ พี ดี ที่โจทก์จะกำหนดให้จำเลยก็ไม่มี การที่จำเลยทดรองจ่ายเงิน เอ พี ดี ไป จึงเป็นเรื่องที่จำเลยกระทำไปโดยพลการ จำเลยย่อมไม่มีสิทธิเรียกร้องเอาแก่โจทก์
โจทก์ให้สิทธิแก่จำเลยในการเป็นตัวแทนจำหน่ายสินค้าของโจทก์ในเขตกรุงเทพมหานคร มีกำหนด 2 ปี เมื่อจำเลยกระทำการอันเป็นการผิดข้อตกลงจนโจทก์ต้องบอกเลิกการเป็นตัวแทนจำหน่ายสินค้าของโจทก์แก่จำเลย และโจทก์ได้แจ้งให้จำเลยคืนสินค้าที่เหลืออยู่ในความครอบครองของจำเลยทั้งหมดให้แก่โจทก์ภายในกำหนด ทั้งจำเลยได้ทราบข้อความในหนังสือแล้ว จำเลยย่อมมีหน้าที่จะต้องคืนสินค้าให้แก่โจทก์ การที่จำเลยไม่คืนสินค้าแก่โจทก์โดยปล่อยเวลาให้ล่วงเลยมานานย่อมทำให้คุณภาพของสินค้าเสื่อมลงได้ จำเลยจึงต้องรับผิดในสินค้าเหล่านั้น
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 216, ม. 369, ม. 816, ม. 826
 

ข้อจำกัดความรับผิดชอบ: ข้อมูลเหล่านี้อาจไม่ใช่เวอร์ชันล่าสุด รัฐบาลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอาจมีข้อมูลที่เป็นปัจจุบันหรือแม่นยำกว่า เราไม่รับประกันหรือรับประกันเกี่ยวกับความถูกต้อง ความสมบูรณ์ หรือความเพียงพอของข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้หรือข้อมูลที่เชื่อมโยงกับเว็บไซต์ของรัฐ โปรดตรวจสอบแหล่งที่มาอย่างเป็นทางการ
ข้อมูลอ้างอิงจากเว็บไซต์ : www.krisdika.go.th, deka.supremecourt.or.th
แนะนำโดย Legardy
cta
ปรึกษาทนายได้ตลอด 24 ชม.
เพียงกดปุ่ม ปรึกษาได้ทันที