Banner blog website.png
เผยแพร่เมื่อ: 2023-05-29

มาตรา 21 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

“มาตรา 21 หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 21” คืออะไร? 


“มาตรา 21” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 21 “ คือ หนึ่งในมาตราของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ 
ซึ่งบัญญัติไว้ว่า “ผู้เยาว์จะทำนิติกรรมใด ๆ ต้องได้รับความยินยอมของผู้แทนโดยชอบธรรมก่อน การใด ๆ ที่ผู้เยาว์ได้ทำลงปราศจากความยินยอมเช่นว่านั้นเป็นโมฆียะ เว้นแต่จะบัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น “

อ่านคำแนะนำจากทนายความ 


3 ตัวอย่างจริงของการใช้” มาตรา 21” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 21 ” ในประเทศไทย 


1. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8056/2559
แม้โจทก์ร่วมที่ 1 กับ น. บิดาโจทก์ร่วมที่ 2 จดทะเบียนหย่ากับโจทก์ร่วมที่ 1 โดยระบุให้โจทก์ร่วมที่ 2 ซึ่งเป็นบุตรยังไม่บรรลุนิติภาวะอยู่ใต้อำนาจปกครองของ น. ตามที่ตกลงกัน น. จึงเป็นผู้มีอำนาจปกครองโจทก์ร่วมที่ 2 ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1520 วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 1566 (6) โจทก์ร่วมที่ 1 จึงไม่มีอำนาจปกครองและไม่มีสิทธิกระทำการแทนโจทก์ร่วมที่ 2 ก็ตาม แต่การที่โจทก์ร่วมที่ 1 ยื่นคำร้องขอค่าสินไหมทดแทนเรียกค่าเสียหายต่อชื่อเสียง ค่าเสียหายต่อร่างกายและจิตใจ ค่าเสียหายต่อเสรีภาพและค่าเสียหายที่ได้รับความทุกข์ทรมาน ถือได้ว่าเป็นการกระทำแทนหรือในนามของโจทก์ร่วมที่ 2 ซึ่งเป็นผู้เยาว์ แม้ขณะยื่นคำร้องดังกล่าวจะมิได้เป็นไปตามบทบัญญัติว่าด้วยความสามารถของบุคคลตาม ป.วิ.พ. มาตรา 56 วรรคสอง ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 40 แต่เมื่อนับอายุของโจทก์ร่วมที่ 2 ในขณะคดีอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา โจทก์ร่วมที่ 2 มีอายุเกิน 20 ปี พ้นจากภาวะผู้เยาว์และบรรลุนิติภาวะแล้ว จึงไม่มีความจำเป็นและไม่มีเหตุที่ศาลฎีกาจะต้องมีคำสั่งให้แก้ไขข้อบกพร่องในเรื่องความสามารถของโจทก์ร่วมที่ 2 อีก โจทก์ร่วมที่ 2 ย่อมสามารถทำการใดๆ โดยไม่ต้องได้รับความยินยอมของผู้ปกครองหรือตัวแทนโดยชอบธรรมตาม ป.พ.พ. มาตรา 21 เมื่อข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่า จำเลยได้พาโจทก์ร่วมที่ 2 ไปเพื่อการอนาจารและกระทำชำเรา อันเป็นความผิดต่อโจทก์ร่วมที่ 2 โจทก์ร่วมที่ 2 จึงมีสิทธิได้รับค่าสินไหมทดแทนจากจำเลย
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.วิ.อ. ม. 40
ป.วิ.พ. ม. 56
ป.อ. ม. 277, ม. 283 ทวิ, ม. 317
ป.พ.พ. ม. 21, ม. 1520, ม. 1566


2. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1783/2558
โจทก์เป็นผู้เยาว์ได้ทำนิติกรรมสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินของตนแก่จำเลยที่ 1 เป็นกรณีที่ผู้เยาว์กระทำนิติกรรมเอง ไม่ใช่ผู้ปกครองของจำเลยที่ 1 เป็นผู้กระทำ จึงหาใช่กรณีตาม ป.พ.พ. มาตรา 1574 ไม่ แต่ต้องปรับตามมาตรา 21 ซึ่งบัญญัติว่า ผู้เยาว์จะกระทำนิติกรรมใดต้องได้รับความยินยอมจากผู้แทนโดยชอบธรรมก่อน มิฉะนั้นนิติกรรมนั้นจะเป็นโมฆียะ เมื่อมีการบอกล้างก็ให้ถือว่าเป็นโมฆะมาตั้งแต่เริ่มแรก และให้ผู้เป็นคู่กรณีกลับคืนสู่ฐานะเดิมตาม ป.พ.พ. มาตรา 176 วรรคหนึ่ง สัญญาจึงไม่ผูกพันโจทก์ กรณีมิใช่โจทก์กับจำเลยที่ 1 ทำนิติกรรมโดยหลีกเลี่ยงกฎหมาย
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 21, ม. 176, ม. 1574


3. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ยช. 56/2558
โจทก์ฟ้องเรียกเงินค่าที่ดินตามสัญญาจะขายที่ดินคืนจากจำเลยทั้งสองฐานลาภมิควรได้โดยอ้างว่าศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดเพชรบูรณ์มีคำพิพากษาว่า สัญญาจะขายที่ดินเป็นโมฆะ จำเลยที่ 1 ให้การว่าสัญญาจะขายที่ดินไม่มีผลผูกพันจำเลยที่ 1 เพราะ ส. ร. และจำเลยที่ 2 คบคิดหลอกลวงให้จำเลยที่ 1 นำที่ดินพิพาทของจำเลยที่ 1 ไปวางเป็นหลักประกันหนี้เงินกู้แล้วทำสัญญาจะขายที่ดินกับโจทก์ โดยจำเลยที่ 1 ไม่ได้รับเงินตามสัญญา โจทก์เข้าทำสัญญาทั้งที่รู้ว่าไม่มีผลผูกพันทางกฎหมายเพราะรู้ว่าจำเลยที่ 1 เป็นผู้เยาว์ ดังนี้คำฟ้องของโจทก์ที่ขอให้จำเลยที่ 1 คืนเงินฐานลาภมิควรได้ โดยอ้างผลสืบเนื่องจากคำพิพากษาของศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดเพชรบูรณ์ที่พิพากษาว่า สัญญาจะขายที่ดินเป็นโมฆะ จึงเป็นคำขอให้บังคับเกี่ยวกับทรัพย์สินของผู้เยาว์ขณะทำสัญญา อันเป็นการฟ้องเกี่ยวกับความสามารถของผู้เยาว์ซึ่งจะต้องบังคับตามบทบัญญัติมาตรา 21 แห่ง ป.พ.พ. บรรพ 1 ว่าด้วยความสามารถ ดังนั้น คดีนี้จึงเป็นคดีครอบครัวที่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลเยาวชนและครอบครัว ตาม พ.ร.บ.ศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2553 มาตรา 10 (3)
จำเลยที่ 2 แม้มิได้เป็นผู้เยาว์ แต่โจทก์ก็ขอให้จำเลยที่ 2 ร่วมชำระเงินคืนโจทก์ในฐานะลูกหนี้ร่วมกับจำเลยที่ 1 ถือได้ว่ามูลความแห่งคดีเกี่ยวข้องกันตาม ป.วิ.พ. มาตรา 5 โจทก์จึงมีสิทธิเสนอคำฟ้องในส่วนจำเลยที่ 2 ต่อศาลเยาวชนและครอบครัวได้
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 21
ป.วิ.พ. ม. 5
พ.ร.บ.ศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2553 ม. 10 (3)
 

ข้อจำกัดความรับผิดชอบ: ข้อมูลเหล่านี้อาจไม่ใช่เวอร์ชันล่าสุด รัฐบาลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอาจมีข้อมูลที่เป็นปัจจุบันหรือแม่นยำกว่า เราไม่รับประกันหรือรับประกันเกี่ยวกับความถูกต้อง ความสมบูรณ์ หรือความเพียงพอของข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้หรือข้อมูลที่เชื่อมโยงกับเว็บไซต์ของรัฐ โปรดตรวจสอบแหล่งที่มาอย่างเป็นทางการ
ข้อมูลอ้างอิงจากเว็บไซต์ : www.krisdika.go.th, deka.supremecourt.or.th
แนะนำโดย Legardy
cta
ปรึกษาทนายได้ตลอด 24 ชม.
เพียงกดปุ่ม ปรึกษาได้ทันที