Banner blog website.png
เผยแพร่เมื่อ: 2023-05-30

มาตรา 202 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

“มาตรา 202 หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 202” คืออะไร? 


“มาตรา 202” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 202 “ คือ หนึ่งในมาตราของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ 
ซึ่งบัญญัติไว้ว่า “ ถ้าการอันจะพึงต้องทำเพื่อชำระหนี้นั้นมีหลายอย่าง และอย่างใดอย่างหนึ่งตกเป็นอันพ้นวิสัยจะทำได้มาแต่ต้นก็ดี หรือกลายเป็นพ้นวิสัยในภายหลังก็ดี ท่านให้จำกัดหนี้นั้นไว้เพียงการชำระหนี้อย่างอื่นที่ไม่พ้นวิสัย อนึ่งการจำกัดอันนี้ย่อมไม่เกิดมีขึ้น หากว่าการชำระหนี้กลายเป็นพ้นวิสัยเพราะพฤติการณ์อันใดอันหนึ่งซึ่งฝ่ายที่ไม่มีสิทธิจะเลือกนั้นต้องรับผิดชอบ “

 


3 ตัวอย่างจริงของการใช้” มาตรา 202” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 202 ” ในประเทศไทย


1. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5888/2539
คำขอท้ายฟ้องของโจทก์กำหนดให้จำเลยกระทำการชำระหนี้หลายอย่างทีละอย่างก่อนหลังตามลำดับ เมื่อไม่สามารถกระทำอย่างแรกแล้วให้กระทำอย่างหลัง เมื่อการชำระหนี้อย่างแรกยังไม่ตกเป็นพ้นวิสัยการกำหนดให้จำเลยทั้งสามและจำเลยร่วมร่วมกันชำระหนี้เป็นเงินซึ่งเป็นการชำระหนี้อย่างหลังไปเสียทีเดียว จึงไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 202
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 202


2. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 331 - 332/2525
ผู้รับโอนสิทธิการเช่าโดยที่ยังไม่เคยเข้าครอบครองทรัพย์สินที่เช่านั้นไม่มีอำนาจฟ้องขับไล่ผู้ที่อยู่ในทรัพย์สินที่เช่า (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 916/2503)
อำนาจฟ้องเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้คู่ความมิได้ยกขึ้นอ้างศาลก็ยกขึ้นเองได้
จำเลยที่ 1 ให้โจทก์เช่าช่วงตึกแถวพิพาทโดยมีข้อสัญญาระหว่างกันว่า ถ้าจำเลยจะขายตัวทรัพย์ที่เช่าจะต้องแจ้งให้โจทก์ทราบก่อนข้อตกลงดังกล่าวจึงไม่หมายความถึงการโอนสิทธิการเช่าด้วย เมื่อจำเลยที่ 1 ไม่ใช่เจ้าของกรรมสิทธิ์ทรัพย์สินที่เช่าและสัญญาเช่าระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ก็เป็นสัญญาเช่าตึกแถวมิใช่เช่าสิทธิ จึงเป็นการพ้นวิสัย ไม่มีผลบังคับได้ การที่จำเลยที่ 1 โอนสิทธิการเช่าให้ผู้อื่นจึงกระทำได้โดยชอบ โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง ขอให้เพิกถอนการโอน
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 202, ม. 237, ม. 537, ม. 544
ป.วิ.พ. ม. 55, ม. 142, ม. 225


3. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 331 - 332/2525
ผู้รับโอนสิทธิการเช่าโดยที่ยังไม่เคยเข้าครอบครองทรัพย์สินที่เช่านั้น ไม่มีอำนาจฟ้องขับไล่ผู้ที่อยู่ในทรัพย์สินที่เช่า (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 916/2503)
อำนาจฟ้องเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้คู่ความมิได้ยกขึ้นอ้างศาลก็ยกขึ้นเองได้
จำเลยที่ 1 ให้โจทก์เช่าช่วงตึกแถวพิพาทโดยมีข้อสัญญาระหว่างกันว่า ถ้าจำเลยจะขายตัวทรัพย์ที่เช่าจะต้องแจ้งให้โจทก์ทราบก่อนข้อตกลงดังกล่าวจึงไม่หมายความถึงการโอนสิทธิการเช่าด้วย เมื่อจำเลยที่ 1 ไม่ใช่เจ้าของกรรมสิทธิ์ทรัพย์สินที่เช่าและสัญญาเช่าระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ก็เป็นสัญญาเช่าตึกแถวมิใช่เช่าสิทธิ จึงเป็นการพ้นวิสัยไม่มีผลบังคับได้ การที่จำเลยที่ 1 โอนสิทธิการเช่าให้ผู้อื่นจึงกระทำได้โดยชอบ โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง ขอให้เพิกถอนการโอน
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 202, ม. 237, ม. 537, ม. 544
ป.วิ.พ. ม. 55, ม. 142, ม. 225
 

ข้อจำกัดความรับผิดชอบ: ข้อมูลเหล่านี้อาจไม่ใช่เวอร์ชันล่าสุด รัฐบาลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอาจมีข้อมูลที่เป็นปัจจุบันหรือแม่นยำกว่า เราไม่รับประกันหรือรับประกันเกี่ยวกับความถูกต้อง ความสมบูรณ์ หรือความเพียงพอของข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้หรือข้อมูลที่เชื่อมโยงกับเว็บไซต์ของรัฐ โปรดตรวจสอบแหล่งที่มาอย่างเป็นทางการ
ข้อมูลอ้างอิงจากเว็บไซต์ : www.krisdika.go.th, deka.supremecourt.or.th
แนะนำโดย Legardy
cta
ปรึกษาทนายได้ตลอด 24 ชม.
เพียงกดปุ่ม ปรึกษาได้ทันที