Banner blog website.png
เผยแพร่เมื่อ: 2023-05-30

มาตรา 209 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

“มาตรา 209 หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 209” คืออะไร? 


“มาตรา 209” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 209 “ คือ หนึ่งในมาตราของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ 
ซึ่งบัญญัติไว้ว่า “ ถ้าได้กำหนดเวลาไว้เป็นแน่นอนเพื่อให้เจ้าหนี้กระทำการอันใด ท่านว่าที่จะขอปฏิบัติการชำระหนี้นั้นจะต้องทำก็แต่เมื่อเจ้าหนี้ทำการอันนั้นภายในเวลากำหนด “

 


3 ตัวอย่างจริงของการใช้” มาตรา 209” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 209 ” ในประเทศไทย


1. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2014/2538
โจทก์ทำสัญญาซื้อรถยนต์บรรทุกจากจำเลยโดยโจทก์ต้องจัดหาเครนและปั๊มฉีดน้ำมันไฮดรอลิกมามอบให้จำเลยเพื่อนำไปติดตั้งบนรถยนต์บรรทุกเครนและปั๊มฉีดน้ำมันดังกล่าวไม่เป็นมัดจำหรือเป็นการชำระหนี้บางส่วนแล้วเมื่อไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อจำเลยโจทก์จึงไม่อาจฟ้องบังคับจำเลยตามสัญญาได้ สัญญาซื้อขายรถยนต์บรรทุกอีกคันหนึ่งระบุให้โจทก์นำเครนมามอบให้จำเลยเพื่อนำไปติดตั้งบนรถยนต์บรรทุกเป็นสัญญาต่างตอบแทนที่โจทก์มีหน้าที่ต้องทำการอย่างหนึ่งเมื่อโจทก์มิได้นำเครนมามอบให้แม้จำเลยมิได้ส่งมอบรถยนต์บรรทุกตามกำหนดถือไม่ได้ว่าจำเลยผิดสัญญาและหลังจากนั้นโจทก์ก็มิได้นำเครนไปมอบแต่มีหนังสือทวงถามให้จำเลยส่งมอบรถยนต์ให้แล้วมีหนังสือเลิกสัญญาไปยังจำเลยในเวลาต่อมาถือว่าโจทก์จำเลยต่างสมัครใจเลิกสัญญากันโดยปริยายจำเลยจึงไม่ต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์

ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 209, ม. 377, ม. 391 วรรคแรก, ม. 456 วรรคสอง, ม. 456 วรรคสาม


2. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 367/2532
พ.ร.บ. ล้มละลายฯ มาตรา 61 เป็นบทบังคับให้ศาลพิพากษาให้จำเลยล้มละลายทันที เมื่อได้ดำเนินคดีมาตามขั้นตอนของมาตรานี้ครบถ้วนแล้ว การที่จำเลยยื่นคำขอให้พิจารณา ใหม่และศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ยกคำร้องขอของจำเลยแม้จำเลยอุทธรณ์คำสั่งและคดีอยู่ในระหว่างพิจารณา ของศาลอุทธรณ์ เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ยกคำร้องขอให้พิจารณา ใหม่ของจำเลยแล้ว คำสั่ง ศาลชั้นต้นให้พิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยเด็ดขาดย่อมมีผลบังคับได้ต่อไปตาม ป.วิ.พ.มาตรา 145 ประกอบด้วย พ.ร.บ. ล้มละลายฯ มาตรา 153 จึงไม่กระทบกระเทือนในการที่ศาลชั้นต้นจะดำเนินคดีล้มละลายต่อไปตามขั้นตอนเนื่องจากคดีล้มละลายจะต้องกระทำโดยเร่งด่วนตาม พ.ร.บ. ล้มละลายฯ มาตรา 13 และ 153 หากต่อมาคดีถึงที่สุดโดยให้พิจารณา ใหม่ คำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดก็เป็นอันเพิกถอนไปตาม ป.วิ.พ. มาตรา 209 ประกอบด้วย พ.ร.บ. ล้มละลายฯมาตรา 153 และคำพิพากษาให้จำเลยล้มละลายก็เป็นอันเพิกถอนไปด้วยตามบทบัญญัติดังกล่าว เพราะการล้มละลายเริ่มต้นมีผลตั้งแต่วันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 62.
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 145, ม. 209
พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 ม. 13, ม. 61, ม. 62, ม. 153


3. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1266/2526
โจทก์ไม่นำเงินค่าที่ดินไปสำนักงานที่ดินเพื่อชำระให้จำเลย ทั้งๆ ที่จำเลยพร้อมที่จะโอนที่ดินให้โจทก์โจทก์จึงเป็นผู้ผิดสัญญาจะซื้อจะขาย แม้ต่อมาโจทก์จะนัดให้จำเลยไปรับเงินและโอนที่ดินใหม่ ก็เป็นกรณีโจทก์ขอปฏิบัติตามสัญญาภายหลังโจทก์ผิดสัญญาแล้ว จำเลยย่อมมีสิทธิที่จะปฏิเสธไม่ไปรับเงินและโอนที่ดินให้โจทก์ได้

ฎีกาในปัญหาที่มิได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาในชั้นอุทธรณ์ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้

โจทก์ฎีกาว่าจำเลยผิดสัญญาโดยอ้างเหตุนอกเหนือจากที่ปรากฏในคำฟ้องจึงเป็นฎีกาที่นอกฟ้องนอกประเด็น ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
เมื่อโจทก์เป็นผู้ผิดสัญญาจะซื้อจะขายแต่เพียงฝ่ายเดียวโจทก์ย่อมไม่มีสิทธิบังคับให้จำเลยปฏิบัติตามสัญญาและไม่มีสิทธิเรียกค่าเสียหาย
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 205, ม. 209, ม. 213, ม. 215, ม. 369, ม. 456
ป.วิ.พ. ม. 249
 

ข้อจำกัดความรับผิดชอบ: ข้อมูลเหล่านี้อาจไม่ใช่เวอร์ชันล่าสุด รัฐบาลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอาจมีข้อมูลที่เป็นปัจจุบันหรือแม่นยำกว่า เราไม่รับประกันหรือรับประกันเกี่ยวกับความถูกต้อง ความสมบูรณ์ หรือความเพียงพอของข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้หรือข้อมูลที่เชื่อมโยงกับเว็บไซต์ของรัฐ โปรดตรวจสอบแหล่งที่มาอย่างเป็นทางการ
ข้อมูลอ้างอิงจากเว็บไซต์ : www.krisdika.go.th, deka.supremecourt.or.th
แนะนำโดย Legardy
cta
ปรึกษาทนายได้ตลอด 24 ชม.
เพียงกดปุ่ม ปรึกษาได้ทันที